• MUQF2023-Slide1.PNG
  • MUQF2023-Slide2.PNG
  • MUQF2023-Slide3.PNG

KM การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย: แนวคิด ทฤษฎี และบทเรียนสู่ภาคปฏิบัติ โดย ศาสตราจารย์ วิจารณ์ พานิช การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ยึดหลักว่างานประจำเป็นสิ่งที่สามารถนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดการเรียนรู้ หลักที่สำคัญคือ การนำเอา success story มาต่อยอด วิธีการเล่าเรื่องเป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้เป็นอย่างมาก เป็นการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยหวังผลลัพธ์ว่าจะทำให้เกิดการพัฒนางานประจำ การพัฒนาคนระดับปฏิบัติการ การพัฒนาองค์กร วัฒนธรรมองค์กร สู่องค์กรเรียนรู้ ซึ่งทำให้องค์ความรู้ขององค์กรยกระดับขึ้น ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับ R2R คือผู้ปฏิบัติ ฝ่ายจัดการ R2R ฝ่ายบริหารองค์กร และหน่วยงานสนับสนุนระดับประเทศ: สวรส, UKM

เสริมพลัง R2R กับNGO โดย รศ.ดวงพร คำนูณวัฒน์

รศ.ดวงพร คำนูณวัฒน์ ได้เล่าประสบการณ์ในการทำงานกับกลุ่ม NGO โดยเป็นโครงการติดตามประเมินผล สสย.(แผนงานพัฒนาสื่อเพื่อสร้างสุขภาวะของเยาวชน) ซึ่งมีโครงการทั้ง 11 โครงการที่ทำงานเกี่ยวกับสื่อที่มีผลต่อเด็ก ทำให้คุณภาพชีวิตเด็กเปลี่ยนไป เกิดการทำการประเมินผลแบบเสริมพลัง คือ เสริมพลังให้กับผู้ปฏิบัติงานด้วย ซึ่งจากการทำงานในโครงการนี้ ทำให้พบว่า ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่จะมีบุคลิก ดังนี้คือ เป็นนักปฏิบัติตัวยง เต็มไปด้วยหัวใจที่ต้องการทำงาน มีประสบการณ์สูง มักลุยไปข้างหน้าโดยใช้ความรู้สึกหรือความเคยชิน พูดเก่งแต่ไม่ชอบเขียน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาคือ ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นการเขียนได้ ซึ่งถ้าผู้ปฏิบัติงานนี้สามารถเป็นได้ทั้งนักปฏิบัติและนักวิจัย จะทำให้สามารถยกระดับการทำงานและผลงานของตนเองได้ ซึ่งจะทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นจึงใช้วิธีการปรับแนวคิด ปรับอคติที่มีต่อคำว่าการวิจัย และแสดงให้เห็นว่าการวิจัยนั้นง่าย และจัดให้สิ่งที่ทำอยู่เข้ามาเป็นงานวิจัย และมีการจัดอบรมโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง การตั้งคำถาม การท้าทายให้คิด การทดลองทำจริง กรณีตัวอย่าง รวมทั้งการกระตุ้นและการให้กำลังใจ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือ ผู้ปฏิบัติงานมีการทำงานเป็นระบบมากขึ้น มีการคิดกิจกรรมเป็นไปอย่างเหมาะสม สามารถถ่ายทอดความรู้/ข้อมูลได้ง่ายขึ้นไม่ว่าจะด้วยการพูดหรือการเขียน เห็นความสำคัญของการทำงานบนข้อมูล และสามารถจัดทำโครงการเพื่อเสนอขอการสนับสนุน

