• MUQF2023-Slide1.PNG
  • MUQF2023-Slide2.PNG
  • MUQF2023-Slide3.PNG

จากการศึกษาของนักวิจัย ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ต่างมีข้อมูลสนับสนุนให้เห็นถึงอัตราการเสียชีวิตและความเสี่ยงของคนในช่วงวัยต่างๆ ตัวอย่างเช่น อัตราการตายของประชากรในสหรับอเมริกาจากโรคหัวใจ ในป  1900-2006 (ที่มา NCHC และ NHLBL) ได้แสดงให้เห็นแนวโน้มอัตราการตายที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ อัตราการเจ็บป่วยจากโรคหัวใจของเพศชายและเพสหญิงของประชากรในสหรัฐอเมริกา ในปี 1979-2006 แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มอัตราการเจ็บป่วยในเพศหญิงมีแนวโน้มสูงขึ้น แตกต่างจากเพศชายที่มีแนวโน้มที่ลดลง

และอัตราความชุกของการเป็นโรคหัวใจในวัยผู้ใหญ่ อายุ 20 ปีขึ้นไป จำแนกตามอายุและเพศ ระหว่างปี 2003-2006 แสดงให้เห็นว่าประชากรในวัยสูงอายุในกลุ่มอายุ 60-79 ปี และอายุ 80 ปีขึ้นไป มีอัตราการป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในเพสชายและเพศหญิ

นอกจากนี้ ความชุกของโรคหลอดเลือดสมองจำแนกตามเพศ จะพบว่า ในวัยผู้สูงอายุในเพศชาย อายุตั้งแต่ 60-79 ปี มีอัตราการป่วยมากกว่าเพศหญิง เมื่อพิจารณาความชุกของความดันโลหิตสูงในวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำแนกตามเพศและอายุ ในปี 2003-2006 พบว่า กลุ่มที่มีอายุมากขึ้นจะมีความชุกของโรคมากขึ้นในกลุ่มอายุ ทั้งเพศชายและเพศหญิง สำหรับความชุกของภาวะหัวใจล้มเหลว จำแนกตามอายุและเพศพบว่า ในกลุ่มผู้สูงอายุจะพบมากทั้งเพศชายและเพศหญิง จากตารางข้อมูลอัตราการตายจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง และในภาพรวมตามอัตราการตายจากโรคหัวใจก็มีมากกว่าด้วย

นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วีนัส ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจแสดงอัตราเสี่ยงต่อหัวใจจำแนกตามอายุ ซึ่งจำแนกตามระดับของปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของ Framing Heart ของ “wilson, 1998 จะพบว่า แบ่งปัจจัยเสี่ยงของคนในกลุ่มต่างๆได้ ดังนี้

 

กลุ่ม

A

B

C

D

Blood Pressure (mm Hg)

120/80

140/90

140/90

140/90

Total Cholesterol (mm Hg)

200

240

240

240

HDL Cholesterol (mm Hg)

50

50

40

40

Diabetes

NO

NO

YES

YES

Cigarettes

NO

NO

NO

YES

จากสถิติที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นที่มาว่า และเราควรปฏิบัติตัวอย่าง หรือดุแลคนใกล้ชิดอย่างไรให้เหมาะสมดังนี้

รองศาสตราจารย์ ดร.วีนัส แนะนำให้ลดการกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเรสเตอรอลสูง ได้แก่  ไขมันที่มีมากกว่า 30 % ของพลังงานทั้งหมด ไขมันอิ่มตัวที่มีมากกว่า 10 % ของพลังงานทั้งหมด คอเรสเตอรอล มากกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งถามว่าเราต้องกินอาหารไขมันเท่าไหร่จึงจะพอดี รองศาสตราจารย์ ดร.วีนัส แนะนำให้กินอาหารไขมันที่เราสามารถมองเห็นได้ เช่น ไขมัน น้ำมันได้ โดยให้บริโภคไขมันไม่อิ่มตัว ประมาณ 1 ?- 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน ยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง รำข้าว ข้าวโพด มะกอก ยกเว้นน้ำมันมะพร้าว และปาล์ม

สำหรับคอเรสเตอรอลในอาหาร ต้องระมัดระวังในการกินอาหารที่มีคอเรสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์  กินไข่ 1 ฟองต่อวัน และสัดส่วนการกินอาหารที่เหมาะสม มีดังนี้

1.ข้าวแป้ง ถ่วต่างๆ ให้พลังงานใยอาหาร วิตามิน/เกลือแร่ ข้าว 6 ทัพพี (3 ถ้วยตวง)/ วัน ถั่ว1/2 ถ้วยตวง/ วัน
2.นม โยเกิร์ต/ โยเกิร์ต 1-2 ถ้วยตวง/วัน ซึ่งมีแคลเซียม 1,200-1,500 มิลลิกรัม/วัน
3.ปลา ไก่ เนื้อ ไข่ ถั่วเมล้ดแห้งต่างๆวันละ 36 ส่วนเนื้อสัตว์ 6-12 ช้อนโต๊ะ (ปลา มีไขมันต่ำ มีโอเมก้า3 หรือน้ำมันปลา สามารถลดไขมันในเลือดได้
4.เนื้อสัตว์ วันละ 6 ช้อนกินข้าว
5.เพิ่มการรับประทานอาหารประเภทผักใบเหลือง/เขียว ผัก 5 ทัพพี/วัน ให้วิตามิน และเกลือแร่ ใยอาหาร
6.ลดอาหารเค็ม/ เกลือสูง และน้ำตาลทราย

นอกจากการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพแล้ว ยังต้องมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับอายุด้วย ข้อดีของการออกกำลังกาย คือ

1.ช่วยให้กระดูกแข็งแรง
2.ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยจากโรคความดันโลหิต เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
3.ช่วยให้มีความมั่นใจและปรับปรุงด้านร่างกายทุกส่วน
4.ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โดยเฉลี่ยร้อยละ 50 ซึ่งป้งกันโรคเบาหวานและโรคอ้วน
5.ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉลี่ยร้อยละ 30
6.ช่วยปรับปรุงร่างกายให้สมดุลและคล่องตัว
7.สำหรับผู้สูงอายุ การหกล้มคือสาเหตุหนึ่งของการพิการ ซึ่งไทชิก็ไปการออกกำลังกายประเภทหนึ่งที่ป้องกันการหกล้มได้

สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้ นับเป็นโอกาสดีที่ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มผู้ที่มีความสนใจร่วมกันอย่างแท้เจริง หวังว่าในดอกาสต่อไปจะมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์เพิ่มเติมต่อไป


 

รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1.นางนภัสสร  ลาภณรงค์ชัย
2.นางสาวดารานิตย์ กิ่งวัน
3.นายภราดร  รังโคกสูง
4.นางสาวกรุณา คุ้มพร้อม
5.รองศาสตราจารย์ดร.วีนัส ลีฬหกุล
6.รองศาสตราจารย์วิไลวรรณ ทองเจริญ
7.รองศาสตราจารย์ถนอมขวัญ ทวีบูรณ์
8.รองศาสตราจารย์สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา
9.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.นารีรัตน์ จิตรมนตรี
10.รองศาสตราจารย์ปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน
11.รองศาสตราจารย์พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร
12.รองศาสตราจารย์ลิวรรณ อุนนาภิรักษ์
13.ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์
14.รองศาสตราจารย์สมจินต์ เพชรพันธุ์ศรี
15.นางสาวศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร  (เรียบเรียง)


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Show Case Best Practice 2564

Show Case Best Practice 2565

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1330287