ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “Phlebitis: Management & Practice Guideline”  เมื่อวันพุธที่ 15 กรกฏาคม 2563 เวลา 13.00-13.30 น.  ณ ห้อง 1103/1-2 อาคารสมเด็จพระศรีพัชรินทร โดยมี อาจารย์กาญจนา ครองธรรมชาติ และ อาจารย์ ดร. ภัทรนุช วิทูรสกุล เป็นวิทยากร ได้นำเสนอเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการบรรยาย และส่วนที่ 2 เป็นการสาธิตอุปกรณ์ต่างๆ ในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 

 

ส่วนที่ 1 การบรรยาย อาจารย์กาญจนา ครองธรรมชาติ วิทยากร ได้นำเข้าสู่กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยบรรยายผ่าน PowerPoint Slides ซึ่งได้กล่าวสรุปเกี่ยวกับ Phlebitis ในประเด็นของ ความหมาย ปัจจัยเสี่ยง ประเภทของหลอดเลือดดำอักเสบ (Mechanical phlebitis, Chemical phlebitis, Bacterial/Septic phlebitis) แนวปฏิบัติในการให้สารน้ำ เพื่อป้องกัน Phlebitis จาก Bacteria และการพยาบาลผู้ป่วยเด็กเพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบ พยาบาลควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ คือ 

1) ประเมินระดับความรุนแรง 

2) จำแนกถึงสาเหตุของการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ

3) การพยาบาลเบื้องต้นตามระดับความรุนแรงของหลอดเลือดดำอักเสบ

        4) การบรรเทาการอักเสบ

  5) ข้อจำกัดของผู้ป่วยเด็ก ในบางรายอาจต้องปรึกษาแพทย์เพื่อใส่ central line

        ส่วนที่ 2 การสาธิตอุปกรณ์ต่างๆ ในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ (ตามรูปภาพที่แนบมา) อาจารย์ ดร. ภัทรนุช วิทูรสกุล วิทยากรได้นำเสนออุปกรณ์ต่างๆ ที่ทันสมัยในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และสาธิตในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ข้อบ่งชี้ และประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบ 

คณาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างหลากหลาย สอบถามเกี่ยวกับอุบัติการณ์ของการเกิดหลอดเลือดดำอักเสบ ปัจจัยเสี่ยง/สาเหตุ โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือในการประเมิน หรือคัดกรองความรุนแรงของหลอดเลือดดำอักเสบ ว่ามีการนำไปประเมินจริงกับผู้ป่วยเด็กหรือไม่ ซึ่งรวมไปถึงการให้การดูแลช่วยเหลือตามระดับของความรุนแรง รวมทั้งการเล่าถึงประสบการณ์ตรงของตนเองที่เกิดหลอดเลือดดำอักเสบ และการแก้ไขปัญหาที่ได้ผล นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม KM ดังกล่าว ได้แจ้งว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ทำให้เกิดการเรียนรู้ ได้แนวคิดใหม่ๆ และได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเข้าร่วมกิจกรรม

สำหรับแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ สรุปได้ ดังนี้

         1. แนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ ในการสอนภาคทฤษฎี คณาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ให้ข้อคิดเห็นว่ามีประโยชน์ และเสนอว่า ในการสอนเกี่ยวกับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำหรือการเจาะเลือดแก่ผู้ป่วยเด็กที่ปลอดภัย ควรใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม ทันสมัย และทำให้ผู้ป่วยเด็กเจ็บปวดน้อยที่สุด และควรนำเน้นหรือเพิ่มเติมเนื้อหาเกี่ยวกับการดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะหลอดเลือดดำอักเสบ การสังเกตและการประเมินความรุนแรงของหลอดเลือดดำอักเสบ รวมทั้งการพยาบาลช่วยเหลือตามระดับความรุนแรง และในการสอนทฤษฎี ควรมีการสาธิตอุปกรณ์ต่างๆ ในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ/การเจาะเลือด เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษา 

          2. แนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ ในการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับนักศึกษาที่ได้มอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยเด็กที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ/การเจาะเลือด อาจารย์ควรฝึกให้นักศึกษาได้สังเกต ประเมินความรุนแรงของหลอดเลือดดำอักเสบที่อาจเกิดขึ้น และให้ความช่วยเหลือตามปัญหา/ระดับความรุนแรง รายงานพยาบาลวิชาชีพ และสามารถเขียนบันทึกในรายงานได้

ดาวน์โหลดเอกสารสรุปผลการประเมิน

รศ.ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์ ผู้ลิขิต


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1332417