กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เรื่อง ชอบหรือไม่..โดนใจ (นศ.) หรือเปล่ากับ 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี”

จัดโดย คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วัน พุธ ที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๘ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.

ณ ห้องประชุม ๙๐๑ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย

 อาจารย์ ดร. สิริกาญจน์ หาญรบ วิทยากร

อาจารย์ ดร. ปวิตรา จริยสกุลวงศ์ ผู้ลิขิต

 

*******************************************************

คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) โดยภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “ชอบหรือไม่..โดนใจหรือเปล่ากับ 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี เมื่อวันพุธที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๘ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๙๐๑ คณะพยาบาลศาสตร์ (บางกอกน้อย) โดยมีอาจารย์ ดร.สิริกาญจน์ หาญรบ เป็นวิทยากร และมีคณาจารย์จากภาควิชาฯ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๑๓ คน

          ปีการศึกษา ๒๕๖๗ เป็นปีที่รายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ซึ่งรับผิดชอบโดยภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ได้มีการปรับรายวิชาตามหลักสูตรใหม่ เป็นรายวิชาทฤษฏีที่ประกอบด้วยการเรียนภาคบรรยายที่ถูกปรับให้จำนวนชั่วโมงสอนลดลง และมีการเรียนการสอนที่เป็นชั่วโมงในการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจากการปรับเปลี่ยนทำให้ต้องมีการออกแบบรูปแบบการสอนใหม่โดยรูปแบบการสอนของรายวิชาในส่วนของการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเกือบร้อยละ ๗๐ เป็นลักษณะของ Case Based Learning (CBL)

          อาจารย์ ดร.สิริกาญจน์ หาญรบ ได้นำเสนอผลการประเมินของนักศึกษาภายหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CBL พบว่านักศึกษามีการประเมินในประเด็นเกี่ยวกับเนื้อหาที่สอนในภาคทฤษฎีกับกรณีศึกษา จำนวนปริมาณกรณีศึกษา ลำดับขั้นตอนในศึกษากรณีศึกษา การแบ่งจำนวนนักศึกษาในแต่ละกลุ่ม การมีอาจารย์ประจำกลุ่ม ขนาดกลุ่ม ความน่าสนใจในการสอน โดยส่วนใหญ่นักศึกษาความชื่นชอบในรูปแบบการสอนที่มีกรณีศึกษาหรือเคสตัวอย่าง และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายวิชา เช่น

          “ชอบเทคนิคการสอนที่ให้ทำเคสมากเลย รู้สึกว่าฝึกทำ ฝึกคิดไปในตัว

          “ได้คิดเอง วิเคราะห์เอง เหมือนเข้าใจมากขึ้น

          “CBL ไม่ได้แค่ให้จำ แต่ให้คิด ช่วยให้เชื่อมโยงเรื่องยากๆ ให้จับต้องได้มากขึ้น

          “หากเป็นไปได้อยากให้เพิ่มเวลาในส่วนของการทำเคสที่มากขึ้นค่ะ

       “แนะนำอาจารย์ปรับลดเวลาในการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ เช่น คุยวิเคราะห์ ๒๐-๓๐ นาที นำเสนอ ๓๐-๕๐ นาที และอาจารย์สรุปแต่ละเคส ๑๐-๒๐ นาที

          “ดีที่ได้ทำงานเป็นทีม รู้จักเพื่อนใหม่ ฝึกสื่อสาร และได้ฟังมุมมองจากคนอื่นที่เราคิดไม่ถึง

นอกจากนี้นักศึกษายังมีข้อเสนอแนะให้มีการฝึกปฏิบัติทักษะที่ต้องใช้ในการดูแลผู้ป่วย เช่น การทำแผลเจาะคอ การเปลี่ยนเชือก การดูดเสมหะ อย่างไรก็ตามยังมีนักศึกษาบางส่วนมีความต้องการให้เพิ่มเวลาในการบรรยายมากขึ้น ซึ่งยังเป็นประเด็นที่ทางวิชาต้องทำความเข้าใจกับนักศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนแบบใหม่ที่ต้องการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้นโดยมีอาจารย์เป็นผู้สนับสนุนแหล่งการเรียนรู้มากกว่าเป็นผู้บรรยาย

