กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เรื่อง “ชอบหรือไม่..โดนใจ (นศ.) หรือเปล่ากับ 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี”
จัดโดย คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วัน พุธ ที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๘ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.
ณ ห้องประชุม ๙๐๑ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย
อาจารย์ ดร. สิริกาญจน์ หาญรบ วิทยากร
อาจารย์ ดร. ปวิตรา จริยสกุลวงศ์ ผู้ลิขิต
*******************************************************
คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) โดยภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “ชอบหรือไม่..โดนใจหรือเปล่ากับ 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี” เมื่อวันพุธที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๘ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๙๐๑ คณะพยาบาลศาสตร์ (บางกอกน้อย) โดยมีอาจารย์ ดร.สิริกาญจน์ หาญรบ เป็นวิทยากร และมีคณาจารย์จากภาควิชาฯ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๑๓ คน
ปีการศึกษา ๒๕๖๗ เป็นปีที่รายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ซึ่งรับผิดชอบโดยภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ได้มีการปรับรายวิชาตามหลักสูตรใหม่ เป็นรายวิชาทฤษฏีที่ประกอบด้วยการเรียนภาคบรรยายที่ถูกปรับให้จำนวนชั่วโมงสอนลดลง และมีการเรียนการสอนที่เป็นชั่วโมงในการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากการปรับเปลี่ยนทำให้ต้องมีการออกแบบรูปแบบการสอนใหม่โดยรูปแบบการสอนของรายวิชาในส่วนของการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเกือบร้อยละ ๗๐ เป็นลักษณะของ Case Based Learning (CBL)
อาจารย์ ดร.สิริกาญจน์ หาญรบ ได้นำเสนอผลการประเมินของนักศึกษาภายหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CBL พบว่านักศึกษามีการประเมินในประเด็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่สอนในภาคทฤษฎีกับกรณีศึกษา จำนวนปริมาณกรณีศึกษา ลำดับขั้นตอนในศึกษากรณีศึกษา การแบ่งจำนวนนักศึกษาในแต่ละกลุ่ม การมีอาจารย์ประจำกลุ่ม ขนาดกลุ่ม ความน่าสนใจในการสอน โดยส่วนใหญ่นักศึกษาความชื่นชอบในรูปแบบการสอนที่มีกรณีศึกษาหรือเคสตัวอย่าง และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายวิชา เช่น
“ชอบเทคนิคการสอนที่ให้ทำเคสมากเลย รู้สึกว่าฝึกทำ ฝึกคิดไปในตัว”
“ได้คิดเอง วิเคราะห์เอง เหมือนเข้าใจมากขึ้น”
“CBL ไม่ได้แค่ให้จำ แต่ให้คิด ช่วยให้เชื่อมโยงเรื่องยากๆ ให้จับต้องได้มากขึ้น”
“หากเป็นไปได้อยากให้เพิ่มเวลาในส่วนของการทำเคสที่มากขึ้นค่ะ”
“แนะนำอาจารย์ปรับลดเวลาในการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ เช่น คุยวิเคราะห์ ๒๐-๓๐ นาที นำเสนอ ๓๐-๕๐ นาที และอาจารย์สรุปแต่ละเคส ๑๐-๒๐ นาที”
“ดีที่ได้ทำงานเป็นทีม รู้จักเพื่อนใหม่ ฝึกสื่อสาร และได้ฟังมุมมองจากคนอื่นที่เราคิดไม่ถึง”
นอกจากนี้นักศึกษายังมีข้อเสนอแนะให้มีการฝึกปฏิบัติทักษะที่ต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วย เช่น การทำแผลเจาะคอ การเปลี่ยนเชือก การดูดเสมหะ อย่างไรก็ตามยังมีนักศึกษาบางส่วนมีความต้องการให้เพิ่มเวลาในการบรรยายมากขึ้น ซึ่งยังเป็นประเด็นที่ทางวิชาต้องทำความเข้าใจกับนักศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนแบบใหม่ที่ต้องการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้นโดยมีอาจารย์เป็นผู้สนับสนุนแหล่งการเรียนรู้มากกว่าเป็นผู้บรรยาย
จากผลการประเมินทำให้หัวหน้าวิชาได้มีการวางแผนการจัดการสอนในปีการศึกษาหน้าโดยเน้นให้การจัดการเรียนรู้แบบ CBL สามารถเชื่อมโยงไปใช้ได้จริงมากขึ้นในวิชาปฏิบัติ ความน่าดึงดูดในการเรียนรู้ เช่น การใช้เกมส์เข้ามาเป็นส่วนร่วม และวิทยากรได้นำเสนอ ๗ วิธีที่ทำให้ CBL น่าเรียนและโดนใจนักศึกษาดังนี้
๑. ใช้เคสที่ “ตรงใจ และใกล้ตัว” คือ การเลือกใช้กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จริง เช่น เคสจากวอร์ดที่นักศึกษาเคยพบ หรือใช้เคสที่สอดคล้องกับประเด็นสังคม เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
๒. ใช้สื่อหลากหลาย เช่น วิดิทัศน์ ภาพ เสียง โดยอาจมีการเปิดวิดิทัศน์ผู้ป่วยจำลอง หรือภาพจำลองทางคลินิกเพื่อกระตุ้นการสังเกต เสียงสัมภาษณ์ผู้ป่วยเพื่อเพิ่มความรู้สึกการเข้าไปอยู่ในสถานการณ์
๓. แบ่งกลุ่มเล็ก พร้อมบทบาทสมมติ เพื่อให้นักศึกษามีบทบาท เช่น พยาบาล ญาติ ผู้ป่วย อาจารย์พี่เลี้ยง ซึ่งจะช่วยฝึกมุมมองที่หลากหลายและกระตุ้นการมีส่วนร่วม
๔. ใส่คำถามชี้นำแบบ “ท้าทาย แต่ไม่ตีบตัน” ใช้คำถามที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ เลี่ยงคำถามปลายปิด เช่น “ถ้าคุณเป็นพยาบาลประจำหอผู้ป่วย จะเริ่มดูแลผู้ป่วยรายนี้อย่างไร”
๕. มีโครงสร้างชัดเจน โดยเริ่มจากวิเคราะห์เคส หาข้อมูล วางแผน และสรุป และต้องมี Rubric และแนวทางที่ชัดเจนให้ผู้เรียนเข้าใจว่าต้องทำอะไร
๖. จำกัดเวลา ทำให้กระชับและมีจังหวะ การวิเคราะห์เคสต้องไม่ยาวเกินไปจนน่าเบื่อ อาจใช้กิจกรรมแข่งวิเคราะห์ จำกัดเวลา แล้วให้นำเสนอ
๗. อาจารย์สรุปและสะท้อนหลังจบเคส ภายหลังอภิปรายต้องมีการอธิบายสิ่งที่ถูกต้อง ชี้จุดเด่น และจุดที่ต้องปรับปรุง เพื่อป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนและเสริมความมั่นใจให้นักศึกษา
CBL เป็นการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบของนักศึกษาในการเตรียมความรู้ล่วงหน้าเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์และเรียนรู้เคส และอาจารย์ต้องมีการพัฒนาเคสและรูปแบบให้มีความชัดเจนนำไปใช้ได้จริงเพื่อให้การเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “ชอบหรือไม่..โดนใจ (นศ.) หรือเปล่ากับ 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี” ด้านการศึกษา เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาถัดไปเพื่อสนับสนุนความต้องการในการเรียนรู้ของนักศึกษาและพัฒนารูปแบบการสอนของอาจารย์
@@@@@@@@@@@@@@
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา โฆสิตะมงคล
๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จงกลวรรณ มุสิกทอง
๓. รองศาสตราจารย์ พรรณิภา บุญเทียร
๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วารุณี พลิกบัว
๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา เล็กดำรงกุล
๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิรา เรียงคำ
๗. อาจารย์ ดร.วราภรณ์ พานิชปฐม
๘. อาจารย์ ดร.สืบสาน รักสกุลพิวัฒน์
๙. อาจารย์ ดร.ณัฎยา ประหา
๑๐. อาจารย์ ดร.ปวิตรา จริยสกุลวงศ์
๑๑. อาจารย์ ดร.ประพัฒน์สินี ประไพวงษ์
๑๒. อาจารย์ปิโยรส เกษตรกาลาม์
๑๓. อาจารย์เกวลิน พงษ์สุวรรณ
@@@@@@@@@@@@@@
ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สรุปการประเมินผลกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ ๒/ ๒๕๖๘
เรื่อง “ชอบหรือไม่..โดนใจ (นศ.) หรือเปล่ากับ 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี”
โดย
อาจารย์ ดร.สิริกาญจน์ หาญรบ
วัน พุธ ที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๘ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.
ณ ห้องประชุม ๙๐๑ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย
จำนวนอาจารย์ที่ประเมิน ๘ คน (จากผู้เข้าร่วมทั้งหมด ๑๓ คน)
คำถาม |
เห็นด้วยมากที่สุด |
เห็นด้วยมาก |
เห็นด้วยปานกลาง |
เห็นด้วยน้อย |
เห็นด้วยน้อยที่สุด |
|||||
จำนวน |
ร้อยละ |
จำนวน |
ร้อยละ |
จำนวน |
ร้อยละ |
จำนวน |
ร้อยละ |
จำนวน |
ร้อยละ |
|
๑. ท่านคิดว่าหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีความเหมาะสม |
๘ |
๑๐๐ |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
๒. ท่านมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม |
๘ |
๑๐๐ |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
๓. ท่านคิดว่าความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ |
๗ |
๘๗.๕ |
- |
- |
๑ |
๑๒.๕ |
- |
- |
- |
- |
๔. ท่านได้รับประโยชน์จากกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ |
๗ |
๘๗.๕ |
- |
- |
๑ |
๑๒.๕ |
- |
- |
- |
- |
๕. ท่านมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรม |
๗ |
๘๗.๕ |
๑ |
๑๒.๕ |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
๖. ท่านคิดว่าระยะเวลาในการจัดมีความเหมาะสม |
๖ |
๗๕ |
๒ |
๒๕ |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
ข้อเสนอแนะ
-