สอบถามการเก็บข้อมูลวิจัย

โดย คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Moderator: nsirb

สอบถามการเก็บข้อมูลวิจัย

โพสต์โดย Green Professor. » 17 ก.ย. 2012, 08:32

เรียน กรรมการ IRB

ดิฉัน ในฐานะที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
มีข้อเรียนถามเกี่ยวกับกระบวนการเก็บข้อมูล กรณีที่โครงการวิจัยต้องขอรับการพิจารณา
จาก IRB หลายแห่ง เช่น ของคณะฯ ของโรงพยาบาลที่เป็นสถานที่วิจัย
กรณีนี้พบว่า หลายครั้ง IRB ของสถานที่วิจัย ให้การรับรองเสร็จสิ้นเร็วกว่า IRB ของคณะฯ
เช่นนี้แล้ว นักศึกษาจะต้องรอผลการพิจารณาของ IRB คณะฯ ให้สิ้นสุดก่อนหรือไม่
หรือสามารถเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาลนั้นๆได้เลย เพราะอย่างไรก็ตาม เอกสารที่จะใช้ ก็ต้องใช้ชุดที่ IRB
สถานที่วิจัยให้การรับรองอยู่แล้ว หากรอผลของ IRB คณะฯด้วย บางครั้งอาจทำให้ใช้เวลาเพิ่มขึ้น
และส่งผลให้เก็บข้อมูลได้ยากขึ้น เช่น บางเคส มักจะมีเข้ามาในช่วงเวลาที่จำกัด เป็นต้น
อีกทั้ง IRB แต่ละแห่งก็เป็นอิสระจากกัน เช่น IRB โรงเรียนแพทย์ ก็สนใจในสิ่งที่ตนเองรับผิดชอบเท่านั้น
และหากต้องรอให้ IRB ทุกแห่งรับรองในสาระให้เหมือนกันนั้น เกรงว่านักศึกษาจะยุ่งยากมากเกินไป
เพราะทราบมาว่า หากมีสาระใดที่ไม่เหมือนกัน ก็ต้องมีการติดต่อจนกว่า จะถึงจุดที่ยอมรับร่วมกันได้
ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ จะใช้เวลามาก
จึงเรียนขอคำแนะนำ เพื่อที่จะได้นำไปปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป
Green Professor.
 

Re: สอบถามการเก็บข้อมูลวิจัย

โพสต์โดย รศ.ดร.วิไลวรรณ ทองเจริญ » 04 ต.ค. 2012, 08:28

หลักการสำคัญคือโครงการวิจัย จะต้องผ่านการรับรองจาก IRB ของ Research Setting ก่อนจึงจะสามารถดำเนินการวิจัยได้ ดังนั้น โครงการวิจัยที่มี Research Setting หลายแห่ง จึงต้องเสนอโครงการฯเพื่อขอรับการรับรองจาก IRB แต่ละแห่งและ IRB-NS ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาพิจารณารับรองแตกต่างกัน ถ้าเป็นไปได้ การรับรองจาก IRB ของทุกแห่ง รวมทั้งจาก IRB-NS ควรจะเสร็จพร้อมๆกันหรือใกล้เคียงกันก็จะสามารถเก็บข้อมูลพร้อมกันได้ ดังนั้น จะเก็บข้อมูล Setting ใด จะต้องได้รับการรับรองจาก IRB ของ Setting นั้นและ IRB-NS ในกรณีที่ IRB ของ Research Setting เสร็จก่อน ควรประสานงานกับ IRB-NS เพื่อจะได้เร่งดำเนินการให้สามารถเก็บข้อมูลได้

การที่โครงการวิจัยที่มี Research Setting นอกมหาวิทยาลัยมหิดล ต้องผ่านการรับรองจาก IRB-NS เนื่องจากเป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง นโยบายในการกำกับดูแลโครงการวิจัยในคน พ.ศ. 2551 ข้อ 4.1 รวมทั้ง การดำเนินงานของ IRB แต่ละแห่งเป็นอิสระจากกัน ถึงแม้จะใช้หลักจริยธรรมการวิจัยในคนตามมาตรฐานสากลเหมือนกัน แต่อาจให้ความสนใจเฉพาะเรื่องที่ตนเองรับผิดชอบเท่านั้นตามที่ท่านได้ตั้งข้อสังเกตไว้
สิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องติดตามสังเกตคือ ประเด็นต่างๆที่รับรองจะต้องสอดคล้องตรงกันทุกแห่ง ถ้ามีประเด็นที่แตกต่างกัน นักวิจัยจะต้องรับผิดชอบดำเนินการให้สอดรับกันเพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น ความเที่ยงตรงของผลการวิจัย, เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ฯลฯ ถ้ามีเหตุการณ์เช่นนี้ ขอให้นักวิจัยประสานกับ IRB-NS เพื่อพิจารณาดำเนินการเป็นรายๆไป
รศ.ดร.วิไลวรรณ ทองเจริญ
 


ย้อนกลับไปยัง IRB-NS Webboard

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน

cron