ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสริมเพิ่มเติม (ย่อย) เพื่อช่วยให้เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนในวิชาทฤษฎีสำหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในหัวข้อ “การสร้างแบบสอบถามเบื้องต้น ด้วย Google Form”  เมื่อวันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.00-13.30 น. ณ ห้องประชุม 1103/1-2 โดยมี อาจารย์ลัดดาวัลย์ ทรัพย์เจริญมาก เป็นวิทยากร 

 

          อาจารย์ลัดดาวัลย์  วิทยากร ได้นำเข้าสู่กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการใช้ Google form ในการเรียนการสอน เป็นการใช้สำหรับการสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วโดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งผู้ใช้งานหรือผู้ที่จะสร้างแบบฟอร์มมีบัญชี 

e-mail address ของ Gmail ก็สามารถเข้าใช้งานสร้างแบบฟอร์มผ่าน Web Browser ได้เลยโดยที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใดๆ ทั้งสิ้นโดยแบ่งประเด็นในการพูดคุยเป็น 5 ประเด็น คือ 

1. การสร้างแบบสอบถาม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

                1) เข้าไป search  คำว่า Google form ใน Web Browser ให้คลิกที่ Google form: Free Online Surveys for Personal Use

                2) ล๊อกอินด้วย Gmail address หรือ .edu ได้แลย

                3) ใส่รายละเอียดของการสร้างแบบสอบถามที่ต้องการ ประกอบไปด้วย ชื่อแบบสอบถาม รายละเอียดของแบบสอบถาม การระบุคำถามในรูปแบบต่างๆ เช่น short answer, multiple choice, linear scale ฯลฯ

                4) การส่ง Link แบบสอบถาม ทำได้โดยกดปุ่ม send ที่มุมขวา โดยส่งได้ทั้งทาง e-mail หรือ QR code รวมทั้งการ copy link URL ไปวางใน web QRcode monkey เพื่อย่อ link ให้สั้นลงได้

               5) การตั้งค่าในการเพิ่ม collaborator โดยกดเลือกที่มุมขวาของหน้าจอ ให้ปรับเป็น public เพื่อให้ทุกคนที่ไม่ใช่เฉพาะบุคคลที่มี e-mail address .due ก็สามารถเข้าถึงหรือตอบแบบสอบถามได้ สำหรับคนที่ต้องการให้แก้ไขแบบสอบถามได้ ก็สามารถเพิ่ม e-mail address ได้เช่นกัน

2. การตั้งค่าต่างๆที่ setting

        3. การตอบแบบสอบถาม สามารถจำกัดเวลาในการตอบแบบสอบถามได้ และการดาวน์โหลดข้อมูลที่ได้จากการตอบรับเป็น excel เพื่อนำไปวิเคราะห์ต่อไปได้ 

 

          สรุปประเด็นในการสร้างแบบสอบถามเบื้องต้น ด้วย Google Form ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ดังนี้

          1. ปัญหาที่พบในการใช้ Google Form

          พบว่า มีปัญหาในการนำไปใช้ 5 เรื่อง คือ 

          1) บางคนไม่สามารถเข้าตอบแบบสอบถามได้ ต้องมีการขออนุญาตจากเจ้าของ/ผู้สร้างแบบสอบถาม แต่ถ้าผู้สร้างแบบสอบถามตั้งค่าเป็น public ไว้ตั้งแต่เริ่มต้นก็จะไม่เป็นปัญหา และกรณีที่มีผู้ใช้ e-mail หลากหลาย แนะนำให้ใช้ Gmail address แทน .edu จะไม่เกิด ปัญหาดังกล่าว 

          2) บุคคลที่มาตอบแบบสอบถามจำเป็นหรือไม่ที่ต้องมี e-mail address ซึ่งมีความจำเป็น แต่อาจไม่จำเป็นต้องเฉพาะ e-mail address (.edu) ในองค์กรเดียวกัน โดยไปที่การตั้งค่าตอนสร้างแบบสอบถามให้เปิดรับได้ทุก e-mail address 

          3) แบบสอบถามที่สร้างไว้จะถูกเก็บไว้ที่ไหน ซึ่งไฟล์ Google form ที่สร้างไว้จะถูกเก็บไว้ใน Google drive ของผู้สร้างแบบสอบถาม 

          4)  การเข้าถึงของข้อมูลแบบสอบถามมีระบบความปลอดภัยหรือไม่ ซึ่งระบบจะมีการแจ้งเตือนผ่านทาง e-mail ไปยังเจ้าของแบบสอบถามว่ามีคนขอเข้าไปแก้ไข แต่ถ้าเลือกตั้งค่าแบบ public ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และ 

          5) การแสดงผลการตอบรับหรือตอบแบบสอบถามทำได้อย่างไร โดยให้ไปที่ respond แล้วคลิกที่ general เลือก summary chart เพื่อให้เห็นข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม

          2. แนวทางในการนำไปประยุกต์ในการสอนทฤษฎี

          ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นด้วยว่า Google Form มีประโยชน์มากในการสอนในวิชาทฤษฎีสำหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ สำหรับการช่วยจัดเก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระเบียบ ประเมินผลนักศึกษาได้ทันที รวมทั้งนักศึกษาเองก็สามารถเห็นเฉลยได้ทันทีด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ Google Form ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าถึงได้ง่ายจากทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ต ประหยัดเวลา ประหยัดทรัพยากร สะดวกและเห็นผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว

 

          จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้  ทำให้อาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงการสร้างแบบสอบถามเบื้องต้น ด้วย Google Form ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ในท้ายที่สุด ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอแนะอยากให้วิทยากรได้บรรยายหรือสาธิตการสอนด้วยการบรรยายพร้อมกับสร้างคลิปวิดิโอในครั้งต่อไป

ดาวน์โหลดเอกสารสรุปผลการประเมิน

........................................................................................................................................................................................................................


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1332214