การดูแลผู้ป่วยและญาติ/ครอบครัวภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม ดังนี้คือ

ไอคอนของ IDevice การดูแลผู้ป่วยและญาติ/ครอบครัวภายหลังผู้ป่วยถึงแก่กรรม ดังนี้คือ
  1. พยาบาลปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างสมเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ได้แก่ การปฏิบัติต่อศพ ควรกระทำเช่นเดียวกับผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ โดยการทำสิ่งต่างๆ ด้วยความนุ่มนวล ให้ความเคารพเช่นเดียวกับผู้ตายยังมีชีวิตอยู่การตบแต่งร่างกายส่วนต่างๆ ต้องทำให้เรียบร้อยที่สุดเหมือนคนธรรมดา เช่น เย็บแผลให้เรียบร้อย ไม่ปล่อยส่วนที่พิการ หรือไม่น่าดูเปิดเผยต่อสายตาญาติและผู้อื่น การแต่งศพ ควรแต่งหน้าและสวมเสื้อผ้าให้มองดูคล้ายขณะที่มีชีวิตมากที่สุด เหมือนสภาพคนที่กำลังนอนหลับสนิท การห่มผ้าคลุมศพ ไม่ควรคลุมใบหน้าหรือศีรษะ แต่ควรคลุมแค่อก

  2. ข้อแนะนำสำหรับญาติเมื่อผู้ป่วยถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลการเก็บหรือตรวจศพผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรม โรงพยาบาลจะเก็บรักษาศพที่ห้องเก็บศพ แพทย์ผู้ให้การดูแลรักษาอาจขออนุญาตให้มีการตรวจศพเพื่อศึกษาหาสาเหตุของการเสียชีวิตการจัดเตรียมเอกสารเพื่อขอใบมรณะบัตร เมื่อผู้ป่วยถึงแก่กรรมญาติของผู้ป่วยจะต้องไปขอใบมรณะบัตรจากนายทะเบียนเขต/อำเภอ ที่โรงพยาบาลตั้งอยู่ โดยจะต้องจัดเตรียมเอกสาร เพื่อยื่นประกอบการขอรับใบมรณะบัตร ดังนี้

    บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการหรือหนังสือสำคัญบุคคลต่างด้าวของผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรม และผู้ที่จะไปติดต่อขอรับใบมรณะบัตรพร้อมสำเนา 1 ชุด สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรมพร้อมสำเนา 1 ชุด

    หนังสือรับรองการตาย ใบรับแจ้งการตายและหนังสือมอบหมายขอให้ญาติติดต่อขอรับได้ที่งานเวชระเบียน ตึกผู้ป่วยนอก เมื่อจัดเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้วขอให้ญาติไปติดต่อขอรับใบมรณะบัตรกับนายทะเบียนเขต/อำเภอ เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบเอกสารเรียบร้อยแล้ว จะออกใบมรณะบัตรเพื่อให้ญาตินำไปแสดงกับทางวัด และแจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้ตายอาศัยอยู่

    การขอรับศพออกจากโรงพยาบาล การติดต่อขอรับศพออกจากโรงพยาบาล ญาติจะต้องแสดงใบมรณะบัตรที่ได้รับจากเขต/อำเภอ ให้กับเจ้าหน้าที่ห้องศพก่อน ยกเว้นผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรมเป็นอิสลามิกชน ขอให้นำใบรับรองจากจุฬาราชมนตรี มาแสดงกับผู้อำนวยการ หรือผู้แทนผู้อำนวยการโรงพยาบาล

Licensed under the Creative Commons Attribution 3.0 License

รองศาสตราจารย์ถนอมขวัญ ทวีบูรณ์ ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล