การผ่าตัดหัวใจถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม การฟื้นตัวภายหลังการผ่าตัดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินความสำเร็จของการผ่าตัดและภาวะสุขภาพของผู้ป่วย การฟื้นตัวเป็นกระบวนการต่อเนื่องในการกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลเป็นปกติของร่างกายภายหลังการผ่าตัด สามารถกลับมาทำหน้าที่ได้เป็นปกติหรือใกล้เคียงกับภาวะปกติให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ทั้งสุขภาพกายและจิตสังคม

ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การฟื้นตัวในผู้ป่วยเรื้อรังโดยใช้โยคะ โดยมี รองศาสตราจารย์สมคิด โพธิ์ชนะพันธุ์ มาเป็นวิทยากรและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2556

PDF Download

ภาวะลำไส้หยุดการเคลื่อนไหวหลังผ่าตัด (postoperative ileus) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินอาหารซึ่งโดยปกติลำไส้สามารถฟื้นตัวกลับมาเคลื่อนไหวเป็นปกติได้เองโดยที่ลำไส้เล็กจะกลับมาเคลื่อนไหวภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ลำไส้ใหญ่จะกลับมาเคลื่อนไหวภายใน 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัดแต่หากลำไส้กลับมาเคลื่อนไหวที่นานกว่าปกติ (prolong postoperative ileus หรือ paralytic ileus)จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้น สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และมีอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การฟื้นตัวในผู้สูงวัย (Rehabilitation in Aging Society) ในวันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2559 ณ ห้องประชุม 508 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ นพ.กีรติ เจริญชลวานิช เป็นวิทยากร มีรายละเอียดดังนี้

ผลสอบภาษาอังกฤษเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะใช้เป็นเกณฑ์การพิจารณาว่า มหาวิทยาลัยในต่างประเทศจะรับนักศึกษาจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกเข้าศึกษาต่อหรือไม่

แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1334979