การรู้คิดของผู้ป่วยมีโอกาสเปลี่ยนแปลงเสื่อมลงเนื่องจากภาวะของโรค การบาดเจ็บ ความไม่สมดุลของอิเล็คโตรลัยท์ในร่างกาย ฯลฯ หรือด้วยปัจจัยพื้นฐานของผู้ป่วยเองเช่นอายุ และพันธุกรรม เมื่อผู้ป่วยเกิดปัญหาด้านCognitive function ต้องรีบทำการบำบัดรักษา เพราะฟื้นตัวได้ดีในผู้ป่วยที่สมองเสื่อมเล็กน้อยถึงปานกลาง ถ้าปล่อยให้เป็นมากจะไม่ได้ผล

 

รศ.ดร.เกศรินทร์ อุทริยประสิทธิ์  ให้ความรู้เรื่อง Cognitive Functionว่าเป็นกระบวนการด้านศักยภาพการเรียน และเรียนรู้ข้อมูลใหม่ที่เข้ามากล่าวคือเมื่อมี sensory input เข้ามา จะถูก transformed, reduced, เก็บอย่างเป็นระเบียบ (elaborated and stored), recovered and used จึงมีความเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลใหม่ๆที่เข้ามาในสมอง, recognize familiar objects and recollect past experience, solve problems, think abstractly, and make judgements โดยมี Cerebral coetex เป็นศูนย์รวมของความคิด ความฉลาด การเคลื่อนไหวและรับความรู้สึกที่อยู่ใต้อำนาจของจิตใจ ตลอดจนการพูดและการจำ และยังมีการเชื่อมโยงกับสมองส่วนที่ลึกลงไปอีก โดยมีส่วนสำคัญคือ

  1. Frontal lobe : มีหน้าที่วางแผน แก้ปัญหา การใช้สติปัญญาคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจและแสดงอารมณ์ การทำหน้าที่ในส่วน short term working memory โดย Prefrontal association area ทำงานเชื่อมโยงกับ Motor cortex วางแผนและปฏิบัติการเคลื่อนไหวที่มีความซับซ้อนต่างๆ ซึ่งได้รับสัญญาณจาก sensory receptors ที่ กล้ามเนื้อ ข้อ ผิวหนัง Vestibular system มาประกอบ เพื่อดึงข้อมูล ดำเนินการ คิด วิเคราะห์ความคิดใหม่ๆที่เข้ามาในสมองและปฏิบัติการเคลื่อนไหวตามที่ต้องการ นอกจากนั้นมี Broca’s area (motor speech area) ที่มีวงจรประสาทสำหรับสร้างคำพูดต่างๆ (language production and comprehension) และทำหน้าที่ตีความท่าทางต่างๆ  (interpreting action of others) เมื่อเกิดปัญหาจะมีภาวะExpressive aphasia  or Broca's aphasia(individuals who know "what they want to say, they just cannot get it out) ผู้ป่วยรู้ว่าต้องการพูดอะไร แต่ไม่สามารถพูดออกมาได้

  2. Temporal lobe: รวบรวมและตีความ ข้อมูลด้าน somatic visual & auditory เป็นการระลึกถึงเรื่องราวที่คุ้นเคย  ซึ่ง Medial temporal lobe มีความสำคัญคือ เป็นที่สำหรับเก็บความทรงจำต่างๆ และมี Wernike’s area (sensory speech area) ซึ่งทำหน้าที่ด้าน language comprehension ถ้ามีความบกพร่องส่วนนี้ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน เกิด receptive and fluent aphasiaสามารถพูดคล่องแต่ฟังแล้วไม่รู้เรื่อง

  3. Parietal lobeรวบรวมและประมวลข้อมูลด้าน sensory (visual, tactile, auditory) เป็น sensory experience เข้าสู่ cognition experience เป็นตัวประสานเรื่องการกะระยะทาง โดยประมวลข้อมูลจากการมองเห็น บวกกับประสบการณ์ เสียงและความรู้สึก ซึ่งมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน

  4. Limbic system ควบคุม emotional behavior อารมณ์ คุณธรรมประกอบด้วย organ ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงกันอยู่ โดยมีHippocampus เป็นตัวหลัก organ ดังกล่าวได้แก่ Cingurategyrus, Parahippocampalgyrus, Hippocampus และส่งข้อมูลไปยัง Subcortical structure (Thalamus, Hypothalamus, Amygdala)

    Cingurategyrusจะเชื่อม Hippocampus กับHypothalamus เป็นการเชื่อมโยงของ higher และ lower brain center กับระบบLimbic เพื่อเชื่อมความคิด และ autonomic nervous system ที่ตอบสนองต่ออารมณ์

