• MUQF2023-Slide1.PNG
  • MUQF2023-Slide2.PNG
  • MUQF2023-Slide3.PNG

รองศาสตราจารย์ สุวิมล กิมปี ได้เล่าประสบการณ์ของการเริ่มต้นของ Center of Recovery Management (CRM) ในภาควิชาให้ฟังว่า ในระยะแรกเป็นระยะของการจุดประกายความคิด และบุกเบิก โดยภาควิชาฯ เริ่มพูดคุยกันถึงเรื่องการทำ CRM มาตั้งแต่ปี 2549 โดยในสมัยนั้นมีรองศาสตราจารย์ กันยา ออประเสริฐ เป็นหัวหน้าภาค ซึ่งนโยบายคณะฯ ต้องการให้แต่ละภาควิชาฯ พิจารณาและนำเสนอจุดเด่นของตนเอง

 

ทางภาควิชาก็เลยมีการแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริอร สินธุ ขึ้นมาเป็นประธาน CRM ของภาควิชาฯ โดยได้มีการประชุมหลายครั้ง จนประมาณ 3-4 เดือนจึงเริ่มตกตะกอน ว่าจะดำเนินการไปในทางไหน โดยภาควิชาเห็นว่าควรจะตั้งเป็นศูนย์ CRM เพียงศูนย์เดียว ไม่ควรแตกแยกออกเป็นศูนย์ย่อยๆ ก็เลยคิดคำกลางๆ ที่ทุกสาขาสามารถเข้ามาอยู่ในศูนย์นี้ได้ ซึ่งในขณะนั้นได้เกิดคำ 3 คำขึ้นมาคือ การฟื้นหาย (Healing) การฟื้นฟู (Rehabilitation) และการฟื้นตัว (Recovery) ก็มีการพูดคุยกันว่าคำใดจะเหมาะสมที่สุด สุดท้ายก็ได้คำว่า การฟื้นตัว (Recovery) จากนั้นก็เริ่มดำเนินการโดยเริ่มศึกษาความหมายของการฟื้นตัวด้วยการสัมภาษณ์และสังเกตจากผู้ป่วยแต่ละหน่วย เพื่อให้ชัดเจนว่าคำนี้สามารถครอบคลุมผู้ป่วยได้ทุกกลุ่มและทุกช่วงเวลาของผู้ป่วย จากนั้นก็มีการค้นหาและทบทวนความรู้ที่เกี่ยวกับการฟื้นตัวเพื่อให้มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างมาก และเกิดปัญหาอันเนื่องมาจากภารกิจของอาจารย์แต่ละท่าน ทำให้การดำเนินการชะงักขาดตอนไป

ต่อมาในยุคก่อร่างสร้างตัว ปี 2551 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพา ต่อสกุลแก้ว เป็นหัวหน้าภาค และ รองศาสตราจารย์ สุวิมล กิมปี ได้รับมอบหมายให้เป็นประธานคณะทำงานก่อตั้ง CRM และมีอาจารย์ในภาคช่วยกันคิดและช่วยกันทำ ทำให้เกิดงานขึ้นมา โดยดูว่างานวิจัยที่ทำย้อนหลัง 3 ปี สามารถเอามาโยงเข้ากับ CRM ได้หรือไม่ ซึ่งเรายังยึดติดกับคำว่า CRM อยู่ จึงทำให้อาจารย์หลายท่านเข้าใจว่างานของตนเองเข้ากับ CRM ไม่ได้ ต่อมาในช่วงกลางปี 2551 ภาควิชาจึงได้จัดตั้งศูนย์ CRM ขึ้นมาโดยเริ่มดำเนินงานอย่างจริงจัง โดยได้ศึกษาปัญหาจากการดำเนินงานครั้งก่อนและหาทางปรับเปลี่ยน มีการหาแนวร่วมในการสร้างงานฟื้นตัวจากอาจารย์ในหลักสูตรบัณฑิตศึกษาที่สนใจ และชักชวนผู้ร่วมสร้างงานการฟื้นตัวของนักศึกษาปริญญาโทตั้งแต่สัมมนาวิจัย ไปสู่วิทยานิพนธ์/สาระนิพนธ์ จากนั้นก็เริ่มเปิดกว้างในการศึกษาตัวแปรย่อยที่หลากหลายภายใต้แนวคิดการฟื้นตัว ทำให้อาจารย์รู้สึกว่าสามารถเข้ามาร่วม CRM ได้ด้วยความคล่องตัว และมีการขยายงานให้ครอบคลุมความเชี่ยวชาญของอาจารย์ในภาค มีการกระตุ้นให้ทำงานต่างๆ เพื่อให้เกิด CRM ใน area อื่นๆ โดยให้ครอบคลุมทุก area ของภาควิชาฯ และมีการใช้การศึกษาวิจัยเป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนางานของศูนย์เพื่อให้เกิดองค์ความรู้และขยายผลไปในภารกิจด้านอื่นภายหลัง

