คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ และภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “Essential skills for effective teaching”  ประกอบด้วย 3 ครั้ง โดยหัวข้อย่อย ครั้งที่ 2 เรื่อง “Active learning”โดยมีวิทยากร 4 คน ได้แก่ อาจารย์ ดร.ภัทรนุช วิทูรสกุล อาจารย์สาธิมา สุระธรรม อาจารย์ ดร.ชญาภา ชัยสุวรรณ และอาจารย์ลัดดาวัลย์ ทรัพย์เจริญมากในวันพุธที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.30-15.00 น. ผ่าน Link: shorturl.at/mxzUW และมีคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 12 คน รายละเอียดสรุปได้ดังนี้

ในหัวข้อย่อย ครั้งที่ 2 เรื่อง “Active learning” ประกอบด้วยหัวข้อ Basic Concepts of Active Learning, Small group teaching, Ward round and bedside teaching, Clinical performance assessment, Reflection โดย Basic concepts of active learning มี 4 หลักการพื้นฐานที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ แบบ Active learning  ได้แก่ Feedback, Activity, Individualization, Relevance

          การสอนกลุ่มย่อย Small group teaching โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีการร่วมอภิปราย การทำกลุ่ม การสะท้อนคิดและการให้ข้อมูลย้อนกลับ เป็นต้นโดยครูผู้สอนมีบทบาทในการเป็นผู้นำในการทำกลุ่ม เป็นที่ปรึกษา เป็นผู้สังเกตการณ์ สนับสนุนประเด็น/ข้อโต้แย้ง ซึ่งจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พบว่าส่วนใหญ่มักพบปัญหาและอุปสรรค เช่น นักศึกษาไม่ได้เตรียมตัว อาจจะมีนักศึกษาเพียงบางคนที่ตั้งใจทำกลุ่ม นักศึกษาบางคนไม่มีส่วนร่วมในการทำกลุ่ม ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยกระตุ้นในนักศึกษามีการเตรียมตัว มีการแนะนำและตั้งกติกาในการทำกลุ่ม การเลือกใช้ทำคำถามที่เหมาะสม สามารถกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน มีการอธิบายในเวลาที่เหมาะสม มีการสรุปและประเมินผล  

          การสอนข้างเตียง Bed side teaching มีขั้นตอนหลัก 5 ขั้น คือ 

          1. การเตรียมทั้งผู้ป่วยและนักศึกษาก่อนทำการเรียนการสอน รวมทั้งยึดหลักการเคารพสิทธิของผู้ป่วยด้วย 

          2. การสรุปรวมสิ่งที่ต้องการปฏิบัติเมื่อเข้าพบผู้ป่วย เช่น สรุปความรู้ ข้อมูลผู้ป่วย สิ่งที่ต้องการทราบ คำถามในการซักประวัติ การตรวจร่างกายในระบบที่ต้องการทราบเพิ่มเติม รวมถึงหัตถการที่จะปฏิบัติกับผู้ป่วย เป็นต้น

           3. การสอนข้างเตียงเน้นให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์และได้ประสบการณ์การจากผู้ป่วย เช่น การฝึกทักษะการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การสื่อสาร การสังเกตพฤติกรรม ลักษณะอารมณ์ของผู้ป่วย การตัดสินใจ ทักษะในการปฏิบัติหัตถการ เป็นต้น

          4. การสรุปรวมความรู้และประสบการณ์ที่ได้หลังจากปฏิบัติกับผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจตนเอง สถานการณ์ สิ่งที่ปฏิบัติ รวมถึงปัญหาและการแก้ไขปัญหา 

          5. การสะท้อนคิด ความรู้สึก สิ่งที่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติการพยาบาลเกิดความรู้สึกที่ดี ทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพและมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้น

          การประเมินผล เป็นกระบวนการที่ใช้เพื่อบันทึกระดับความรู้ ทักษะ และเจตคติของผู้เรียน ซึ่งมักบันทึกเป็นระดับคะแนนที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ระหว่างผู้เรียน ได้จากการสังเกตการปฏิบัติงานของนักศึกษาในสถานการณ์จริง ซึ่งในการประเมินอาจมีปัจจัยรบกวนอื่นๆ มาเกี่ยวข้อง เช่น ระบบการทำงาน สภาพแวดล้อม สภาพจิตใจของผู้สอบ รวมถึงผู้ประเมินแต่ละคนอาจประเมินให้คะแนนแตกต่างกันในสถานการณ์เดียวกัน ดังนี้จึงควรมีการสร้างมาตรฐานให้ผู้ประเมินแต่ละคนเข้าใจในการประเมินตรงกันและเครื่องมือในการประเมิน ควรมีความชัดเจนและเหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการประเมิน

          การประเมินผล 

          ผลการประเมินจากคณาจารย์และบุคลากร จำนวน 7  คน พบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมากถึงมากที่สุด ได้รับประโยชน์อย่างมากในการเข้ากิจกรรม สามารถนำไปเผยแพร่ และประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติได้ ทีมวิทยากร มีการเตรียมตัวมาอย่างดีเยี่ยม ให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะที่กระชับ ตรงประเด็น มีคลิปวิดีโอประกอบทำให้มีความน่าสนใจมากขึ้น และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์เดิม ผนวกกับข้อมูลและความรู้ใหม่ที่ได้รับ และควรมีจัดในครั้งต่อๆไป

          ข้อเสนอแนะ 

          - อยากให้แลกเปลี่ยนจัด KM กับภาควิชาอื่นๆ มากขึ้น

          - อยากให้มีการจัดกิจกรรมในหัวข้อ Online skill assessment และ Active learning online

          - Video clips ประกอบ ทำให้น่าสนใจมากขึ้น ระดับเสียงใน video บางช่วงค่อนข้างเบา

          ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง หัวข้อ “Essential skills for effective teaching”  ประกอบด้วย 3 ครั้ง โดยหัวข้อย่อย ครั้งที่ 2 เรื่อง “Active learning” ด้านการดำเนินงานด้านการศึกษานั้น นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทั้งการสอนแบบ Active learning เทคนิคต่างๆ ในการทำกลุ่มย่อย การสอนข้างเตียงบนหอผู้ป่วย รวมถึงการประเมินและแบบประเมินผล


อ.ลัดดาวัลย์ ทรัพย์เจริญมาก ผู้ลิขิต                                                                                                                                                     

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ PDF


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1318244