กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เรื่อง "รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วย 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี"

จัดโดย คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันพุธที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๘ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.

ณ ห้องประชุม ๗๑๘ คณะพยาบาลศาสตร์ (บางกอกน้อย)

อ.ดร.สิริกาญจน์ หาญรบ วิทยากร

อาจารย์ปิโยรส เกษตรกาลาม์ ผู้ลิขิต

*******************************************************

          คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) โดยภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อเรื่อง "รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วย 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี"  เมื่อวันพุธที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๘ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๗๑๘ คณะพยาบาลศาสตร์ (บางกอกน้อย) โดยมี อ.ดร.สิริกาญจน์ หาญรบ เป็นวิทยากร และมีคณาจารย์จากภาควิชาฯ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๑๓ คน

ในรายวิชาทฤษฎีของภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ได้มีการนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วย 'Case Based Learning' มาใช้ในหลายหัวข้อ โดยมีรูปแบบดังนี้

- กรณีศึกษา มีการแจกกรณีศึกษาและคำถามให้นักศึกษาได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเองล่วงหน้า แล้วมานำเสนอและอภิปรายในห้องเรียนร่วมกันอีกครั้ง หรือบางหัวข้อมอบหมายกรณีศึกษาให้ในห้องเรียนหลังจบการบรรยาย แล้วอภิปรายในห้องเรียนร่วมกัน โดยมีอาจารย์คอยถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดและได้เรียนรู้ร่วมกันในประเด็นการวิเคราะห์ปัญหาทางการพยาบาล ข้อมูลสนับสนุน การวางแผนการพยาบาล และวางแผนจำหน่ายกลับบบ้านพร้อมแหตุผลประกอบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ โดยจะมีการแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นกลุ่มย่อยตั้งแต่ ๒ -๖ กลุ่ม ตามความเหมาะสม หลังจากนั้นจะมีการสรุปประเด็นสำคัญอีกครั้งเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น โดยอาจารย์ที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักในหัวข้อนั้น ๆ จะมีเอกสารคู่มือครูให้อาจารย์ผู้ร่วมสอนเพื่อให้การเรียนการสอนไปในทิศทางเดียวกันและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนสูงสุด

- เกมส์ มีการส่งเอกสารการเรียนให้แก่นักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องเรียน โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อช่วยกันวิเคราะห์และตอบคำถามในห้องเรียน โดยระหว่างการบรรยาย จะมีการสอดแทรกคำถามโดยมีสถานการณ์ต่าง ๆ ผ่านเกมส์เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์เป็นระยะตลอดชั่วโมงการเรียน

          ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนการสอนด้วย 'Case Based Learning' คือ นักศึกษาสามารถเข้าใจ วิเคราะห์กรณีศึกษา ร่วมกับการประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีที่เรียนมาให้เหมะสมแต่ตรงประเด็นในแต่ละกรณีศึกษา สามารถนำความรู้ที่ได้ร่วมอภิปรายในห้องเรียนไปใช้ในการสอบข้อเขียน และประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยบนหอผู้ป่วยในวิชาภาคปฏิบัติได้มั่นใจมากขึ้น

ประเด็นปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ 'Case Based Learning' มีดังนี้ การเตรียมตัวการเข้าเรียนที่ยังไม่เพียงพอของนักศึกษาทำให้ยังไม่เข้าใจ วิเคราะห์และจับประเด็นสำคัญไม่ได้ครบถ้วน ซึ่งจะต่างจากกลุ่มหลังที่มีการสั่งสมประสบการณ์จากการขึ้นฝึกปฏิบัติในรายวิชาอื่นมา ทำให้นักศึกษาจับประเด็นสำคัญได้ครอบคลุมและเรียนรู้ได้ต่อเนื่องมากขึ้น อีกทั้งนักศึกษาบางกลุ่มยังไม่สามารถประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีนำมาใช้ให้เหมาะสมกับกรณีศึกษาที่มีความเฉพาะในบริบท และยังจับประเด็นที่สำคัญที่สุดเพื่อมาอภิปรายไม่ได้ ส่งผลให้การอภิปรายยังเป็นประเด็นทั่วไปไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญที่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน ด้วยนักศึกษากังวลว่าจะไม่ครอบคลุมในสิ่งที่อาจารย์กำหนด

ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วย 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี" ด้านการศึกษา และด้านวิจัย คือ การจัดการเรียนการสอนด้วย “Case Based Learning” ในรายวิชาทฤษฎี จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาทางทฤษฎีมากขึ้น โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย สามารถเลือกประเด็นสำคัญๆ เพื่อร่วมวางแผนให้การพยาบาลอย่างเร่งด่วน อีกทั้งยังสามารถวางแผนการจำหน่ายได้ตรงประเด็น และครอบคลุม ส่งผลให้นักศึกษามีความมั่นใจและให้การดูแลผู้ป่วยบนหอผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ และสามารถต่อยอดไปสู่งานวิจัยทางการศึกษาได้

 

@@@@@@@@@@@@@@

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

๑.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนาภรณ์ คงคา

๒.      รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉริยา พ่วงแก้ว

๓.      รองศาสตราจารย์ พรรณิภา บุญเทียร

๔.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา โฆสิตะมงคล

๕.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา เล็กดำรงกุล

๖.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิรา เรียงคำ

๗.      อาจารย์ ดร.วราภรณ์ พานิชปฐม

๘.      อาจารย์ ดร.สืบสาน รักสกุลพิวัฒน์

๙.      อาจารย์ ดร.ณัฎยา ประหา

๑๐.  อาจารย์ปวิตรา จริยสกุลวงศ์

๑๑.  อาจารย์ปิโยรส เกษตรกาลาม์

๑๒.  อาจารย์เกวลิน พงษ์สุวรรณ

๑๓.  อาจารย์พฤกษา จันทร์ผ่องศรี

 

ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สรุปการประเมินผลกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ ๑/ ๒๕๖๘

เรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วย 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี”

โดย

อาจารย์ ดร.สิริกาญจน์ หาญรบ

วัน พุธ ที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๘ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.

ณ ห้องประชุม ๗๑๘ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย

 

จำนวนอาจารย์ที่ประเมิน ๕ คน (จากผู้เข้าร่วมทั้งหมด ๑๓ คน)

 

คำถาม

เห็นด้วยมากที่สุด

เห็นด้วยมาก

เห็นด้วยปานกลาง

เห็นด้วยน้อย

เห็นด้วยน้อยที่สุด

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

1. ท่านคิดว่าหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีความเหมาะสม

๖๐

๔๐

-

-

-

-

-

-

2. ท่านมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม

๘๐

๒๐

-

-

-

-

-

-

3. ท่านคิดว่าความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถนำไปใช้ประโยชน์

๖๐

๔๐

-

-

-

-

-

-

4. ท่านได้รับประโยชน์จากกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้

๖๐

๔๐

-

-

-

-

-

-

5. ท่านมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรม

๖๐

๔๐

-

-

-

-

-

-

6. ท่านคิดว่าระยะเวลาในการจัดมีความเหมาะสม

๔๐

๔๐

๒๐

-

-

-

-

ข้อเสนอแนะ

 

ถ้ามีเวลาในการอภิปรายมากกว่านี้น่าจะเกิดประโยชน์ในการพัฒนา/ประยุกต์รูปแบบการเรียนการสอนของอาจารย์แต่ละท่านให้เหมาะสมกับผู้เรียนและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนสามารถนำไปต่อยอดในวิชาปฏิบัติได้

 

 


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหาล่าสุด

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1841609