เรื่อง "ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
สาขา ADULT บังคลาเทศและเวียดนาม"
จัดโดย คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วันพุธที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๓.๓๐ น.
ณ ห้องประชุม ๗๑๘ คณะพยาบาลศาสตร์ (บางกอกน้อย)
รองศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช วิทยากร
อาจารย์ปิโยรส เกษตรกาลาม์ ผู้ลิขิต
*******************************************************
คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) โดยภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อเรื่อง "ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขา ADULT บังคลาเทศและเวียดนาม" เมื่อวันพุธที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๗๑๘ คณะพยาบาลศาสตร์ (บางกอกน้อย) โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช เป็นวิทยากร และมีคณาจารย์จากภาควิชาฯ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๑๑ คน
การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขา ADULT บังคลาเทศและเวียดนามที่ทางภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และการพยาบาลศัลยศาสตร์ร่วมมือกันในการจัดการวางโครงร่างหลักสูตรเป็นสิ่งใหม่ที่ท้าทายทางคณาจารย์อย่างมาก ในปีแรกของหลักสูตร ทางคณะฯได้รับนักศึกษาชาวบังคลาเทศที่เดินทางมาศึกษาที่ประเทศไทย แต่ด้วยข้อจำกัดของการเก็บข้อมูล และเป้าหมายคือต้องการให้นักศึกษาได้ความรู้และจบการเรียนตามเกณฑ์ ทางหลักสูตรจึงได้จัดทำแผน ข (สารนิพนธ์) ให้แก่นักศึกษา ทำให้ปีแรกประสบความสำเร็จด้วยดี
หลังจากนั้นจึงได้รับมอบหมายให้พัฒนาหลักสูตรต่อในกลุ่มนักศึกษาชาวเวียดนาม ด้วยข้อจำกัดของนักศึกษาในการเดินทางมาศึกษาที่ประเทศไทยด้วยจากภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ คณาจารย์จึงได้สร้างหลักสูตรการเรียนการสอน ณ ที่ตั้ง คือประเทศเวียดนามขึ้น ระหว่างการเรียนการสอนของหลักสูตร พบปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น วัฒนธรรมทางศาสนา ข้อจำกัดของนักศึกษา (ภาษาอังกฤษ การใช้คอมพิวเตอร์ การสืบค้นข้อมูล) ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนและวางแผนการช่วยเหลือนักศึกษาค่อนข้างมาก อีกทั้งในด้านการฝึกปฏิบัติการพยาบาลที่หอผู้ป่วย การสื่อสารยังเป็นปัญหาที่สำคัญ รวมทั้งการศึกษาข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย แต่ทางหน่วยงานของประเทศเวียดนามได้มีการส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือในการติดต่อกับทีมสุขภาพที่หอผู้ป่วยและประสานงานในการศึกษาแฟ้มประวัติ ทำให้การขึ้นฝึกปฏิบัติลุล่วงไปได้ด้วยดี และมีการเชิญอาจารย์จากคณะฯไปอบรมด้านการปฏิบัติการทางคลินิกที่ดี Good Clinical Practice (GCP) และมอบประกาศนียบัตรแก่นักศึกษาที่ผ่านการอบรม หลังจากนั้นมีการจัดสอบวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในหลักสูตร เก็บข้อมูล วิเคราะห์แปลผล และสามารถจบการศึกษาในหลักสูตร
จากการร่วมจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขา ADULT บังคลาเทศและเวียดนาม พบว่า เบื้องหลังของความสำเร็จนี้เกิดจากการร่วมมือร่วมใจกัน การอุทิศตนในการร่วมพัฒนาหลักสูตร และความทุ่มเทในการเรียนการสอน ดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดของคณาจารย์ในคณะฯ จนทำให้นักศึกษาสามารถเรียนจบได้ตามเกณฑ์สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในหน่วยงานของตนเองได้ ซึ่งการเตรียมอาจารย์ในหลักสูตร/คณะฯให้พร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การปรับตัวเมื่อไปสอนในสถานศึกษาต้นทาง อีกทั้งการเตรียมเอกสารประกอบการสอน อุปกรณ์การเรียนการสอนให้พร้อม มีความสำคัญมากในการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง "ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขา ADULT บังคลาเทศและเวียดนาม" ด้านการศึกษา เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรของภาควิชาฯ ในการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาต่างชาติที่มีความหลากหลายและท้าทาย โดยมีต้นแบบอาจารย์ผู้วางแผนและพัฒนาหลักสูตร ส่งผลให้ทางอาจารย์ในภาควิชาฯ ได้ทราบกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ตรงตามมาตรฐานภายใต้ข้อจำกัดหลายๆ ด้าน และดำเนินการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรได้ผ่านไปได้อย่างลุล่วง
@@@@@@@@@@@@@@
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนาภรณ์ คงคา
๒. รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉริยา พ่วงแก้ว
๓. รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินรัตน์ ศรีประสงค์
๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา เล็กดำรงกุล
๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิรา เรียงคำ
๖. อาจารย์ ดร.สืบสาน รักสกุลพิวัฒน์
๗. อาจารย์ ดร.ณัฎยา ประหา
๘. อาจารย์ปวิตรา จริยสกุลวงศ์
๙. อาจารย์ปิโยรส เกษตรกาลาม์
๑๐. อาจารย์ประพัฒน์สินี ประไพวงษ์
๑๑. อาจารย์เกวลิน พงษ์สุวรรณ
@@@@@@@@@@@@@@
ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สรุปการประเมินผลกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ ๒/ ๒๕๖๗
เรื่อง “ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
สาขา Adult บังคลาเทศและเวียดนาม”
โดย
รองศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒินพานิช
วัน พุธ ที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.
ณ ห้องประชุม ๙๐๑ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย
จำนวนอาจารย์ที่ประเมิน ๕ คน (จากผู้เข้าร่วมทั้งหมด ๑๑ คน)
คำถาม |
เห็นด้วยมากที่สุด |
เห็นด้วยมาก |
เห็นด้วยปานกลาง |
เห็นด้วยน้อย |
เห็นด้วยน้อยที่สุด |
|||||
จำนวน |
ร้อยละ |
จำนวน |
ร้อยละ |
จำนวน |
ร้อยละ |
จำนวน |
ร้อยละ |
จำนวน |
ร้อยละ |
|
๑. ท่านคิดว่าหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีความเหมาะสม |
๔ |
๘๐ |
๑ |
๒๐ |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
๒. ท่านมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม |
๔ |
๘๐ |
๑ |
๒๐ |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
๓. ท่านคิดว่าความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ |
๓ |
๖๐ |
๒ |
๔๐ |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
๔. ท่านได้รับประโยชน์จากกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ |
๓ |
๖๐ |
๒ |
๔๐ |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
๕. ท่านมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรม |
๔ |
๘๐ |
๑ |
๒๐ |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
๖. ท่านคิดว่าระยะเวลาในการจัดมีความเหมาะสม |
๔ |
๘๐ |
๑ |
๒๐ |
- |
- |
- |
- |
- |
- |
ข้อเสนอแนะ
..........................ไม่มี....................