คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 21 กันยายน 2553 ให้ปรับระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยยกเลิกการจำแนกตำแหน่งเป็นมาตรฐานกลาง 11 ระดับ เป็นการจำแนกตำแหน่งตามกลุ่มลักษณะงาน

ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

ประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งของระบบการจำแนกตำแหน่งตามกลุ่มลักษณะงาน

 

             ประเภท

               สายงาน

    ชื่อตำแหน่งในสางาน

ระดับ

1 .ตำแหน่งวิชาการ

สอนและวิจัย

- ศาสตราจารย์

- รองศาสตราจารย์

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์

- อาจารย์

-

-

-

-

2 .ตำแหน่งประเภทบริหาร

มี 2 ระดับ

 1) ผู้อำนวยการ-สำนักงานอธิการบดี

 2) ผู้อำนวยการกอง

ผู้บริหาร

- ผู้บริหาร

ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี-ผู้อำนวยการกอง

 

3. ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ/ เชี่ยวชาญเฉพาะ

มี 5 ระดับ

   1) เชี่ยวชาญพิเศษ

   2) เชี่ยวชาญ

   3) ชำนาญการพิเศษ

   4) ชำนาญการ

   5) ปฏิบัติการ

โดยแต่ละตำแหน่ง ก.พ.อ.ได้กำหนดระดับตำแหน่งไว้ตามที่ปรากฎในคอลัมภ์ของระดับ

                                

 

ประเภทวิชาชีพเฉพาะ

มี 18 สายงาน

 

-นักวิชาการคอมพิวเตอร์

- นักกายภาพบำบัด

- ทันตแพทย์

- พยาบาล

- แพทย์

- สัตวแพทย์

- นักเทคนิคการแพทย์

- เภสัชกร

- นักรังสีการแพทย์

- นักกิจกรรมบำบัด

- นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย

- วิศวกรเครื่องกล

- วิศวกรไฟฟ้า

- วิศวกรโยธา

- วิศวกรโลหการ

- วิศวกรการเกษตร

- วิศวกรเคมี

- สถาปนิก

 

 

 

 

 

 

 

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

 

 

 

 

 


  

ประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ

มี 33 สายงาน

 

                              

- นักวิชาการเวชสถิติ

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

-นักวิเคราะนโยบายและแผน

เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ

- นิติกร

เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ

- บุคลากร

เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ

-เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ

- นักวิชาการพัสดุ

เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ

- นักวิชาการสถิติ

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

- นักวิเทศสัมพันธ์

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

- ที่ปรึกษา

เชี่ยวชาญพิเศษ

-นักวิชาการเงินและบัญชี

เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ

- นักตรวจสอบภายใน

เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ

-นักวิชาการโสตทัศนศึกษา

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

- นักประชาสัมพันธ์

เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ

- นักวิชาการเกษตร

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

- นักวิชาการสัตวบาล

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

- นักวิชาการประมง

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

- นักวิทยาศาสตร์

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

- นักวิชาการโภชนาการ

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

- นักจิตวิทยา

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

-นักวิชาการอาชีวบำบัด

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

- นักวิทยาศาสตร์การแพทย์

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

- นักสุขศึกษา

เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ

- วิศวกร

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

- นักวิชาการช่างศิลป์

เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ

- นักวิชาการช่างทันตกรรม

ชำนาญการพิเศษ – ปฏิบัติการ

- นักวิชาการศึกษา

เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ

- บรรณารักษ์

เชี่ยวชาญพิเศษ – ปฏิบัติการ

- นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ

เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ

- นักวิจัย

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

- เจ้าหน้าที่วิจัย

ชำนาญการ – ปฏิบัติการ

- นักเอกสารสนเทศ

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

- นักสังคมสงเคราะห์

เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ

- ครู

ปฏิบัติการ

4. ตำแหน่งประเภททั่วไป

มี 3 ระดับ

  1) ชำนาญงานพิเศษ

  2) ชำนาญงาน

  3) ปฏิบัติงาน

      

มี 29 สายงาน

      