จากผลการประเมินทำให้หัวหน้าวิชาได้มีการวางแผนการจัดการสอนในปีการศึกษาหน้าโดยเน้นให้การจัดการเรียนรู้แบบ CBL สามารถเชื่อมโยงไปใช้ได้จริงมากขึ้นในวิชาปฏิบัติ ความน่าดึงดูดในการเรียนรู้ เช่น การใช้เกมส์เข้ามาเป็นส่วนร่วม และวิทยากรได้นำเสนอ ๗ วิธีที่ทำให้ CBL น่าเรียนและโดนใจนักศึกษาดังนี้

๑.  ใช้เคสที่ ตรงใจ และใกล้ตัว คือ การเลือกใช้กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์จริง เช่น เคสจากวอร์ดที่นักศึกษาเคยพบ หรือใช้เคสที่สอดคล้องกับประเด็นสังคม เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

๒. ใช้สื่อหลากหลาย เช่น วิดิทัศน์ ภาพ เสียง โดยอาจมีการเปิดวิดิทัศน์ผู้ป่วยจำลอง หรือภาพจำลองทางคลินิกเพื่อกระตุ้นการสังเกต เสียงสัมภาษณ์ผู้ป่วยเพื่อเพิ่มความรู้สึกการเข้าไปอยู่ในสถานการณ์

๓.  แบ่งกลุ่มเล็ก พร้อมบทบาทสมมติ เพื่อให้นักศึกษามีบทบาท เช่น พยาบาล ญาติ ผู้ป่วย อาจารย์พี่เลี้ยง ซึ่งจะช่วยฝึกมุมมองที่หลากหลายและกระตุ้นการมีส่วนร่วม

๔.  ใส่คำถามชี้นำแบบ “ท้าทาย แต่ไม่ตีบตัน” ใช้คำถามที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ เลี่ยงคำถามปลายปิด เช่น “ถ้าคุณเป็นพยาบาลประจำหอผู้ป่วย จะเริ่มดูแลผู้ป่วยรายนี้อย่างไร”

๕. มีโครงสร้างชัดเจน โดยเริ่มจากวิเคราะห์เคส หาข้อมูล วางแผน และสรุป และต้องมี Rubric และแนวทางที่ชัดเจนให้ผู้เรียนเข้าใจว่าต้องทำอะไร

๖. จำกัดเวลา ทำให้กระชับและมีจังหวะ การวิเคราะห์เคสต้องไม่ยาวเกินไปจนน่าเบื่อ อาจใช้กิจกรรมแข่งวิเคราะห์ จำกัดเวลา แล้วให้นำเสนอ

๗. อาจารย์สรุปและสะท้อนหลังจบเคส ภายหลังอภิปรายต้องมีการอธิบายสิ่งที่ถูกต้อง ชี้จุดเด่น และจุดที่ต้องปรับปรุง เพื่อป้องกันความเข้าใจคลาดเคลื่อนและเสริมความมั่นใจให้นักศึกษา

CBL เป็นการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบของนักศึกษาในการเตรียมความรู้ล่วงหน้าเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์และเรียนรู้เคส และอาจารย์ต้องมีการพัฒนาเคสและรูปแบบให้มีความชัดเจนนำไปใช้ได้จริงเพื่อให้การเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “ชอบหรือไม่..โดนใจ (นศ.) หรือเปล่ากับ 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี” ด้านการศึกษา เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาถัดไปเพื่อสนับสนุนความต้องการในการเรียนรู้ของนักศึกษาและพัฒนารูปแบบการสอนของอาจารย์

@@@@@@@@@@@@@@

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

๑.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา โฆสิตะมงคล

๒.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จงกลวรรณ มุสิกทอง

๓.      รองศาสตราจารย์ พรรณิภา บุญเทียร

๔.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วารุณี พลิกบัว

๕.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา เล็กดำรงกุล

๖.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิรา เรียงคำ

๗.      อาจารย์ ดร.วราภรณ์ พานิชปฐม

๘.      อาจารย์ ดร.สืบสาน รักสกุลพิวัฒน์

๙.      อาจารย์ ดร.ณัฎยา ประหา

๑๐.  อาจารย์ ดร.ปวิตรา จริยสกุลวงศ์

๑๑.  อาจารย์ ดร.ประพัฒน์สินี ประไพวงษ์

๑๒.  อาจารย์ปิโยรส เกษตรกาลาม์

๑๓.  อาจารย์เกวลิน พงษ์สุวรรณ

 

@@@@@@@@@@@@@@

ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สรุปการประเมินผลกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ ๒/ ๒๕๖๘

เรื่อง “ชอบหรือไม่..โดนใจ (นศ.) หรือเปล่ากับ 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี”

โดย

อาจารย์ ดร.สิริกาญจน์ หาญรบ

วัน พุธ ที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๘ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.

