คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ โดยร่วมมือกับคณะกรรมการพัฒนาการจัดการความรู้ ระบบข้อมูลสารสนเทศ  ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “Essential skills for effective teaching”  ไปแล้วจำนวน 3 ครั้ง โดยหัวข้อย่อย ครั้งที่ 1 เรื่อง “Teaching techniques” เมื่อวันพุธที่ 28 เมษายน 2564 เวลา 13.30-15.00 น. ครั้งที่ 2 เรื่อง “Active learning” เมื่อวันพุธที่ 7 กรกกฏาคม 2564 เวลา 13.30-15.00 น. และครั้งนี้ ครั้งที่ 3 เรื่อง “Monitoring and evaluation” เมื่อวันพุธที่ 1 กันยายน 2564 เวลา 13.30-14.30 น.  โดยมีคณาจารย์จากภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ และภาควิชาอื่นๆ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 13 คน ในการนำเสนอผลการติดตามและการประเมินผล ที่คณาจารย์ภาคอื่นๆ นำวิธีการสอนต่างๆ ไปใช้ เช่น Questioning, Reflection, Teaching on the run, small group discussion (มีผู้ตอบการนำไปใช้จำนวน 6 คน) โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ได้ร่วมกันอภิปรายอย่างหลากหลาย ในเรื่องการนำไปใช้ ปัญหาอุปสรรค ที่พบ รวมทั้งแนวทางแก้ไข/ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ สรุปประเด็นสำคัญๆ ได้ดังนี้

          1. Questioning ได้มีการใช้ในการสอนบรรยาย และการสอนภาคปฏิบัติ ซึ่งพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มักจะเงียบ ต้องกระตุ้นถามคำถามหลายครั้ง พบนักส่วนหนึ่งไม่กี่คนที่มักจะตอบแบบสอบถาม อนึ่ง questioningสามารถใช้ได้ดีในการสอน simulation ใน LRC ทำให้สามารถประเมินการปฏิบัติของนักศึกษาและบทบาทการเป็นผู้นำ รวมทั้งการประเมินทักษะการปฏิบัติบนหอผู้ป่วยได้ ว่าทำอะไร เพราะอะไร กระตุ้นให้นักศึกษาได้มีโอกาสคิด วิเคราะห์ 

          ข้อเสนอแนะ: 

 - คำถามไม่ควรยากมาก ถ้ายาก ต้องย่อยให้เข้าใจได้ง่าย หรือมีการบอกไบ้บางส่วน

 - อาจารย์ผู้สอนต้องใจเย็น อดทน และรอคำตอบจากนักศึกษา เลือกใช้คำถามเป็นบางช่วงในการสอน ถ้าใช้มากเกินไป ก็ทำให้ใช้เวลาในการสอบถามมากเกินไป อาจจะทำให้สอนไม่ทัน หรือเร่งสอนในช่วงท้ายๆ 

- ลักษณะ ท่าทางการถามจะต้องเป็นมิตร ไม่คุกคาม ปรับน้ำเสียงและระดับความดังให้เหมาะสม ถ้านักศึกษาตอบไม่ได้ อาจจะบอกใบ้ หรือขอให้เพื่อนในกลุ่มช่วย หรือขออาสาสมัคร เช่น ใครประสงค์ อยากตอบ

- สุ่มถาม หรือถามจากรายชื่อ รายกลุ่ม หรือขออาสาสมัคร หรือถามทั้งชั้น หรือขอฟังเสียงนักศึกษาที่ยังไม่เคยตอบ หรือเปิดกล้องให้เห็นหน้า รู้จักกันมากขึ้น

- ใช้เทคนิคการถามคำถาม ในการเปิดประเด็น หรือถามต่อยอดจากเนื้อหาเดิม เพื่อทดสอบความเข้าใจ หรือกรณีศึกษา เพื่อประเมินการนำไปใช้หรือประยุกต์ 

- ในกรณีที่นักศึกษาหลายคน ตอบไม่ได้ ควรเฉลย หรืออธิบายเพิ่มเติม

          2. Reflection ส่วนใหญ่อาจารย์มักจะใช้ภายหลังการสอน เช่น การสอนกลุ่มย่อย หรือการสอนภาคปฏิบัติบนหอผู้ป่วย เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสสะท้อนความคิดเห็นของตนเองว่าตนเองเรียนรู้อะไร มีจุดเด่นอะไร และอยากจะปรับปรุงหรือพัฒนาเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งก็พบปัญหาว่านักศึกษาบางส่วนไม่กล้าที่จะพูดสะท้อนคิด ไม่อยากให้เน้นจุดด้อย หรือพูดไปมากอาจจะถูกหักคะแนน

          ข้อเสนอแนะ: 

