• MUQF2023-Slide1.PNG
  • MUQF2023-Slide2.PNG
  • MUQF2023-Slide3.PNG

ประเภทและชื่อตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2551 ได้ออกข้อบังคับกำหนดให้พนักงานมหาวิทยาลัยในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล มี 3 ประเภท รวมทั้งได้ออกประกาศเรื่องชื่อตำแหน่ง และมาตรฐานกำหนดตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2551, ฉบับที่ 2 พ.ศ.2551,  ฉบับที่ 3 พ.ศ.2552, ฉบับที่ 4 พ.ศ.2552, ฉบับที่ 5 พ.ศ.2552, ฉบับที่ 6 พ.ศ.2552 และฉบับที่ 7 พ.ศ.2552 มีสาระสำคัญ โดยกำหนดประเภทและชื่อตำแหน่งของพนักงานมหาวิทยาลัย

ดังนี้

พนักงานมหาวิทยาลัย มี 3 ประเภท ดังนี้

1. พนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งประเภทวิชาการ
2. พนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งประเภทบริหาร
3. พนักงานมหาวิทยาลัยตำแหน่งประเภทสนับสนุน

ชื่อตำแหน่งของพนักงานมหาวิทยาลัย

1.  ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีชื่อตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

1) ศาสตราจารย์
2) รองศาสตราจารย์
3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
4)  อาจารย์
5) นักวิจัย (ซึ่งทำหน้าที่วิจัยโดยเฉพาะ)
6) ตำแหน่งอื่น ๆ ที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด

2.  ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร มี 3 ลักษณะ และมีชื่อตำแหน่ง ดังต่อไปนี้

2.1 ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร

1) ตำแหน่งประเภทผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ตำแหน่งอธิการบดี  
2) ตำแหน่งประเภทผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ตำแหน่งรองอธิการบดี, คณบดี, ผู้อำนวยการ (ส่วนงานเรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ) และตำแหน่งอื่นที่  ก.บ.ค.  (คณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคล) กำหนด
3) ตำแหน่งประเภทผู้บริหารระดับต้น ได้แก่ ตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดี, รองคณบดี, รองผู้อำนวยการ (ส่วนงานเรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ) ผู้อำนวยการโรงพยาบาล หัวหน้าภาควิชา และตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชาและตำแหน่งอื่นที่ ก.บ.ค. กำหนด

2.2  ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร (อำนวยการ) ได้แก่

1) หัวหน้าสำนักงานอธิการบดี
2) ผู้อำนวยการกอง
3) เลขานุการคณะ (ส่วนงานเรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ)
4) ตำแหน่งอื่นที่ ก.บ.ค. กำหนด

2.3  ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร (ตำแหน่งระดับหัวหน้าหน่วยงานในโรงพยาบาลและระดับหัวหน้างานในส่วนงาน/หน่วยงาน)  ได้แก่

1)  หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล  
2)  หัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรม
3) รองหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล
4)  หัวหน้างานการพยาบาล 
5)  หัวหน้าฝ่ายอื่น ๆ ในโรงพยาบาล
6)  ผู้ตรวจการพยาบาล
7)  หัวหน้าหอผู้ป่วย
8)  หัวหน้าหน่วย (ทางการพยาบาล) 
9)  หัวหน้าพยาบาลประจำภาควิชา
10)  หัวหน้างาน
11)  ตำแหน่งอื่นที่ ก.บ.ค. กำหนด

 3.  ตำแหน่งประเภทสนับสนุน  มี 4 กลุ่ม และแต่ละกลุ่มมีชื่อตำแหน่งดังต่อไปนี้

 3.1  กลุ่มวิชาชีพเฉพาะ  หมายถึง ตำแหน่งในสายงานวิชาชีพเฉพาะตามพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2538 หรือตำแหน่งในสาขาที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งต้องมีใบประกอบวิชาชีพมี 21 ตำแหน่ง ได้แก่

1) นักกายภาพบำบัด                                
2) ทันตแพทย์                                           
3) พยาบาล                                                
4) แพทย์                                                   
5) สัตวแพทย์                                             
6) นักเทคนิคการแพทย์                          
7) เภสัชกร                                                 
8) วิศวกรเครื่องกล                                   
9) วิศวกรไฟฟ้า                                         
10) วิศวกรโยธา                                        
11) สถาปนิก
12) นักรังสีการแพทย์
13) นักวิชาการคอมพิวเตอร์
14) นักจิตวิทยาคลินิก
15) นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย
16) นักกิจกรรมบำบัด
17) นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
18) นักกายอุปกรณ์
19) นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์
20) นักปฏิบัติการวิจัย*
21) แพทย์แผนไทยประยุกต์

3.2  กลุ่มสนับสนุนวิชาการ  หมายถึงตำแหน่งที่สนับสนุนวิสัยทัศน์ พันธกิจของมหาวิทยาลัย และส่วนงานทางด้านการเรียนการสอนและการวิจัยโดยตรง และ/หรือตำแหน่งที่สนับสนุน การผลิตผลงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน หรือเป็นงานบริการที่เป็นงานหลักของส่วนงาน/หน่วยมี 31 ตำแหน่ง ได้แก่