- ผู้ปฏิบัติงานบริหาร

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

-เจ้าหน้าที่บริหารงานธุรการ

ชำนาญงาน

-เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี

ชำนาญงานพิเศษ- ชำนาญงาน

-เจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุ

ชำนาญงานพิเศษ- ชำนาญงาน

-ผู้ปฏิบัติงานโสตทัศนศึกษา

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

-ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- ผู้ปฏิบัติงานสัตวบาล

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- ผู้ปฏิบัติงานประมง

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

-ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

-ผู้ปฏิบัติงานอาชีวบำบัด

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

-ผู้ปฏิบัติงานทันตกรรม

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

-ผู้ปฏิบัติงานเภสัชกรรม

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- ผู้ปฏิบัติงานพยาบาล

ชำนาญงาน- ปฏิบัติงาน

-ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์การแพทย์

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

-ผู้ปฏิบัติงานโภชนาการ

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

-ผู้ปฏิบัติงานรังสีเทคนิค

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- ช่างเครื่องคอมพิวเตอร์

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- ช่างภาพ

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- ช่างพิมพ์

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- ช่างศิลป์

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- ช่างเขียนแบบ

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- ช่างเครื่องยนต์

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- ช่างไฟฟ้า

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- ช่างอิเล็กทรอนิกส์

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- ช่างเทคนิค

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- ช่างกายอุปกรณ์

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- ช่างทันตกรรม

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

- เจ้าหน้าที่บริหารงานอาคารสถานที่

ชำนาญงานพิเศษ- ชำนาญงาน

- ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด

ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน

หลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเข้าสู่ บัญชีเงินเดือนท้ายกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบัน อุดมศึกษา พ.ศ. 2553 ดังนี้

1. หลักการ

           1.1 หลักไม่กระทบสิทธิและประโยชน์ ให้ข้าราชการยังคงได้รับสิทธิและประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่ได้รับอยู่เดิม
           1.2 กระทบต่อภาระงบประมาณเท่าที่จำเป็น

2.  เกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

           2.1 ให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำ ขั้นสูงท้ายกฎ ก.พ.อ.ฯ
           2.2 กรณี ที่ข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าขั้นสูงตามประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ.อ. ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมจนกว่าจะมีการเปลี่ยน ประเภทตำแหน่ง สายงานหรือระดับตำแหน่ง
          2.3 กรณี ที่ข้าราชการผู้ใดที่ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด หลังจากวันที่ ก.พ.อ. กำหนดตำแหน่งข้าราชการเข้าสู่ระบบบริหารงานบุคคลใหม่โดยได้รับเงินเดือนยัง ไม่ถึงขั้นต่ำของแต่ละระดับตามบัญชีเงินเดือนท้ายกฎ ก.พ.อ. ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวของแต่ละระดับตามบัญชี ดังกล่าว

กรณี ที่ข้าราชการผู้ใดที่ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ได้รับเงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำระดับตามบัญชีเงินเดือนท้าย กฎ ก.พ.อ. ให้ผู้นั้นได้รับการปรับเงินเดือนปีละครั้งจนได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของ แต่ละระดับของสายงานและประเภทตำแหน่งตามบัญชีดังกล่าว โดยให้เริ่มปรับครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม 2553 หลังจากเลื่อนเงินเดือนตามปกติและให้ปรับเงินเดือนครั้งถัดไปในแต่ละปีในวัน ที่ 1 ตุลาคม หลังจากเลื่อนเงินเดือนตามปกติ เท่ากับครึ่งหนึ่งของความต่างระหว่างอัตราเงินเดือนของผู้นั้นกับอัตราเงิน เดือนขั้นต่ำของระดับตำแหน่ง ทั้งนี้ การปรับแต่ละครั้งให้ปรับได้สูงสุดร้อยละ 10 ของเงินเดือน ที่ผู้นั้นได้รับอยู่ ณ วันนั้น ในกรณีที่การปรับเงินเดือนดังกล่าวทำให้อัตราหนึ่งอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปรับตัวเลขเงินเดือนของอัตราดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท และมิให้ถือว่าเป็นการปรับอัตราร้อยละที่แตกต่างกัน