    มีการแปลงข้อมูลที่เข้ามาเป็นรหัส (encoding)และรวบรวมไว้ ตลอดจนดึง memory เก่าๆเอามาโดยHippocampus แปลงข้อมูลจาก short term memory ให้เป็น long term memory ดังนั้นผู้สูงอายุที่จำได้เฉพาะเรื่องราวในอดีต และสิ่งที่คุ้นเคย อาจเกิดจากส่วนนี้บกพร่องไปจึงไม่สามารถแปลงข้อมูลใหม่ๆที่ได้รับไปเก็บเป็นความจำระยะยาวได้ จึงมีความเกี่ยวข้องกับโรคความจำเสื่อม เช่น Alzheimer ด้วย

  5. Occipital lobe รับ visual information จากตา และตีความเกี่ยวกับ visual experience , depth perception , location of space

Association area:  Parieto-occipitotemporal association area ครอบคลุม Somato sensory cortex, visual cortex, auditory cortex ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ตำแหน่งของร่างกายและ ความสัมพันธ์ของร่างกายกับสิ่งรอบตัว ที่สำคัญคือทำหน้าที่หลักของ การเข้าใจภาษา,visual language (reading) และ การบอกชื่อสิ่งต่างๆ

สรุปกระบวนการรู้คิด

Sensory information -----> Thalamus -----> Somatosensory cortex & Prefrontal association area -----> Hypothalamus….distribute information to……[anterior thalamus, hypothalamus, limbic system]

-----> Hypothalamus group ข้อมูลเพื่อ memory encoding, convert short term to long term memory

-----> Hypothalamus: ดึงและประมวลข้อมูลจากmemory และ sensory in put เพื่อการตัดสินใจ

บทบาทของ Neurotransmitter

Neurotransmitter ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกและดึงข้อมูลมาใช้ ได้แก่ Acetylcholine ,นอกจากนั้นมี neuropeptide ตัวอื่นๆที่มีความสำคัญ เช่น Orexin A, Endogeneous opioid peptide  รวมถึง GI hormone เมื่อCholecystokinin ที่หลั่งออกมาแล้วไปกระตุ้นให้ fundus ของกระเพาะอาหารฆ,.Ghrelin hormone ออกมา ซึ่งสันนิษฐานว่าฮอร์โมนตัวนี้ช่วยส่งเสริมความจำได้

อ.ฐิติพงษ์ ตันคำปวน ให้ความรู้ในประเด็นของการเกิด Cognitive impairment และการประเมินCognitive ซึ่งสรุปได้ว่ามีโอกาสพบปัญหานี้ได้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั่วไป เช่น chronic hypertension brain tumor ฯลฯ ตลอดจนไปถึง ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ โดยมีปัจจัยเรื่อง IQ มามีความสัมพันธ์กับการรู้คิดด้วย

เครื่องมือประเมินในประเทศไทยที่นิยมใช้กันแพร่หลายคือThai Mental Stage Examination(TMSE)ซึ่งมี 30 ข้อ ใช้วัดความจำในปัจจุบัน (orientation), registration, attention,calculation, recall memory และ language นอกจากนั้น มีแบบวัดที่น่าสนใจอีก คือ Montreal Cognitive Assessment (MOCA) เป็นแบบวัดมาตรฐานซึ่งใช้กันในหลายๆประเทศ รศ. ดร. เกศรินทร์ อุทริยปะสิทธิ์และผศ.ดร.วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลว่า ในประเทศสิงคโปร์ ที่ Neuroscience institute และโรงพยาบาลที่นั่นใช้ประเมินผู้ป่วยทางระบบประสาทสมองทุกรายที่รับไว้ในการดูแลเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการดูแลรักษา และติดตามความก้าวหน้า อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับ TMSE แล้ว แบบประเมินMOCA จะมีความยากกว่าเพราะสามารถวัด Executive function ได้เลย ในด้าน visuospatial , naming, memory, attention, language, abstraction, delay recall and orientation(เอกสารแนบ) ซึ่งอ.ฐิติพงษ์ให้ข้อคิดเห็นว่า เมื่อนำไปใช้กับผู้ป่วยในงานวิจัยและในหอผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยผ่านเกณฑ์ ซึ่งแสดงถึงการมีปัญหาของการรู้คิดและผู้ป่วยรู้สึกว่ายากมาก อย่างไรก็ตามอาจารย์หลายๆท่านได้ให้ความสนใจ และแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางว่าน่าจะได้มีการนำไปเผยแพร่ให้พยาบาล นักศึกษาพยาบาลได้เรียนรู้และกระตุ้นให้เอาใจใส่ในเรื่องการประเมิน Cognitive  เพราะสามารถเกิดประโยชน์ต่อตนเอง คนใกล้ชิด ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีปัญหานี้ปรากฏ และน่าจะทำวิจัยในประเด็นเหล่านี้ให้มากขึ้น สำหรับแบบประเมินนั้น MOCA จะมีความละเอียดและมีความแพร่หลายมากกว่าถ้าต้องตีพิมพ์ต่างประเทศสำหรับงานวิจัย

PDF Download


ผู้บรรยาย: รศ.ดร.เกศรินทร์ อุทริยประสิทธิ์ และ อ.ฐิติพงษ์ คำปวน

ผู้บันทึก: ผศ.ดร.วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์

 


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1468978