ณ ห้องประชุม ๙๐๑ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย

 

จำนวนอาจารย์ที่ประเมิน ๘ คน (จากผู้เข้าร่วมทั้งหมด ๑๓ คน)

 

คำถาม

เห็นด้วยมากที่สุด

เห็นด้วยมาก

เห็นด้วยปานกลาง

เห็นด้วยน้อย

เห็นด้วยน้อยที่สุด

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

๑. ท่านคิดว่าหัวข้อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีความเหมาะสม

๑๐๐

-

-

-

-

-

-

-

-

๒. ท่านมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม

๑๐๐

-

-

-

-

-

-

-

-

. ท่านคิดว่าความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สามารถนำไปใช้ประโยชน์

๘๗.๕

-

-

๑๒.๕

-

-

-

-

. ท่านได้รับประโยชน์จากกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้

๘๗.๕

-

-

๑๒.๕

-

-

-

-

. ท่านมีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรม

๘๗.๕

๑๒.๕

-

-

-

-

-

-

. ท่านคิดว่าระยะเวลาในการจัดมีความเหมาะสม

๗๕

๒๕

-

-

-

-

-

-

ข้อเสนอแนะ

-            

 

 

 

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เรื่อง "รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วย 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี"

จัดโดย คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันพุธที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๘ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น.

ณ ห้องประชุม ๗๑๘ คณะพยาบาลศาสตร์ (บางกอกน้อย)

อ.ดร.สิริกาญจน์ หาญรบ วิทยากร

อาจารย์ปิโยรส เกษตรกาลาม์ ผู้ลิขิต

*******************************************************

          คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) โดยภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อเรื่อง "รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วย 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี"  เมื่อวันพุธที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๘ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๗๑๘ คณะพยาบาลศาสตร์ (บางกอกน้อย) โดยมี อ.ดร.สิริกาญจน์ หาญรบ เป็นวิทยากร และมีคณาจารย์จากภาควิชาฯ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๑๓ คน

ในรายวิชาทฤษฎีของภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ได้มีการนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วย 'Case Based Learning' มาใช้ในหลายหัวข้อ โดยมีรูปแบบดังนี้

- กรณีศึกษา มีการแจกกรณีศึกษาและคำถามให้นักศึกษาได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเองล่วงหน้า แล้วมานำเสนอและอภิปรายในห้องเรียนร่วมกันอีกครั้ง หรือบางหัวข้อมอบหมายกรณีศึกษาให้ในห้องเรียนหลังจบการบรรยาย แล้วอภิปรายในห้องเรียนร่วมกัน โดยมีอาจารย์คอยถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิดและได้เรียนรู้ร่วมกันในประเด็นการวิเคราะห์ปัญหาทางการพยาบาล ข้อมูลสนับสนุน การวางแผนการพยาบาล และวางแผนจำหน่ายกลับบบ้านพร้อมแหตุผลประกอบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ โดยจะมีการแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นกลุ่มย่อยตั้งแต่ ๒ -๖ กลุ่ม ตามความเหมาะสม หลังจากนั้นจะมีการสรุปประเด็นสำคัญอีกครั้งเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น โดยอาจารย์ที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักในหัวข้อนั้น ๆ จะมีเอกสารคู่มือครูให้อาจารย์ผู้ร่วมสอนเพื่อให้การเรียนการสอนไปในทิศทางเดียวกันและเกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนสูงสุด

- เกมส์ มีการส่งเอกสารการเรียนให้แก่นักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องเรียน โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อช่วยกันวิเคราะห์และตอบคำถามในห้องเรียน โดยระหว่างการบรรยาย จะมีการสอดแทรกคำถามโดยมีสถานการณ์ต่าง ๆ ผ่านเกมส์เพื่อให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์เป็นระยะตลอดชั่วโมงการเรียน

          ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนการสอนด้วย 'Case Based Learning' คือ นักศึกษาสามารถเข้าใจ วิเคราะห์กรณีศึกษา ร่วมกับการประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีที่เรียนมาให้เหมะสมแต่ตรงประเด็นในแต่ละกรณีศึกษา สามารถนำความรู้ที่ได้ร่วมอภิปรายในห้องเรียนไปใช้ในการสอบข้อเขียน และประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยบนหอผู้ป่วยในวิชาภาคปฏิบัติได้มั่นใจมากขึ้น