รองศาสตราจารย์ สุวิมล กิมปี เล่าให้ฟังต่อว่า จากการดำเนินงานตามที่กล่าวมาทำให้อาจารย์มีความคาดหวังที่จะทำสิ่งอื่นๆ ต่อไปซึ่งก็คือ จะพยายามส่งเสริมให้แต่ละหน่วยวิเคราะห์งานวิจัยที่ทำมาเพื่อสรุปองค์ความรู้ที่ได้และเผยแพร่ จากนั้นจะมีการขยายงานแต่ละหน่วยออกไปสู่ภารกิจหลักอื่นๆ ของอาจารย์ และคิดว่าจะหาโอกาสไปศึกษาดูงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการหาแนวร่วมในการพัฒนาศูนย์ที่เข้มแข็ง มั่นคงและยั่งยืน

ในการดำเนินงานย่อมต้องมีปัญหาและอุปสรรค ซึ่งพบเยอะมาก ทำให้อาจารย์ได้ข้อสรุปของการดำเนินงาน ว่าจงพยายามอย่าสร้างงานใหม่ที่เพิ่มภาระงานแก่ผู้ร่วมงาน ของศูนย์ฯ ควรนำงานของอาจารย์มาเป็นงานพัฒนาศูนย์  และไม่จำเป็นต้องให้ทุกคนเดินหน้าไปพร้อมๆ กัน ให้เอาหน่วยที่มีความพร้อมและสมัครใจที่จะดำเนินงานมาทำก่อน โดยให้แต่ละหน่วยมีความอิสระในการคิดงานและสร้างงาน อย่ากดดันสร้างความทุกข์ให้ตัวเองเพราะงานไม่เกิด และที่สำคัญคือศูนย์ความเป็นเลิศไม่ได้เกิดในวันเดียว online viagra canada

ส่วนในเรื่องการทำ KM ของภาควิชา คงเริ่มมาจากนโยบายของคณะฯ และต้องการที่จะกระตุ้นงานของ CRM สำหรับตัวอาจารย์เอง ไม่ชอบอะไรที่เป็นพิธีการ เพราะฉะนั้นเวลาทำ KM ก็เลยไม่ได้เอาหลักของ KM มาใช้ พยายามทำให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด ไม่ให้ผู้ร่วมรู้สึกว่ากำลังทำ KM อยู่ โดยปกติที่ภาควิชาฯ มักจะมารับประทานอาหารร่วมกันที่ห้อง 704 ก็จะมีการคุยกันว่าจะเอา KM มาร่วมกับ CRM โดยสิ่งที่จุดประกายความคิด คือคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่า Recovery คืออะไร จะทำอย่างไรที่จะช่วยให้อาจารย์มีความเข้าใจในเรื่อง Recovery ในทิศทางเดียวกัน แต่เราก็ไม่สามารถหาวิทยากรมาบรรยายเรื่องนี้ได้ จึงคิดว่าน่าจะมีการสื่อสารในภาควิชาฯ เพื่อให้รับรู้และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับงานการฟื้นตัวที่แต่ละหน่วยได้ทำไป ดังนั้นจึงได้เกิดข้อตกลงในการจัดทำ KM คือ จะใช้เวลาไม่มากแต่ให้เกิดประโยชน์ (1 ชม. ก่อนการประชุมภาค) บรรยากาศจะต้องไม่เป็นวิชาการมากเกินไป (สามารถนำอาหารกลางวันมารับประทานได้) ช่วยกันสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ (อย่าเงียบฟังอย่างเดียว) และที่สำคัญจะช่วยกันเสนอแนะเรื่องที่ต้องการทำ KM  ภายใต้งาน CRM

เป็นอย่างไรบ้างค่ะ สำหรับเรื่องเล่าที่ดีๆ แบบนี้ หวังว่าคงจะเป็นตัวอย่างของการเริ่มต้นการทำ KM ในภาควิชาอื่นๆ ต่อไปนะค่ะ

PDF Download


 

ลิขิตโดย อาจารย์ ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบการจัดการความรู้


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Show Case Best Practice 2564

Show Case Best Practice 2565

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1331297