เสริมพลัง R2R กับสายวิชาการ โดย นพ.อัครินทร์ นิมมานิตย์

นพ.อัครินทร์ นิมมานนิตย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ให้ข้อมูลถึงประสบการณ์การทำโครงการ R2R ที่ศิริราช เพื่อให้เกิดการพัฒนางานวิจัยจากการบริการสุขภาพ โดยมีการสนับสนุนและการบริหารจัดการที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรและบุคลากรในการบริการสุขภาพและการวิจัย ในระยะเริ่มแรก จากกลุ่มสหสาขาวิชาชีพ Care team2ในการพัฒนาโดยการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (continuous Quality Improvement: QCI) ต่อมา มีการประยุกต์ใช้ Knowledge Management (KM) การให้คำปรึกษาแบบ Proactive consultation สำหรับกลุ่ม care team แต่ละกลุ่ม และเชื่อมระหว่างกลุ่มผู้ศึกษากับผู้ปฏิบัติ มีการทำ workshop ของ R2R โดยเปิดให้ทุกคนได้แสดง ถึงกลุ่มที่มีปัญหา มีการจัด conference R2R เป็น Opening conference และ Annual R2R conference มีการแบ่งปันความรู้และเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จากการเล่าเรื่องที่ประสบผลสำเร็จ Success storytelling มี website for R2R ที่ http://www.si.mahidol.ac.th/r2r/ ซึ่งเปิดให้มีโครงการตามหน่วยงานมากมาย

เสริมพลัง R2Rกับ ทุกพันธกิจ โดย รศ.ภิญโญ พานิชพันธ์

งานวิจัยซึ่งมีประสิทธิภาพ หรือได้รับการเผยแพร่ในระดับโลก มีความเกี่ยวข้องกับงานประจำโดยสามารถเป็นข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้ได้งานประจำที่ดีขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งคนทำงานก็สามารถทำงานได้อย่างมีความสุข ตัวอย่างเช่น

  • การเตรียมสอน
  • ปัญหาที่พบจากการคุม lab นักศึกษา เช่น การรักษาคุณภาพของแป้งเพื่อใช้ในการทดลอง
  • งานวิจัยเกี่ยวกับงานวิจัย
  • นำงานวิจัยไปเป็น lab เพื่อให้นักศึกษาทดลองตามความสนใจของนักศึกษา
  • การพัฒนาชุมชน เช่น เรื่องเกลือเสริมไอโอดีน และชุดตรวจคุณภาพนมสำหรับเด็กนักเรียน
  • ด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น เรื่องการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพพันธุ์ปลากัด และเรื่องการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาพุทธ
  • การจัดเก็บข้อมูลของบุคลากร เช่น พื้นฐานข้อมูลใน web-based

เสริมพลัง R2R กับสายสนับสนุน โดย รศ.พญ.เยาวลักษณ์ สุขธนะ

ไม่ว่าจะทำงานใดทุกคนจะมีงาน Routine ซึ่งถ้าทำไปนานๆ จะเกิดเป็นความรู้หยั่งลึกในตัวเรา คือ Tacit knowledgeถ้าเราเอาระเบียบวิธีวิจัยมาจับ คือ การตั้งคำถาม (Inquiring) การค้นหา (Searching) การสืบสวน (Investigating) การค้นพบ(Discovering) และการหาความรู้ใหม่ (New Knowledge) จะทำให้เกิด (Explicit Knowledge) ที่ดียิ่งขึ้น

เหตุที่บุคลากรสายสนับสนุน ไม่ทำวิจัยมีเหตุหลายประการคือ

  • ปัญหาเรื่องเวลา มีงานประจำมาก
  • ไม่มีแรงจูงใจมากพอ ผลงานไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อการเลื่อนตำแหน่ง
  • ขาดปัจจัยเกื้อหนุนในการทำวิจัย เช่น ทุน
  • ขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการวิจัยที่ดี มีข้อมูลงานวิจัยมาน้อย เพราะมักเป็นที่อาจารย์
  • ขาดความรู้และทักษะในการทำวิจัย

การทำ R2R ของสายสนับสนุนที่วิทยาลัยนานาชาติ (MUIC) ได้จัดกิจกรรมให้หลายประการ เช่น

  • Workshop การเขียนโครงร่างการวิจัย: องค์ประกอบสำคัญคือ คำถามการวิจัย
  • Workshop การนำเสนอผลงานวิจัย
  • Research Seminar for MUIC Development 2007
  • KM เติมเต็ม R2R