สำหรับ ข้าราชการตามวรรคหนึ่ง แม้จะอยู่ในระหว่างช่วงเวลาที่ไม่สามารถเลื่อนขึ้นเงินเดือนหรือเลื่อนเงิน เดือน เช่น ลาประเภทต่างๆ สอบสวนวินัย ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา/ต้องหาว่ากระทำผิดอาญา พักราชการฯ ก็ให้ดำเนินการปรับเงินเดือนจนได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของแต่ละดับของสาย งานและประเภทตำแหน่งตามบัญชีดังกล่าว เช่นเดียวกัน

กรณี ข้าราชการผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในวันเดียวกันกับวันที่ได้รับ การปรับเงินเดือนเข้าสู่ขั้นต่ำ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการผู้นั้นให้ดำรงตำแหน่งดัง กล่าวก่อนแล้วจึงจะให้มีการปรับเงินเดือนเข้าสู่ขั้นต่ำต่อไป

เงินเดือน

ตาม กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วย การกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2554 ได้กำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงไว้ 4 บัญชี โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 (ยกเลิกกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2553 ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554) ดังนี้

ก. ตำแหน่งวิชาการ

 

          ตำแหน่ง

                         อัตราเงินเดือน (บาท)

          หมายเหตุ

             ขั้นต่ำ

            ขั้นสูง

อาจารย์

                 10,190

               39,630

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

                       -

               54,090

 

รองศาสตราจารย์

                       -

               63,960

 

ศาสตราจารย์

                       -

               67,560

               69,810*

*ต้องผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ.กำหนด

หมายเหตุ
1) อัตราเงินเดือนขั้นต่ำมีเฉพาะตำแหน่งอาจารย์
2) ตำแหน่ง ศาสตราจารย์ให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูงไม่เกิน 67,560 บาท เว้นแต่ผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 69,810 บาท

ข. ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร

       ตำแหน่ง

                                อัตราเงินเดือน (บาท)

            หมายเหตุ

      ขั้นต่ำชั่วคราว

         ขั้นต่ำ

           ขั้นสูง

ผู้อำนวยการกอง/เทียบเท่า

        19,860

         26,660

       54,090

 

ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี หรือผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต

        24,400

        32,850

       63,960

 

ค. ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ

 

        ตำแหน่ง

                          อัตราเงินเดือน (บาท)

           หมายเหตุ

     ขั้นต่ำชั่วคราว

         ขั้นต่ำ

         ขั้นสูง

ปฏิบัติการ

          -

         8,340

       24,450

 

ชำนาญการ

         13,160

        15,050

       39,630

 

ชำนาญการพิเศษ

         19,860

        22,140

       53,080

 

เชี่ยวชาญ

         24,400

        31,400

       62,760

 

เชี่ยวชาญพิเศษ

        29,980

        43,810

       67,560

 

ง. ตำแหน่งประเภททั่วไป

 

ตำแหน่ง

                     อัตราเงินเดือน (บาท)

         หมายเหตุ

         ขั้นต่ำ

          ขั้นสูง

ปฏิบัติงาน

               4,870

           19,100

 

ชำนาญงาน

             10,190

           35,220

 

ชำนาญงานพิเศษ

             15,410

           49,830

 

นอกเหนือจากนี้ ก.พ.อ.ได้กำหนดการได้รับเงินเดือน กรณีที่แตกต่างไปจากได้รับเงินเดือนข้างต้น ดังนี้

1. ตามกฎ ก.พ.อ. ข้อ 4 กำหนดให้ข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งที่ได้รับ แต่งตั้งอยู่เดิม ให้ได้รับเงินเดือนตามหลัก  เกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนดเป็นการเฉพาะราย เช่น

               -รองศาสตราจารย์ 10 เดิม ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 64,340 บาท
               -ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 9 เดิม ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 59,770 บาท
               -อาจารย์ 9 เดิม ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 59,770 บาท
               -อาจารย์ 8 เดิม ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 50,550 บาท

2. ตำแหน่งวิชาการที่มีโครงสร้างตำแหน่งต่างจากที่ ก.พ.อ.กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ ก.พ.อ.กำหนด

