ภาควิชาการพยาบาลศัลย์ศาสตร์ได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 เวลา 12:00 - 13:00 น. ณ ห้องประชุม 704 ผู้ดำเนินการได้แจ้งถึงการจัด KM ของภาควิชาฯ กล่าวคือ ภายหลังการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศของภาควิชาฯ คือ ศูนย์กระตุ้นการฟื้นตัว (Center of Recovery Management : CRM) เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2551 นั้น อาจารย์ในภาควิชาฯ ได้ดำเนินการในหน่วยย่อย (area of specialty) ไปแล้วในระดับหนึ่ง ในขณะที่อาจารย์บางท่านก็มีความเข้าใจในมโนทัศน์ของการฟื้นตัวแตกต่างกันไป ประกอบกับคณะฯ มีนโยบายส่งเสริมให้จัดทำ KM ในภาควิชาฯ ดังนั้นคณะกรรมการ CRM จึงคิดว่า ควรริเริ่มจัดทำ KM โดยนำกรอบความรู้ในเรื่อง การฟื้นตัว (Recovery) มาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อให้มีความชัดเจนและเข้าใจถึงกรอบแนวคิดของการฟื้นตัวในทิศทางเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนางานของอาจารย์สอดคล้องไปในทิศทางของ CRM

ภาควิชาการพยาบาลศัลย์ศาสตร์ได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 2/2552 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 เวลา 13.00 – 13.30 น. ณ ห้องประชุม 704 ผู้ดำเนินการได้แจ้งถึงการจัด KM ของภาควิชาฯ วันนี้เป็นครั้งที่ 2 ตามกำหนดหัวข้อเรื่องเดิมนั้น เป็นเรื่องของ Recovery Management ใน specialty area ต่างๆ โดยเริ่มที่ระบบประสาทศัลยศาสตร์ แต่เนื่องจากอาจารย์ที่อยู่ในกลุ่มดังกล่าวติดภารกิจ จึงขอปรับเปลี่ยนหัวข้อเป็นเรื่องของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินการฟื้นตัว (Recovery) โดยได้แจกบทความวิชาการเรื่อง Validity and reliability of a postoperative quality of recovery score: the QoR-40 ของ Myles, P.S., Weitkamp, B., Jones K., Melick J., Hensen S. ในวารสาร British Journal of Anaesthesia, 84(1), 2000. กับอาจารย์ทุกท่านเพื่อเป็นแนวทางในการแลกเปลี่ยนความรู้วันนี้

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ การพัฒนาแบบประเมินการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยศัลยกรรมระบบทางเดินอาหาร ตับและทางเดินน้ำดี (Development of Nursing Process Record Form’s Gastrointestinal Surgical Patients) โดย อาจารย์สกุลรัตน์ เตียววานิช

PDF Download

การรู้คิดของผู้ป่วยมีโอกาสเปลี่ยนแปลงเสื่อมลงเนื่องจากภาวะของโรค การบาดเจ็บ ความไม่สมดุลของอิเล็คโตรลัยท์ในร่างกาย ฯลฯ หรือด้วยปัจจัยพื้นฐานของผู้ป่วยเองเช่นอายุ และพันธุกรรม เมื่อผู้ป่วยเกิดปัญหาด้านCognitive function ต้องรีบทำการบำบัดรักษา เพราะฟื้นตัวได้ดีในผู้ป่วยที่สมองเสื่อมเล็กน้อยถึงปานกลาง ถ้าปล่อยให้เป็นมากจะไม่ได้ผล

ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง Interruptions in Operating Room ในวันพุธ ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2559 ณ ห้อง 704 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย โดยมีอาจารย์ ดร.รัตติมา ศิริโหราชัย เป็นวิทยากร มีรายละเอียดดังนี้

แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1332185