ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง Learn in Line ในวันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2560 ณ ห้องประชุม 704 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีอาจารย์สกุลรัตน์  เตียววานิช เป็นวิทยากร มีรายละเอียดดังนี้

          การจัดทำการเรียนรู้ผ่าน Line application ในนักศึกษากลุ่มที่เรียนเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยระบบทางเดินอาหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้นักศึกษา พัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลและพัฒนาการเรียนการสอนหน่วยการพยาบาลผู้ป่วยระบบทางเดินอาหาร โดยเนื้อหาที่ได้จัดทำคือเรื่อง Ostomy care ในเนื้อหาจะประกอบด้วยความหมายของ stoma, nursing process สำหรับ ostomy care, และ video ประสบการณ์ของนักศึกษาคนอื่น ๆ ที่เคยทำ ostomy care มาก่อน ซึ่งในเนื้อหาจะมีภาพประกอบทุกหัวข้อ โดยมีทั้งภาพจรองและภาพหุ่น ทำให้นักศึกษาเข้าใจและเห็นภาพมากขึ้น อีกทั้งยังได้จัดทำข้อสอบพัฒนาความรู้ในหน่วยหน่วยการพยาบาลผู้ป่วยระบบทางเดินอาหาร เพื่อให้นักศึกษาได้สอบพัฒนาความรู้ ซึ่งเป็นการเอื้อต่อนักศึกษาและอาจารย์ในเรื่องข้อจำกัดของเวลา ทั้งนี้จากการประเมินผลของนักศึกษาหลังจากใช้ Line application ในการศึกษาและสอบพัฒนาความรู้ พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจมาก เนื่องจากเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ที่นักศึกษาคุ้นเคย และใช้ในชีวิตประจำวัน นำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาและการเรียนรู้ของนักศึกษา ทำให้นักศึกษาเข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายและสะดวก สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ 

          จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ให้ความสนใจและอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะวิธีการจัดทำสื่อการสอนนี้ โดยเริ่มต้นด้วยการดาวน์โหลด Application line office ที่ชื่อ LINE @ App โดย application นี้จะมีกำหนดให้ทดลองใช้ได้ 30 วัน หลังจากนั้นจะมีค่าใช้จ่ายหากมีการใช้ต่อ และผู้เข้าร่วมได้วางแผนการนำ application นี้ ไปใช้ในหัวข้อการสอนของตนเอง เนื่องจากเป็นนวัตกรรมสื่อทางการสอนที่ใหม่ ทันสมัย เป็นแรงจูงใจแก่นักศึกษาในการเข้าหาข้อมูลเนื้อหาได้ง่าย อีกทั้งยังสะดวกต่ออาจารย์ผู้สอน ในการเข้าถึงนักศึกษารายบุคคลได้โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่ และยังเป็นประโยชน์ต่อตัวนักศึกษามาก หากมีคำถามหรือไม่เข้าใจ นักศึกษาสามารถสอบถามอาจารย์ได้โดยตรง ซึ่งนวัตกรรมทางการศึกษานี้สามารถนำไปจัดการเรียนการสอน ในเนื้อหากลุ่มผู้ป่วยทางศัลยศาสตร์กลุ่มอื่นได้ นอกจากนั้นยังสามารถเผยแพร่ในหอผู้ป่วย เพื่อให้นักศึกษาและพยาบาลประจำหอผู้ป่วยได้ใช้ประกอบการให้พยาบาลผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวในผู้ป่วยศัลยกรรมต่อไป