คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ ร่วมกับงานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การจัดประเภทการให้บริการวิชาการของอาจารย์ ในวันพุธที่ 26 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00-12.00 น. ณ ห้อง 711 ชั้น 7 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย

โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ปรางค์ทิพย์ ฉายพุทธ เป็นวิทยากร ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศและพัฒนาคุณภาพ เจ้าหน้าที่ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ งานบริการวิชาการ และงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

ประเภทการให้บริการวิชาการของอาจารย์
1. ที่ปรึกษา  หมายถึง ที่ปรึกษาภายนอกคณะฯ ได้แก่ ที่ปรึกษาโครงการวิจัย กรรมการอำนวยการ กรรมการสภาฯ สมาคม สมาคมพยาบาลศิษย์เก่า สภาการพยาบาล มหาวิทยาลัย วิทยาลัยพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ฯลฯ
2. กรรมการวิชาชีพ หมายถึง กรรมการระดับชาติ/นานาชาติ
   - กรรมการของสมาคมวิชาชีพต่างๆ เช่น สมาคมโรคหัวใจและหลอดเลือด สมาคมกุมาร เป็นต้น
   - กรรมการ อนุกรรมการ เลขานุการของสภาการพยาบาล สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย และชมรมวิชาชีพ  เช่น ชมรมอุบัติเหตุ ชมรมเบาหวาน ชมรมออโธปิดิกส์ เป็นต้น
   - คณะทำงาน หรือคณะดำเนินการเพื่อพัฒนางานวิชาการหรือวิชาชีพภายนอกคณะฯ
3. กรรมการวิชาการ
   - กรรมการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ/นานาชาติ ที่สถาบันอื่นจัด (ไม่ใช่คณะฯ จัดหรือร่วมจัด) เช่น กรรมการ/อนุกรรมการในการงานประชุมวิชาการด้านต่างๆ เป็นต้น
   - กรรมการร่างหลักสูตร
   - กรรมการประเมินหลักสูตร/กรรมการพิจารณาหลักสูตร
   - กรรมการประเมินผลงานวิชาการ (บทความวิจัยและบทความวิชาการ) หรือบรรณาธิการของวารสารวิชาการต่างๆ
   - กรรมการประจำของหน่วยงานภาครัฐ

4. วิทยากร หมายถึง การไปถ่ายทอดความรู้ภายนอกคณะฯ/ไปในหลักสูตรที่ไม่ใช่ของคณะฯ จัด
   - วิทยากร/อาจารย์พิเศษ โดยได้รับการเชิญสอน/บรรยาย จากสถาบันภายนอกคณะฯ
   - วิทยากรบรรยายในงานประชุมวิชาการ
   - การนำเสนอผลงานของวิทยากรภายในหรือภายนอกประเทศ เช่น การนำเสนอผลงาน เป็นต้น
5. ผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ตรวจสอบ)
   - ผู้ทรงคุณวุฒิวารสาร/บรรณาธิการ ตรวจบทความทางวิชาการ (ทั้งวิจัยและบทความวิชาการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ)
   - ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบโครงการวิจัย (โครงการวิจัย สกอ., วช., สสส. เป็นต้น)
   - ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา/ประเมินตำรา หนังสือ คู่มือต่างๆ หลักสูตร เครื่องมือวิจัย และผลงานทางวิชาการ/เชี่ยวชาญ
หมายเหตุ
   1. การให้บริการวิชาการต้องให้บริการวิชาการภายนอกคณะฯ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
   2. การเรียงเอกสารแนบให้เรียงจากเดือนมกราคม ไปถึงเดือนธันวาคม โดยใช้วันที่ออกหนังสือ (ลว.)
  3. ต้องมีหลักฐานแนบประกอบทุกครั้ง เช่น คำสั่ง หนังสืออนุมัติขอบุคคลเพื่อเป็นวิทยากร หนังสืออนุมัติให้ปฏิบัติงานได้ เป็นต้น
  4. กรณีได้รับเชิญจากต่างประเทศสามารถ ใช้ e-mail แนบได้
  5. การประเมินผลงานที่เป็นความลับ สามารถแนบหนังสือเชิญจากหน่วยงาน ที่ไม่ผ่านคณะฯ ได้
   ในช่วงท้ายกิจกรรมเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องการกรอกข้อมูลลงในฐานข้อมูลของภาควิชาต่างๆ และวงรอบของปีการศึกษา/ปีงบประมาณ/ปีปฏิทิน ที่นำมาใช้ในการเตรียมข้อมูล

 

แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1330572