ประเด็นปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ 'Case Based Learning' มีดังนี้ การเตรียมตัวการเข้าเรียนที่ยังไม่เพียงพอของนักศึกษาทำให้ยังไม่เข้าใจ วิเคราะห์และจับประเด็นสำคัญไม่ได้ครบถ้วน ซึ่งจะต่างจากกลุ่มหลังที่มีการสั่งสมประสบการณ์จากการขึ้นฝึกปฏิบัติในรายวิชาอื่นมา ทำให้นักศึกษาจับประเด็นสำคัญได้ครอบคลุมและเรียนรู้ได้ต่อเนื่องมากขึ้น อีกทั้งนักศึกษาบางกลุ่มยังไม่สามารถประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีนำมาใช้ให้เหมาะสมกับกรณีศึกษาที่มีความเฉพาะในบริบท และยังจับประเด็นที่สำคัญที่สุดเพื่อมาอภิปรายไม่ได้ ส่งผลให้การอภิปรายยังเป็นประเด็นทั่วไปไม่ใช่ประเด็นที่สำคัญที่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน ด้วยนักศึกษากังวลว่าจะไม่ครอบคลุมในสิ่งที่อาจารย์กำหนด

ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วย 'Case Based Learning' ในรายวิชาทฤษฎี" ด้านการศึกษา และด้านวิจัย คือ การจัดการเรียนการสอนด้วย “Case Based Learning” ในรายวิชาทฤษฎี จัดทำขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหาทางทฤษฎีมากขึ้น โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย สามารถเลือกประเด็นสำคัญๆ เพื่อร่วมวางแผนให้การพยาบาลอย่างเร่งด่วน อีกทั้งยังสามารถวางแผนการจำหน่ายได้ตรงประเด็น และครอบคลุม ส่งผลให้นักศึกษามีความมั่นใจและให้การดูแลผู้ป่วยบนหอผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ และสามารถต่อยอดไปสู่งานวิจัยทางการศึกษาได้

 

@@@@@@@@@@@@@@

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

๑.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนาภรณ์ คงคา

๒.      รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉริยา พ่วงแก้ว

๓.      รองศาสตราจารย์ พรรณิภา บุญเทียร

๔.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา โฆสิตะมงคล

๕.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา เล็กดำรงกุล

๖.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิรา เรียงคำ

๗.      อาจารย์ ดร.วราภรณ์ พานิชปฐม

๘.      อาจารย์ ดร.สืบสาน รักสกุลพิวัฒน์

๙.      อาจารย์ ดร.ณัฎยา ประหา

๑๐.  อาจารย์ปวิตรา จริยสกุลวงศ์

๑๑.  อาจารย์ปิโยรส เกษตรกาลาม์

๑๒.  อาจารย์เกวลิน พงษ์สุวรรณ

๑๓.  อาจารย์พฤกษา จันทร์ผ่องศรี

กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เรื่อง "ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

สาขา ADULT บังคลาเทศและเวียดนาม"

จัดโดย คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันพุธที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ ๑๓.๓๐ น.

ณ ห้องประชุม ๗๑๘ คณะพยาบาลศาสตร์ (บางกอกน้อย)

รองศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช วิทยากร

อาจารย์ปิโยรส เกษตรกาลาม์ ผู้ลิขิต

 

******************************************************* 

          คณะกรรมการจัดการความรู้ (KM) โดยภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อเรื่อง "ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขา ADULT บังคลาเทศและเวียดนาม"  เมื่อวันพุธที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๗๑๘ คณะพยาบาลศาสตร์ (บางกอกน้อย) โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช เป็นวิทยากร และมีคณาจารย์จากภาควิชาฯ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน ๑๑ คน

          การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขา ADULT บังคลาเทศและเวียดนามที่ทางภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์และการพยาบาลศัลยศาสตร์ร่วมมือกันในการจัดการวางโครงร่างหลักสูตรเป็นสิ่งใหม่ที่ท้าทายทางคณาจารย์อย่างมาก ในปีแรกของหลักสูตร ทางคณะฯได้รับนักศึกษาชาวบังคลาเทศที่เดินทางมาศึกษาที่ประเทศไทย แต่ด้วยข้อจำกัดของการเก็บข้อมูล และเป้าหมายคือต้องการให้นักศึกษาได้ความรู้และจบการเรียนตามเกณฑ์ ทางหลักสูตรจึงได้จัดทำแผน ข (สารนิพนธ์) ให้แก่นักศึกษา ทำให้ปีแรกประสบความสำเร็จด้วยดี

