การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ การพัฒนาแบบประเมินการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยศัลยกรรมระบบทางเดินอาหาร ตับและทางเดินน้ำดี (Development of Nursing Process Record Form’s Gastrointestinal Surgical Patients) โดย อาจารย์สกุลรัตน์ เตียววานิช

PDF Download

การรู้คิดของผู้ป่วยมีโอกาสเปลี่ยนแปลงเสื่อมลงเนื่องจากภาวะของโรค การบาดเจ็บ ความไม่สมดุลของอิเล็คโตรลัยท์ในร่างกาย ฯลฯ หรือด้วยปัจจัยพื้นฐานของผู้ป่วยเองเช่นอายุ และพันธุกรรม เมื่อผู้ป่วยเกิดปัญหาด้านCognitive function ต้องรีบทำการบำบัดรักษา เพราะฟื้นตัวได้ดีในผู้ป่วยที่สมองเสื่อมเล็กน้อยถึงปานกลาง ถ้าปล่อยให้เป็นมากจะไม่ได้ผล

ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การฟื้นตัวในผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ ในผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกพรุน โดยมี อาจารย์พัชรี เสน่ห์เจริญ มาเป็นวิทยากรและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

PDF Download

  1. การพัฒนา CAI

การพัฒนา CAI ควรเริ่มจากแผนการสอนหรือเอกสารการสอนที่อาจารย์มีอยู่แล้ว โดยอาจารย์อาจจะนำเนื้อหาบางส่วนหรือเนื้อหาทั้งหมดมาจัดทำเป็น CAI หรือจัดทำโดยการแบ่งเนื้อหาในหน่วยการเรียนการสอนที่รับผิดชอบ ออกเป็น Module และมีผู้พัฒนาในแต่ละ Module นั้นๆ เป็น CAI 

PDF Download

ภาวะลำไส้หยุดการเคลื่อนไหวหลังผ่าตัด (postoperative ileus) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยหลังผ่าตัดระบบทางเดินอาหารซึ่งโดยปกติลำไส้สามารถฟื้นตัวกลับมาเคลื่อนไหวเป็นปกติได้เองโดยที่ลำไส้เล็กจะกลับมาเคลื่อนไหวภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด ลำไส้ใหญ่จะกลับมาเคลื่อนไหวภายใน 72 ชั่วโมงหลังผ่าตัดแต่หากลำไส้กลับมาเคลื่อนไหวที่นานกว่าปกติ (prolong postoperative ileus หรือ paralytic ileus)จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา ส่งผลให้ผู้ป่วยต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานขึ้น สูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น และมีอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย

แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1734088