1) นักวิชาการศึกษา*                              16)  นักวิชาการอักษรเบรลล์
2) นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ               17) นักวิชาการภาษามือ
3) นักวิทยาศาสตร์                                 18) ล่ามภาษามือ 
4) บรรณารักษ์*                                    19) นักให้คำปรึกษาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
5) นักวิชาการเวชสถิติ                             20) นักเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ
6) นักวิชาการโภชนาการ                          21) ผู้ช่วยวิจัย
7) นักจิตวิทยา                                      22) นักพัฒนาการเด็ก
8) นักวิชาการโสตทัศนศึกษา*                   23) นักวิทยาศาสตร์การกีฬา 
9) เจ้าหน้าที่วิจัย                                   24) นักวิชาการดนตรีไทย
10)นักเอกสารสนเทศ*                            25) นักวิชาการสารสนเทศภูมิศาสตร์
11) นักวิทยาศาสตร์                               26) นักวิชาการข้อมูลสมุนไพร
12) นักวิชาการช่างทันตกรรม                    27) นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
13) นักวิชาการอาชีวบำบัด                       28)  ผู้ช่วยอาจารย์*
14) นักกำหนดอาหาร                              29) นักคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ
15)  เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์*          30) นักจดหมายเหตุ                             31) นักวิชาการรหัสโรค

3.3  กลุ่มสนับสนุนทั่วไป  แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่

3.3.1  ตำแหน่งระดับปฏิบัติการ หมายถึง ตำแหน่งที่สนับสนุนงานทั่วไป ของมหาวิทยาลัย/ส่วนงาน/หน่วยงาน และเป็นตำแหน่งที่มีลักษณะงานเฉพาะด้าน ซึ่งต้องบรรจุผู้มีคุณวุฒิระดับปริญญาตรีขึ้นไป มี 24 ตำแหน่ง ดังนี้

1) เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป*                   13)  นักวิชาการพัสดุ*  
2) นักวิชาการเงินและบัญชี*                      14)  นักวิชาการสถิติ  
3) นักวิชาการช่างศิลป์                             15) นักวิเทศสัมพันธ์*
4) นักตรวจสอบภายใน                             16) นักสังคมสงเคราะห์
5) นักสุขศึกษา                                      17) นักวิชาการสารสนเทศ*
6) วิศวกร                                             18) นักวิชาการพัฒนาคุณภาพ*
7) นักวิเคราะห์นโยบายและแผน*                 19) เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม  
8) นักวิชาการเกษตร                                20) เจ้าหน้าที่พยาบาลทางสัตวแพทย์
9) นักวิชาการสัตวบาล                              21) ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารสินทรัพย์
10) นิติกร                                             22) นักวิเทศศิลป์
11) นักทรัพยากรบุคคล*                            23) เจ้าหน้าที่พัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์
12) นักประชาสัมพันธ์*                              24) เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และพัฒนาการลงทุน

 3.3.2  ตำแหน่งระดับช่วยปฏิบัติการด้านต่าง ๆ หมายถึง ตำแหน่งที่สนับสนุนงานทั่วไปของมหาวิทยาลัย/ส่วนงาน/หน่วยงาน ซึ่งมีลักษณะงานที่เป็นผู้ช่วยของตำแหน่งระดับปฏิบัติการ โดยบรรจุผู้ที่มีคุณวุฒิต่ำกว่าระดับปริญญาตรี มี 26 ตำแหน่ง ดังนี้

1) ช่างทันตกรรม                                    14) ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด*
2) ช่างเครื่องคอมพิวเตอร์                          15) ผู้ปฏิบัติงานอาชีวบำบัด
3) ช่างพิมพ์                                          16) ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์
4) ช่างศิลป์                                          17) ผู้ปฏิบัติงานทันตกรรม
5) ช่างเขียนแบบ                                    18) ผู้ปฏิบัติงานเภสัชกรรม
6) ช่างเครื่องยนต์                                    19) ผู้ปฏิบัติงานพยาบาล
7) ช่างไฟฟ้า                                          20) ผู้ปฏิบัติงานโภชนาการ
8) ช่างอิเล็กทรอนิกส์                                21) ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตรการแพทย์
9) ช่างเทคนิค                                        22) ผู้ปฏิบัติงานรังสีเทคนิค
10) ผู้ปฏิบัติงานบริหาร*                            23) ผู้ปฏิบัติงานกายภาพบำบัด
11) ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร                         24) เจ้าหน้าที่อักษรเบรลล์
12) ผู้ปฏิบัติงานสัตวบาล                           25) พนักงานบริการ
13) ผู้ปฏิบัติงานโสตทัศนศึกษา*                  26) ผู้ปฏิบัติงานแพทย์แผนไทยประยุกต์

3.4  กลุ่มอื่นที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด

จากการที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้กำหนดประเภท และชื่อตำแหน่งของพนักงานมหาวิทยาลัยข้างต้นเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานในส่วนที่เกี่ยวกับพนักงานมหาวิทยาลัย ตั้งแต่การบรรจุแต่งตั้ง การมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การให้เงินเดือน เงินประจำ-ตำแหน่ง ค่าตอบแทน ความก้าวหน้าในสายงาน การพัฒนาพนักงานมหาวิทยาลัยฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ

* หมายถึง  ตำแหน่งที่มีอยู่ในสังกัดคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


สรุปโดย    นางสาวกรุณา คุ้มพร้อม
งานทรัพยากรบุคคล
30 มีนาคม 2554


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Show Case Best Practice 2564

Show Case Best Practice 2565

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1331720