ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรรยา ธัญญาดี ได้เล่าประสบการณ์การเก็บข้อมูลการวิจัยและปัญหาอุปสรรคที่พบ ดังนี้

อาจารย์ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง “ปัจจัยทำนายอาการซึมเศร้าและสุขภาพกายในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท (Predictors of depressive symptoms and physical health in caregivers of individuals with schizophrenia)”

 

กลุ่มตัวอย่าง ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 200 ราย สถานที่เก็บข้อมูล สถาบันจิตเวชศาสตร์ จำนวน 2 แห่ง (สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์) และศูนย์สุขภาพ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ที่มีคลินิคสุขภาพจิต จำนวน 6 แห่ง (วัดหงษ์รัตนาราม วัดธาตุทอง ดินแดง บางเขน สี่พระยา และบางซื่อ)

ปัญหาและอุปสรรคในการเดินทางไปเก็บข้อมูลที่บ้าน

พยาบาลที่ศูนย์ไม่ได้ออกเยี่ยมบ้านทุกวัน  และส่วนใหญ่เยี่ยมแค่ครึ่งวันเช้า จึงต้องเดินทางไปเก็บข้อมูลเองโดยไม่มีเจ้าหน้าที่ไปด้วยพยาบาลบอกที่อยู่ได้คร่าวๆ แบบชินเส้นทางหรือทำแผนที่ไม่ละเอียด  ทำให้ผู้วิจัยหาบ้านไม่พบ  พยาบาลไม่เคยไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยบางรายจึงบอกทางไม่ได้  ญาติไม่อยู่บ้าน ทำให้ต้องไปหลายครั้ง  

ผู้ป่วยและญาติย้ายที่อยู่ ติดต่อไม่ได้ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว ไม่ได้แจ้งทางศูนย์พยาบาลจำบ้านได้ตอนเดินผ่านแต่นึกชื่อผู้ป่วยไม่ได้  ทำให้ญาติปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลพยาบาลให้ชื่อผู้ป่วยที่อยู่บ้านใกล้กันทีหลังทำให้ต้องไปซอยนั้น 2 ครั้งญาติบางรายปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล 

  • ญาติส่วนใหญ่มีภาระในการดูแลสูง (high burden) โดยเฉพาะในด้านปัญหาทางการเงิน (financial Problem ) เนื่องจากมีฐานะทางการเงินไม่ดี รายได้น้อย
  • บางรายตกงาน มีภาระในการดูแลทั้งผู้ป่วยและญาติที่ป่วย ญาติบางรายมีอาการซึมเศร้า 
  • ญาติส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และมีปัญหาการเจ็บป่วยทางกาย  
  • ญาติบางรายวิตกกังวลเรื่องอาการป่วยทางกายของตนเอง ขอปรึกษาเรื่องอาการป่วยของญาติก่อน
  • ญาติบางรายดูแลผู้ป่วยทางจิตมากกว่า 1 คน 
  • บ้านญาติบางรายอยู่ในบริเวณที่มีการใช้ยาเสพติดมาก (red zone) ต้องมีเจ้าหน้าที่พาเข้าไปเท่านั้น  
  • ญาติและผู้ป่วยจำนวนมากแสดงอาการดีใจที่มีคนไปเยี่ยมบ้าน  
  • ญาติบางรายขอให้ช่วยปกปิดการป่วยของผู้ป่วย โดยขอความร่วมมือไม่ให้เจ้าหน้าที่ใส่เครื่องแบบเวลาไปเยี่ยมบ้าน  เพราะคนในหมู่บ้านไม่ทราบว่าผู้ป่วยมีการเจ็บป่วยทางจิต  ไม่ขึ้นทะเบียนผู้ป่วยเป็นผู้พิการ  ถ้าเพื่อนบ้านสงสัยก็จะบอกว่าทางศูนย์มาเยี่ยมญาติผู้ดูแล
  • ญาติบางรายปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลในช่วงแรก ต้องใช้เวลาในการอธิบายนานกว่าจะยินยอมให้ข้อมูล
  • ผู้ป่วยบางรายอาการทั่วไปดี  พูดคุยรู้เรื่องดี และรับประทานยาสม่ำเสมอ ทำงานได้  
  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงาน การดูแลตนเองไม่ดี ยังมีอาการหลงผิดและหรือหูแว่วบ้าง
  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานแต่ไม่สามารถทำงานได้ ต้องให้ญาติซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุทำงานเลี้ยงผู้ป่วยและมีรายได้น้อย
  •  สภาพที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยส่วนใหญ่สกปรก มีกลิ่นเหม็น ญาติมักแยกบริเวณให้ผู้ป่วยอยู่ต่างหาก

อาจารย์ ดร.ภาศิษฏา อ่อนดี   ได้เล่าประสบการณ์การเก็บข้อมูลการวิจัยและปัญหาอุปสรรคที่พบ ดังนี้

โดยอาจารย์ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง  Predicting Factors of Depression among Caregivers of Persons with Dementia กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ดูแลหลัก (Primary caregiver) ของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม จำนวน 226 คน

ณ คลินิกความจำ 3 แห่ง ได่แก่ โรงพยาบาลศิริราช  สถาบันประสาทวิทยา และสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

