คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การเขียน Manuscript เพื่อการตีพิมพ์ระดับนานาชาติ เมื่อวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13.30-16.00 น. ณ ห้อง 1103/1-2 ชั้น 11 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นารีรัตน์ จิตรมนตรี หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลรากฐาน เป็นวิทยากร 

 

วิทยากร กล่าวในลำดับแรกว่า “ก่อนอื่นเราต้องเชื่อมั่นว่าตนเองทำได้” บทความภาษาอังกฤษฉบับแรกของอาจารย์คือ

Jitramontree, N. (2000). The impact of Medicare reimbursement changes on home health care: A nursing perspective. Home Healthcare Nurse, 18(2), 116-123.

สิ่งที่อาจารย์ได้เรียนรู้จากการเขียนบทความฉบับนี้คือ

  • Nothing to lose
  • Choose the right journal at the right time
  • Follow the author guideline
  • Consult the expert
  • Prove the uncommon citation
  • Get the new experience
    • Iowa Visiting Nurse Association
    • Telemedicine

ผลงานเรื่องที่ 2 ที่อาจารย์ภาคภูมิใจคือ

Jitramontree, N. (2010). Evidence-Based Practice Guideline Exercise Promotion: Walking in Elders. Schoenfelder, D. P. (Ed.). Journal of Gerontological Nursing, 36(11), 10-18.

สิ่งที่อาจารย์ได้เรียนรู้จากการเขียนบทความฉบับนี้คือ

  • การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์
  • การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
  • การขอใช้เครื่องมือจากต่างประเทศ (ลิขสิทธิ์)
  • การทำกราฟแสดงจำนวนนาทีที่ผู้สูงอายุ ออกกำลังกาย – self-efficacy (gradual success)
  • งานวิจัยเชิงคุณภาพ “ Life is Moving ”

ผลงานเรื่องที่ 3 จากเดิม อาจารย์ได้รับจดหมายปฏิเสธ แต่ภายหลังก็ได้รับการติดต่อให้กลับไปนำเสนอผลงาน อาจารย์จึงเรียกผลงานนี้ว่าเป็นการพลิกฟื้นคืนชีพ ซึ่งผลงานนี้คือ

Jitramontree, N. & Thayansin, T. (2013). Social Welfare for Older Persons in Thailand: Policy and Recommendation. Journal of Public Health and Development, 11(3), 39-47.

สิ่งที่อาจารย์ได้เรียนรู้จากการเขียนบทความฉบับนี้คือ

  • ตั้งใจจะตีพิมพ์ภาษาไทย เพราะเป็นเรื่องสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย
  • มีการประชุมนานาชาติ จัดโดยคณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ถูกขอร้องให้ไป แบ่งปัน กับนักศึกษานานาชาติ 
  • ถูกขอร้องให้เขียนบทความตีพิมพ์ใน proceeding
  • ประธานผู้จัดเสียชีวิต จึงไม่ได้ทำ proceeding
  • หัวหน้าภาควิชาฯ เตือนว่าเคยทำส่งไป ให้นำมาตีพิมพ์
  • วารสารตีพิมพ์ภาษาอังกฤษ Journal of Public Health and Development

ล้มลุกคลุกคลาน งานวิจัยชิ้นนี้ทำเป็น Action Research เนื่องจากเป็นการทำวิจัยในช่วงแรกๆ ที่ยังไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการขอทุนวิจัย ทำให้ไม่ได้รับทุนนักวิจัยรุ่นใหม่ แต่ภายหลังได้มีโอกาสได้ไปทำงานวิจัยกับอาจารย์ผ่องศรี จึงพยายามนำงานวิจัยนี้กลับมาทำเป็นชุดโครงการวิจัยจนสำเร็จ

Jitramontree, N., Chatchaisucha, S., Thaweeboon, T., Kutintara, B., & Intanasak, S. (2015). Action Research Development of a Fall Prevention Program for Thai Community-dwelling Older Persons. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 19(1), 69-79.