           หลังจากนั้นจึงได้รับมอบหมายให้พัฒนาหลักสูตรต่อในกลุ่มนักศึกษาชาวเวียดนาม ด้วยข้อจำกัดของนักศึกษาในการเดินทางมาศึกษาที่ประเทศไทยด้วยจากภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ คณาจารย์จึงได้สร้างหลักสูตรการเรียนการสอน ณ ที่ตั้ง คือประเทศเวียดนามขึ้น ระหว่างการเรียนการสอนของหลักสูตร พบปัญหาต่าง ๆ มากมาย เช่น วัฒนธรรมทางศาสนา ข้อจำกัดของนักศึกษา (ภาษาอังกฤษ การใช้คอมพิวเตอร์ การสืบค้นข้อมูล) ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนและวางแผนการช่วยเหลือนักศึกษาค่อนข้างมาก อีกทั้งในด้านการฝึกปฏิบัติการพยาบาลที่หอผู้ป่วย การสื่อสารยังเป็นปัญหาที่สำคัญ รวมทั้งการศึกษาข้อมูลจากแฟ้มประวัติผู้ป่วย แต่ทางหน่วยงานของประเทศเวียดนามได้มีการส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือในการติดต่อกับทีมสุขภาพที่หอผู้ป่วยและประสานงานในการศึกษาแฟ้มประวัติ ทำให้การขึ้นฝึกปฏิบัติลุล่วงไปได้ด้วยดี และมีการเชิญอาจารย์จากคณะฯไปอบรมด้านการปฏิบัติการทางคลินิกที่ดี Good Clinical Practice (GCP) และมอบประกาศนียบัตรแก่นักศึกษาที่ผ่านการอบรม หลังจากนั้นมีการจัดสอบวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาในหลักสูตร เก็บข้อมูล วิเคราะห์แปลผล และสามารถจบการศึกษาในหลักสูตร

จากการร่วมจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขา ADULT บังคลาเทศและเวียดนาม พบว่า เบื้องหลังของความสำเร็จนี้เกิดจากการร่วมมือร่วมใจกัน การอุทิศตนในการร่วมพัฒนาหลักสูตร และความทุ่มเทในการเรียนการสอน ดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิดของคณาจารย์ในคณะฯ จนทำให้นักศึกษาสามารถเรียนจบได้ตามเกณฑ์สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในหน่วยงานของตนเองได้ ซึ่งการเตรียมอาจารย์ในหลักสูตร/คณะฯให้พร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การปรับตัวเมื่อไปสอนในสถานศึกษาต้นทาง อีกทั้งการเตรียมเอกสารประกอบการสอน อุปกรณ์การเรียนการสอนให้พร้อม มีความสำคัญมากในการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง "ประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขา ADULT บังคลาเทศและเวียดนาม" ด้านการศึกษา เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรของภาควิชาฯ ในการจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาต่างชาติที่มีความหลากหลายและท้าทาย โดยมีต้นแบบอาจารย์ผู้วางแผนและพัฒนาหลักสูตร ส่งผลให้ทางอาจารย์ในภาควิชาฯ ได้ทราบกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ตรงตามมาตรฐานภายใต้ข้อจำกัดหลายๆ ด้าน และดำเนินการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรได้ผ่านไปได้อย่างลุล่วง

 @@@@@@@@@@@@@@

 

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

 

๑.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัตนาภรณ์ คงคา

๒.      รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉริยา พ่วงแก้ว

๓.      รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินรัตน์ ศรีประสงค์

๔.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา เล็กดำรงกุล

๕.      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิรา เรียงคำ

๖.      อาจารย์ ดร.สืบสาน รักสกุลพิวัฒน์

๗.      อาจารย์ ดร.ณัฎยา ประหา

๘.      อาจารย์ปวิตรา จริยสกุลวงศ์

๙.      อาจารย์ปิโยรส เกษตรกาลาม์

๑๐.   อาจารย์ประพัฒน์สินี ประไพวงษ์

          ๑๑.  อาจารย์เกวลิน พงษ์สุวรรณ

@@@@@@@@@@@@@@

แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

เนื้อหาล่าสุด

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1866681