ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “ทำอย่างไรให้มีบริการวิชาการตอบโจทย์ความต้องการของสังคม” โดยได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียรู้ในวันที่วันที่ 19 กุมภาพันธ์2563  เวลา 12.00-13.00 น. ณ ห้อง 306 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  พื้นที่ศาลายารายละเอียดสรุปได้ดังนี้

 

  จากสถานการณ์ความต้องการการบริการวิชาการ มีหลายประเด็นที่ภาควิชาควรต้องวางแผนบริการวิชาการและเชื่อมโยงกับงานวิจัย เช่น การเพิ่มมูลค่า การเพิ่มคุณค่าและความเข้มแข็งทางบริการวิชาการแก่สังคมของภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขสาตร์

             1. งานเพิ่มมูลค่า งานนั้นทำแล้วได้กล่อง ได้ความดี ได้มีส่วนช่วยประเทศชาติ และรับใช้สังคม  

             2. งานเพิ่มคุณค่า ทำแล้วได้เงิน ได้กำไร

             3. งานที่ได้ทั้งมูลค่า และคุณค่า

          4. ภาควิชามีชุมชนต้นแบบ เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของภาควิชาฯ มีอาจารย์และนักศึกษาต่างชาติมาดูงาน เช่น ที่มหาสวัสดิ์ และมีรูปแบบชุมชนเมืองอีกชุมชนเป็นต้นแบบให้ผู้ที่มาดูงานหรือมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เห็น

อะไรเป็นความท้าทายของงานบริการวิชาการ

          1. เวลา เนื่องจากภาควิชาฯมีรูปแบบการเรียนการสอน 5 วัน ทั้งปริญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก และหลักสูตรเฉพาะทาง ทำให้ต้องวางแผนให้ดี เอาเวลาจากงานหลายหลักสูตรมาทำให้เกิดงานบริการวิชาการ

            2. ยึดติดกับรูปแบบบริการวิชาการแบบเดิม เช่น โครงการบรรยายให้ความรู้โดยทำเป็นครั้งคราว และไม่สามารถนำมาขมวดเป็นงานให้ภาควิชาฯและให้กับตัวเราไม่ได้  ยังไม่สามารถตอบโจทย์คณะฯได้ ยังออกแบบไม่ครบวงรอบ เช่น การรับใช้สังคม Social Engagement, University Engagement 

             3. ยังไม่มีความชำนาญด้านการตลาด  เอาความรู้ไปแปรรูปเป็นเงินไม่เป็น ยังต่อยอดการเงินไม่ได้

ลักษณะงานบริการวิชาการที่คณะฯมีเป็นอย่างไร และภาควิชาเราตอบโจทย์หรือไม่

             1. มีงานบริการวิชาการที่รับใช้สังคมหรือไม่

             2. เพิ่มความเข้มแข็งบริการวิชาการให้กับภาควิชาฯ

        3. งานบริการวิชาการเพื่อพัฒนาวิชาชีพ ตอบโจทย์จากหลักสูตรเฉพาะทางต่างๆที่มี หรืออบรมระยะสั้นต่างๆ ซึ่งเราทำเพื่อพยาบาลของเรา

งานรับใช้สังคม หรือ CSR ของภาควิชาฯ มี 2 โจทย์ใหญ่ที่เรารับมา เช่น University Engagement ต้องทำครบ 4 ด้าน

           1. Partnership หลักฐานการทำโครงการบริการวิชาการนั้นเป็นหุ้นส่วนหรือไม่ มีหน่วยงานร่วมหรือไม่

           2. Mutual benefit มีผลประโยชน์ร่วมกัน ว่าเกิดผลลัพธ์มีอะไรเกิดขึ้น ทั้ง out come และ out put

         3. Scholarship ที่นับเข้ากับเกณฑ์ของสภาการพยาบาลได้ มีวิจัยเกิดขึ้นในโครงการบริการวิชาการ หรือไม่มีวิจัย อย่างน้อยมีบทความ ถอดบทเรียน หรือเกิดชุดความรู้บางอย่างออกมา เช่น ทำไปแล้วเกิดคู่มือ สร้างคู่มือได้ สร้างแบบคัดกรองแบบใหม่ได้ หรือเกิดผลงานทางวิชาการได้ ถ้ายังไม่ถึงระดับวิจัย มีหลักฐานการเกิด Scholarship ต้องวางแผนเชิงระบบ เช่น มีนักศึกษาปริญญาตรีเข้ามาในวิชาไหนต้องเขียนให้ชัดเจน ต้องเขียนให้ตรงกันทั้งตัวโครงการและประมวลรายวิชาด้วย

          4. Social impact ออกแบบโครงการที่วัดผลกระทบได้ Impact ต้องออกแบบตั้งแต่แรกกับเจ้าของพื้นที่ เช่น เราจะทำโครงการเกี่ยวกับ NCD ในพื้นที่ วัดอัตราการป่วยรายใหม่ลดลงหรือไม่ ผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนลดลงหรือมา

               - Impact เชิงสุขภาพ อัตราป่วยลดลง

               - Impact เชิงเศรษฐกิจ 

               - Impact เชิงสังคม คุณภาพชีวิตดีขึ้น 

               - Stakeholde

               ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “ทำอย่างไรให้มีบริการวิชาการตอบโจทย์ความต้องการของสังคม” ด้านการศึกษาและด้านวิจัยนั้น ได้นำไปใช้ในการวางแผนการบริการวิชาการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนและการทำวิจัย

 

อาจารย์ สุรัสวดี ไวว่อง ผู้ลิขิต

 

 


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1331678