ปัญหาและอุปสรรคในการเก็บข้อมูล

  1. การเก็บข้อมูลจะเก็บที่คลินิกความจำ ขณะที่ผู้ดูแลพาผู้ป่วยมาพบแพทย์  ผู้ดูแลจะมีความวิตกกังวลกับผู้ป่วยอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมจะต้องได้รับดูแลอย่างใกล้ชิด บางรายมีอาการวุ่นวาย สับสน หงุดหงิด ไม่คุ้นเคยกับคนแปลกหน้า ผู้ดูแลอาจจะรู้สึกไม่สะดวกที่จะตอบแบบสอบถามขณะนั้น
  2. ผู้ดูแลมักจะกังวลว่าจะถึงคิวที่แพทย์จะเรียกเข้าตรวจ จะแก้ปัญหาโดย ให้ผู้ช่วยวิจัยติดต่อสอบถามคิวและคอยฟังเรียกชื่อผู้ป่วยเข้าตรวจแทน
  3. สถานที่ ตอบแบบสอบถาม คือ คลินิกความจำ ตั้งอยู่ที่ตึกผู้ป่วยนอก ใช้เป็นสถานที่ตรวจผู้ป่วย ซึ่งมีเสียงรบกวนและไม่มีห้องที่เป็นสัดส่วน ผู้ดูแลอาจจะถูกรบกวนสมาธิ  และผู้ดูแลจะเป็นห่วงผู้ป่วยในความดูแล จึงมักจะนั่งอยู่ใกล้ๆ ผู้ป่วย

อาจารย์ ดร.สุดารัตน์  เพียรชอบ ได้เล่าประสบการณ์การเก็บข้อมูลการวิจัยและปัญหาอุปสรรคที่พบ ดังนี้ อาจารย์ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยทำนายภาวะกดดันด้านจิตใจของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 

วัตถุประสงค์การทำวิจัย เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ของภาระการดูแล แหล่งสนับสนุนทางสังคม  ความรู้สึกการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การเผชิญความเครียด ที่มีผลต่อภาวะกดดันทางด้านจิตใจของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ตัวแปรที่ศึกษา  ภาระการดูแล แหล่งสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การเผชิญความเครียด และภาวะกดดันทางด้านจิตใจ

กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกโดยการเลือกแบบสะดวก (convenience sampling) จำนวน 204 คน โดยเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่รับบทบาทเป็นผู้ดูแลหลัก มีหน้าที่หรือได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ประจำ คือ การดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป ไม่ได้รับเงินหรือรางวัลเป็นสิ่งตอบแทน มีอายุมากกว่า 18 ปี สามารถเข้าใจภาษาไทย และเต็มใจเข้าร่วมในการศึกษา

สถานที่เก็บข้อมูลวิจัย และระยะเวลาการเก็บข้อมูลวิจัย ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่พาผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีธัญญา และโรงพยาบาลรามาธิบดี โดยใช้วิธีการตอบแบบสอบถามในช่วงระหว่างเดือน พฤษภาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2554 ( 8 เดือน)

การเก็บข้อมูลในผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

  • ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ส่วนใหญ่อาการของโรคสามารถควบคุมได้ และจะมาเอง ไม่มีญาติหรือผู้ดูแลมาด้วย 
  • กลุ่มตัวอย่างที่ตรงตาม inclusion criteria จะมีวันละประมาณ 1 -2 คน และในบางวันไม่มีกลุ่มตัวอย่างที่ตรงตาม inclusion criteria (ให้การดูแลผู้ป่วยอย่างน้อย 6 เดือน และยินดีให้ความร่วมมือในการวิจัย)
  • ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้มีจำนวนข้อคำถามทั้งหมดประมาณ 150 ข้อ ซึ่งมีจำนวนค่อนข้างมาก

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการเก็บข้อมูลกับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 

การเก็บข้อมูลในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวพอสมควร เพราะฉะนั้นควรมีเผื่อระยะเวลาในการเก็บข้อมูล และขนาดกลุ่มตัวอย่างไม่ควรใหญ่มาก

การนำความรู้ จากกิจกรรม KM ไปประยุกต์ใช้ ความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนนักศึกษาโดยการยกตัวอย่างผู้ป่วย การบริการวิชาการผู้ป่วยในชุมชน เป็นต้น

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อติรัตน์วัฒนไพลิน

2.รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราพร         สี่หิรัญวงศ์

3.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรรยาธัญญาดี

4.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร ว่องสิริมาศ

5.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ้งนภา ผาณิตรัตน์

6.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิริลักษณ์ เวชการวิทยา

7.อาจารย์ ดร.ภาศิษฏา         อ่อนดี

8.อาจารย์ ดร.วไลลักษณ์         พุ่มพวง

9.อาจารย์ ดร.วิมลนันท์         พุฒิวณิชพงศ์

10.อาจารย์ ดร.สุดารัตน์         เพียรชอบ

11.อาจารย์ ดร.อทิตยา         พรชัยเกตุ  โอว ยอง

12.อาจารย์สาธกา        พิมพ์รุณ

13.อาจารย์กลิ่นชบา         สุวรรณรงค์

14.อาจารย์ฐินีรัตน์         ถาวร

 


กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ เรื่อง ถอดบทเรียนจากการเก็บข้อมูลการวิจัยในญาติผู้ดูแล: การศึกษาปัญหาของญาติในการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท โรคสมองเสื่อม และโรคซึมเศร้า 

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2558 เวลา 12.00 – 13.00 น.

ณ ห้อง 1103/1-2 อาคารพระศรีพัชรินทร์  คณะพยาบาลศาสตร์  บางกอกน้อย

วิทยากร: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรรยา ธัญญาดี และคณะ

ผู้ลิขิต: อาจารย์กลิ่นชบา สุวรรณรงค์ 

 


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1322545