หลังจากการทำการวิจัยแล้วได้นำ R2R มาพัฒนางานประจำ เช่น การวิจัย

  1. ความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ Online Registration (OASIS) - เกิดจากการที่จ้างคนมาเขียน Program ให้ แต่การใช้งานติดขัด จึงทำการการวิจัยสำรวจปัญหาแล้วนำมาปรับปรุง
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของบัณฑิตใน10 ปีแรกต่างกับ 10 ปีหลังหรือไม่ -เป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาวิเคราะห์
  3. นักศึกษา Pre-College ระดับใดสามารถเข้าศึกษาใน MUIC - ผลการศึกษาพบว่า เด็กที่ผ่านการเรียน PC จะเรียนได้ดี
  4. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกิจกรรมนักศึกษาที่ MUIC - ที่ทำวิจัยเพราะอาจมีกิจกรรมที่จัดให้และนักศึกษาไม่ชอบจะได้นำมาปรับปรุง
  5. หาก MUIC จะจัดรถบริการ ควรมีข้อคำนึงอะไรบ้าง- เกิดจากปัญหาการมีรถจอดจำนวนมากที่ MUIC
  6. แรงจูงใจของบุคลากรที่มีต่อ MUIC
  7. ความพึงพอใจต่อการบริการห้องสมุด/ ห้องคอมพิวเตอร์
  8. การประชาสัมพันธ์ชนิดใดที่มีผลต่อนักศึกษาใหม่ของ MUIC – พบว่า นศ.ได้ข้อมูลทาง Internet มากที่สุด

ปัจจัยที่ทำให้การทำวิจัยสายสนับสนุนของ MUIC ประสบผลสำเร็จมี 5 ประการ คือ

  1. นโยบายที่เปิดทาง
  2. ทรัพยากรเกื้อหนุน
  3. แรงจูงใจที่โดนใจ เช่น ให้เงินจ้างผู้ช่วยวิจัย, ถ้าจะเก็บข้อมูลนอกเวลาก็ได้เงินค่าจ้าง
  4. ความต่อเนื่อง- มีการทำทุกๆปี
  5. Peer Pressure- การที่คนอื่นมีงานวิจัยทำ จะทำให้ผู้ไม่มีงานกังวล

สำหรับปัญหาที่ทำให้มีปัญหาการทำวิจัยคือ

  1. การจัดการเรื่องเวลา
  2. แรงจูงใจไม่โดนใจ
  3. ขาดทักษะในการทำวิจัยและความไม่แน่ใจ

สรุป

  • งานวิจัยเป็นหนทางหนึ่งที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Tacit Knowledge ที่เกิดจากงานประจำ
  • หาแรงบันดาลใจด้วยการหา Research Question จากงานประจำ แล้วลงมือทำ R2R
  • นำผลจาก R2R ไปสู่ R (Routine) อีกครั้ง

เสริมพลัง R2R กับชุมชน โดย อ.ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

การร่วมมือกับชุมชน Community Base Approach ต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ (ความเก่ง) ทีมีอยู่ เพื่อนำมาพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา แล้วใช้ในการแก้ไขปัญหา และนำไปสู่การ เกิดความรู้ใหม่ สำหรับสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน เป็นตัวแทนของการทำงานในเวทีของชุมชน ในระดับประเทศ และระดับนานาชาติด้วยการทำงานด้านสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อสร้างความรู้กับชุมชน ทำให้ได้เรียนรู้ และสร้างความรู้กับชุมชนต่างๆขอตัวอย่างของสถาบันฯ เช่น การแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพเสียงในห้องประชุม ซึ่งเกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาโดยมีการพุดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกันเอง หรือตัวอย่างที่สถาบันฯเองเป็นหน่วยงานทางด้านสาธารณสุข จึงมีการทำแผนงานพัฒนาสถาบันการสาธารณสุขเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ มีการให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ มีการให้เงินสนับสนุนการทำงานจากเงินรายได้ของสถาบันฯ นอกจากนี้ยังมีการคำนึงถึงสุขภาพทางด้านจิตใจหรือจิตวิญญาณกับชุมชนด้วย ซึ่งถือเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยสถาบันมีการทำโครงการเจริญสติภาวนา มีการเปิดกว้าง จัดกิจกรรมเจริญสติ ถือศีล ภาวนาสำหรับหน่วยงาน/องค์กร โรงเรียนรอบๆอำเภอพุทธมณฑลด้วย

PDF Download


วันจันทร์ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ ณ หอประชุมณัฐ ภมรประวิติสถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ผู้เข้าร่วมประชุม
รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนี ศุจิจันทรรัตน์
รองศาสตราจารย์ กันยา ออประเสริฐ
อาจารย์ ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย
อาจารย์ ดร.ศรินรัตน์ ศรีประสงค์
อาจารย์ ศิรดา เกษรศรี
อาจารย์ ดร.อาภา ยังประดิษฐ
น.ส.ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Show Case Best Practice 2564

Show Case Best Practice 2565

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1331067