          2.1 ผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 เดิม
                -ตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 9 ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 59,770 บาท
                -ตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8 ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 50,550 บาท
                -ผู้ดำรงตำแหน่งครู รับเงินเดือน คศ.เดิม
                -ผู้ดำรงตำแหน่งครู รับเงินเดือน คศ.4 เดิม ให้รับเงินเดือนไม่เกิน 59,770 บาท
                -ผู้ดำรงตำแหน่งครู รับเงินเดือน คศ.3 เดิม ให้รับเงินเดือนไม่เกิน 50,550 บาท

3. กรณีอื่นใดที่ไม่อาจรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นได้ให้เสนอ ก.พ.อ. พิจารณาเป็นกรณีๆไป

การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในช่วงปรับเปลี่ยนระบบบริหารงานบุคคลตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 : เลื่อนเงินเดือน 1 ตุลาคม 2553

1. ใช้การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2553 – 30 กันยายน 2553

2. กำหนดการดำเนินการเพื่อการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ดังนี้

2.1 กำหนดตารางการเลื่อนเงินเดือนชั่วคราวเพื่อใช้เลื่อนเงินเดือน 1 ตุลาคม 2553 โดยเงินเดือนฐาน หมายถึง อัตราเงินเดือนที่ข้าราชการได้รับอยู่ก่อน 1 ตุลาคม 2553 และเลื่อน 0.5 ขั้น, 1 ขั้น และ 1.5 ขั้น

กรณีข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนไม่ตรงกับเงินเดือนฐานให้ใช้เงินเดือนฐานใกล้เคียงที่ไม่ต่ำกว่าเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับเป็นเงินเดือนฐานที่ใช้ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน

กรณีข้าราชการได้เลื่อนเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนขั้นสูงสุดที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่ให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่นั้น และได้รับส่วนต่างระหว่างจำนวนเงินสำหรับการเลื่อนเงินเดือนและเงินเดือนขั้นสูงสุดเป็นค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการและลูกจ้างประจำผู้ได้รับเงินเดือน/ค่าจ้างถึงขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่ง พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

2.2 ข้าราชการที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนขั้นสูงของประเภทตำแหน่งสายงานและระดับตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้ได้รับการเลื่อนเงินเดือนเป็นการเฉพาะรายด้วย

3. การเลื่อนเงินเดือนครึ่งปีหลัง : 1 ตุลาคม 2553

3.1  ให้เลื่อนได้ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 6 ของเงินเดือนข้าราชการ ณ 1 กันยายน 2553 โดยนำวงเงินที่ได้ใช้เลื่อนเงินเดือนไปแล้วเมื่อ 1 เมษายน 2553 มาหักออกก่อน
3.2 จำนวนข้าราชการที่ได้รับการเลื่อนเงินเดือน 2 ขั้น รวมทั้งปี ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนข้าราชการ

เงินประจำตำแหน่ง

หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับเงินประจำตำแหน่ง

เพื่อเป็นแนวทางในการให้ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามระบบใหม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายเดิม ก.พ.อ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ตามหนังสือที่ ศธ 0509(2)/ว 1435 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553) ดังนี้

ตำแหน่งและระดับตำแหน่งตาม พ.ร.บ. ก.พ.อ. 2547

        ตำแหน่งและระดับตำแหน่งตาม พ.ร.บ. ก.พ.อ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551

                ตำแหน่ง

   อัตราเงินประจำ

      ตำแหน่ง

    (บาท/เดือน)

                             ตำแหน่ง

     หมายเหตุ

1. ประเภทวิชาการ

- ศาสตราจารย์ ระดับ 11

 

      15,600

1. ประเภทวิชาการ

               - ศาสตราจารย์ รับเงินเดือนขั้นสูง

 

- ศาสตราจารย์ ระดับ 9-10

        13,000

- ศาสตราจารย์ รับเงินเดือนไม่เกิน 64,340 บาท

 

- รองศาสตราจารย์ ระดับ 9

         9,900

- รองศาสตราจารย์ (ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวของตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะฯ ระดับเชี่ยวชาญ)

 

- รองศาสตราจารย์ ระดับ 7-8

         5,600

- รองศาสตราจารย์

 

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8

         5,600

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวของตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะฯ ระดับชำนาญการพิเศษ)

 

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 6-7

         3,500

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์

 

2. ประเภทบริหาร

- บ 9

 

        10,000

2. ประเภทผู้บริหาร (บ.)

- ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีหรือเทียบเท่า (ระดับ 9)

- ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีหรือเทียบเท่า (ระดับ 8)*

 

* ต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด

- บ 8

          5,600

- ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า (ระดับ 8)

- ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า (ระดับ 7)*

3. ประเภทวิชาชีพเฉพาะ (วช) ชำนาญการ (ช) หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ (ชช)

- วช.10, ช.10 ชช.10

 

 

         13,000

3. ประเภทวิชาชีพเฉพาะ/ เชี่ยวชาญเฉพาะ (วช. หรือ ชช.)

 

- ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ

 

 

 

*ต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด

 

- วช.9, ช.9, ชช.9

          9,900

- ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับเชี่ยวชาญ

- วช.8

          5,600

- ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ ระดับชำนาญการพิเศษ (ระดับ 8)

- ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ ระดับชำนาญการพิเศษ (ระดับ 7)*

- วช.7

          3,500

- ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ ระดับชำนาญการ (ระดับ 7)

- ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะระดับชำนาญการ (ระดับ 6)*

 1. กรณีข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งวิชาการ ซึ่งมีอัตราเงินประจำตำแหน่ง 2 อัตรา

1.1 กรณี ผศ. ที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 3,500 บาท ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 5,600 บาท เมื่อได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวของตำแหน่งประเภทวิชาชีพ เฉพาะ/เชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการพิเศษ (ซึ่งปัจจุบันคือ 18,910 บาท)

1.2 กรณี รศ. ที่ไดรับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 5,600 บาท ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 9,900 บาท เมื่อได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวของตำแหน่งประเภทวิชาชีพ เฉพาะ/เชี่ยวชาญเฉพาะระดับเชี่ยวชาญ (ซึ่งปัจจุบันคือ 23,230 บาท)

2. กรณีข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งมีเงื่อนไขการรับเงินประจำตำแหน่ง

2.1 กรณีตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ

2.1.1 ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะระดับชำนาญการซึ่ง ดำรงตำแหน่งระดับ 6 และยังไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งอยู่เดิม การได้รับเงินประจำตำแหน่งอัตรา 3,500 บาท จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1) ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ/เทียบเท่ามาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี และ
2) ผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด

2.1.2 ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ ระดับชำนาญการพิเศษ ซึ่ง ดำรงตำแหน่งระดับ 7 และได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 3,500 บาท อยู่เดิม การได้รับเงินประจำตำแหน่ง 5,600 บาท จะต้องดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษ/เทียบเท่าไม่น้อยกว่า 1 ปี

2.2 กรณีตำแหน่งประเภทผู้บริหาร

2.2.1 ผู้ ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ระดับผู้อำนวยการกอง/เทียบเท่าซึ่ง ดำรงตำแหน่งระดับ 7 และยังไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งอยู่เดิม การจะได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 5,600 บาท จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1) ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกอง ซึ่งกำหนดเป็นระดับ 7-8 เดิม/เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
2) ดำรง ตำแหน่งเทียบเท่า ผอ.กอง ในหน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองซึ่งกำหนดเป็นระดับ 7-8 เดิม มาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด

2.2.2 ผู้ ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารระดับ ผอ.สำนักงานอธิการบดี/เทียบเท่าซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ 8 และได้รับเงินประจำตำแหน่งอยู่เดิมในอัตรา 5,600 บาท ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามที่ได้รับอยู่เดิมโดยถือว่าเป็นตำแหน่งที่มี ฐานะเทียบเท่ากองและการจะได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 10,000 บาท จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1) ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี/เทียบเท่ามาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และ
2) ผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1322595