     -แจ้งนักศึกษาว่าเป็นกระบวนการศึกษา และเรียนรู้ร่วมกันในระหว่างเพื่อน ไม่มีการหักคะแนน หรือถ้าแสดงความคิดเห็น ก็จะช่วยให้เพื่อนในกลุ่ม ให้คะแนนเพื่อนๆ ในกลุ่มได้ดีมากขึ้น

     -การสะท้อนคิด ช่วยให้ข้อมูลแก่อาจารย์ในการปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้ดีขึ้น และฝึกให้นักศึกษามีความกล้าในการแสดงออก และประเมินตนเอง ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ซึ่งจะนำไปสุ่การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืนต่อไป 

          3. Teaching on the run เป็นวิธีการสอนที่น่าสนใจ แต่เนื่องเป็นช่วงที่นักศึกษายังไม่ได้ขึ้นฝึกปฏิบัติ อาจารย์จึงยังไม่ได้นำไปใช้ในการสอน แต่คิดว่าเป็นวิธีการสอนที่ท้าทายทั้งอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษา อาจารย์จึงควรจะมีระยะเวลาในการทดลอง/ฝึกฝนในการนำไปใช้ ในการประเมินความรู้ความเข้าใจ การตัดสินใจบนข้อมูลพื้นฐานทางคลินิก และการเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมของนักศึกษาต่อไป 

          4. Small group discussion อาจารย์ส่วนใหญ่ได้นำไปใช้ เช่นการสอนกลุ่ม ในวิชาทฤษฏี การสอนกลุ่มย่อย การเรียนในห้อง LRC และการเรียนภาคปฏิบัติในหอผู้ป่วย โดยรวมก็จะได้ผลดีในการสอน แต่ก็พบปัญหาบางส่วน เช่น นักศึกษาไม่ยอมแสดงความคิดเห็น หรือมีบางส่วนเท่านั้นที่มักจะแสดงความคิดเห็น การแบ่งงานที่รับผิดชอบภายในกลุ่มไม่ทั่วถึง หรือไม่ทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย หรือการทำกลุ่มบริหารเวลาไม่ดีพอ เช่น ทำงานไม่ทัน หรือกลับเข้าห้องกลุ่มใหญ่ล่าช้า เป็นต้น

          ข้อเสนอแนะ:

    - สุ่มถาม หรือ สลับให้เพื่อนตอบ หรือสลับคนที่นำเสนอ หรือการกำหนดการถามคำถาม เช่นให้แสดงความคิดเห็นอย่างน้อยคนละ 1 ครั้ง อาจารย์จะบันทึกจำนวนครั้ง 

   - กระตุ้นให้มีการถาม การตอบ โดยในช่วงแรก อาจารย์อาจจะทำเป็นตัวอย่าง หรือแม้แต่การยกตัวอย่างหรือสาธิตว่าอาจจะเป็นลักษณะใดได้บ้าง และอาจารย์ควรเน้นถึงประโยชน์ที่นักศึกษาพึงได้จากการเรียน small group discussion 

  - อาจารย์อาจสอบถามถึงประเด็นปัญหาในการทำงานกลุ่ม การแบ่งงาน ใครทำงานมาก น้อย และเสนอแนะการปรับแก้อย่างไร อาจสอบถามเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม แล้วแต่กรณีที่เหมาะสม 

    -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การประเมินผล 

          ผลการประเมินจากคณาจารย์ จำนวน 7  คน พบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมากถึงมากที่สุด เป็นกิจกรรม KM ที่ได้ประโยชน์ ดำเนินการได้อย่างราบรื่น น่าสนใจมากและได้แลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆร่วมกับภาควิชาฯ อื่นๆ 

ข้อเสนอแนะ 

          อยากให้มีการ refresh เทคนิคต่างๆเป็นระยะๆ เนื่องจากเป็น tarcit knowledge

          เทคนิคการสอนมีหลายวิธี แล้วแต่อาจารย์จะเลือกใช้ หรือใช้ผสมผสานหลายวิธี ทั้งนี้ก็ขึ้นความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษามากน้อยแค่ไหน และระยะที่กำหนดในการสอน อาจารย์สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้เหมาะสมตามสถานการณ์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้สูงสุด อาจารย์สนุกกับการสอน และนักศึกษาก็เรียนรู้อย่างมีความสุข

          ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง เรื่อง “Essential skills for effective teaching” ในหัวข้อย่อย ครั้งที่ 3 เรื่อง “Monitoring and Evaluation”  ด้านการดำเนินงานด้านการศึกษานั้น ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาและอุปสรรคเมื่อนำเทคนิคไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและได้ช่วยกันเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาในการเรียนการสอน เพื่อช่วยพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

ดาวน์โหลดเอกสาร PDF

 

 

 


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1318278