สิ่งที่อาจารย์ได้เรียนรู้จากการเขียนบทความฉบับนี้คือ

  • เขียนเป็นภาษาไทยก่อน งง กับ spiral process – loop ของ action research
  • เรื่องใหญ่ ควรแบ่งเป็น 2 บทความ
    • กระบวนการ
    • ประสิทธิผลของโปรแกรม
  • การทำ citation ให้ทำแบบ APA ก่อน version สุดท้าย ค่อยทำ Vancouver
  • การจ้าง edit ก่อนส่งให้วารสารพิจารณาตอบรับ
  • บางวารสาร จะเรียกเก็บค่า edit อีก แต่รับประกันตีพิมพ์ แน่นอน
  • บางวารสารต้องสมัครเป็นสมาชิก 3 ปี
  • บางวารสารมีค่าตีพิมพ์
  • ให้ขอทุนสนับสนุนการตีพิมพ์ ตั้งแต่การขอทุนวิจัย (แยกจากค่าธรรมเนียม IRB)
  • การตีพิมพ์ใน Pacific Rim International Journal of Nursing Research ไม่ใช่บทความนานาชาติ
  • อย่าหวังเงินรางวัล เพราะบทความที่ตีพิมพ์นานาชาติได้ invaluable (หาคุณค่าไม่ได้ ตีค่าเป็นเงินไม่ได้)

บทเรียนรู้จากการเข้าค่ายเตรียม international manuscript

  • Professor Alicia K. Mathews  
    • U of Illinois at Chicago College of Nursing
  • Process ของการเขียนผลงานวิจัยเพื่อเผยแพร่
    • Abstract เพื่อนำเสนอ oral presentation
    • Manuscript เพื่อตีพิมพ์ ในวารสารที่ สกอ. รับรอง
  • การตรวจสอบ วิธีเขียนบทความ

เราต้องรู้ในสิ่งที่ไม่รู้

  • Sufficiency Economy Philosophy for Healthy Eating Behaviors
  • Development and Evaluation of an Intervention for Reducing Cardiovascular Risk among Thai Agricultural Workers
  • From Conference Presentation to Journal Article
  • Choose a Target Journal
    • Not all to top journals
    • Be realistic – importance and quality 
  • ได้รับข้อมูลที่เป็นรายละเอียดในการเขียนบทความเพื่อส่งตีพิมพ์  
    • หัวข้อต่างๆ เสมือนเติมคำในช่องว่าง
    • แต่ละ section ควรประมาณกี่หน้า
    •  check list รายละเอียดในการเขียน
    • เคล็ดลับต่างๆ (Tips)

การทำใจ เมื่อต้องปรับแก้บทความ

  • ลูกเรา สวย ดี เก่งที่สุด ฉันใด ก็ฉันนั้น
  • Manuscript ของเราดีที่สุดอยู่แล้ว ทำไม เขาให้แก้มากมาย หรือไม่รับตีพิมพ์
  • เมื่อได้จดหมาย Comment แล้ว วางไว้ให้พ้นสายตาสัก 3 - 4 วัน
  • วันที่ 5 สูดหายใจลึกๆ แล้วอ่านคร่าวๆ 1 รอบ เพื่อประเมินสถานการณ์
  • แล้วจึงอ่านทีละคำ เหมือนเด็กหัดอ่าน“ก อา กา”

การปรับแก้บทความตามข้อเสนอแนะ

  • ทำตามที่เขาแนะนำ เพราะ
    • เขาอาจมีความรู้และประสบการณ์มากกว่าเรา
    • เขาอาจไม่เข้าใจ ที่เราตั้งใจจะสื่อความออกไป เช่น การเว้นวรรค ไม่ถูกที่
    • เขามีอำนาจมากกว่าเรา
  • ไม่ต้องทำตามคำแนะนำ แล้วอธิบายชี้แจง