การที่คนเรา มองเห็นได้นั้น เนื่องจากการทำงานร่วมกันของโครงสองชนิดในการรวมแสงให้ไปตกบนจอประสาทตา โครงสร้างแรกอยู่หน้าสุดของลูกตาคือ "กระจกตา" จะทำหน้าที่หักเหแสงเข้าลูกตา โครงสร้างที่สองอยู่ส่วนในของลูกตาเรียกว่า "เลนส์แก้วตา"กระจกตาและเลนส์แก้วตาจะรวมแสงเข้าสู่ตาเพื่อให้ไปตกบนจอประสาทตาเป็นจุดเดียว จากนั้นแสงจะถูกเปลี่ยนกลายเป็นสัญณาณไฟฟ้าส่งไปที่สมองเพื่อตีความหมายเป็นภาพที่เห็นตรงหน้า

การผ่าตัดหัวใจถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม การฟื้นตัวภายหลังการผ่าตัดจึงเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินความสำเร็จของการผ่าตัดและภาวะสุขภาพของผู้ป่วย การฟื้นตัวเป็นกระบวนการต่อเนื่องในการกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลเป็นปกติของร่างกายภายหลังการผ่าตัด สามารถกลับมาทำหน้าที่ได้เป็นปกติหรือใกล้เคียงกับภาวะปกติให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ทั้งสุขภาพกายและจิตสังคม

ทางด้านศัลยศาสตร์ การฟื้นตัว (recovery) เป็นเป้าหมายหลักที่ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการดูแลผู้ป่วยทางศัลยกรรมทุกสาขาให้ความสำคัญ และกำหนดให้เป็นผลลัพธ์ที่สำคัญของการรักษาพยาบาล ดังนั้นนักวิชาการทางคลินิกจึงได้พัฒนาแบบประเมิน การฟื้นตัว ที่มีความไว ความตรง และความเที่ยงเพื่อใช้วัดความก้าวหน้าในการฟื้นตัวภายหลังการผ่าตัดแต่ละระยะ ตั้งแต่ระยะวิกฤติภายหลังการผ่าตัดทันที ระยะพ้นวิกฤติ และระยะฟื้นฟูสภาพ

การรักษาด้วยการผ่าตัดนับเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในผู้ป่วยกลุ่มโรคกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อ โดยเฉพาะในกลุ่มข้อเสื่อมในระยะท้าย ผู้ป่วยมักมีอาการแสดง ในด้านของอาการปวด การทำหน้าที่ของข้อผิดปกติ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการเคลื่อนไหว และมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ดังนั้นการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมุ่งเน้นผลลัพธ์การบรรเทาอาการปวด คงการทำหน้าที่ของข้อต่างๆ และคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

เครื่องมือวิจัย หมายถึง เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือสิ่งที่ใช้เป็นสื่อสำหรับนักวิจัยซึ่งนำมาใช้ในการรวบรวมข้อมูลตามตัวแปรในงานวิจัยที่กำหนดไว้อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่าการพัฒนาเครื่องมือวิจัยชุดหนึ่งๆนั้น มีกระบวนการที่ซับซ้อนจึงต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาเครืองมือค่อนข้างนาน ดังนั้น นักวิจัยไทยส่วนใหญ่จึงนิยมนำเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นในต่างประเทศซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานมาแปลเป็นภาษาไทยเพื่อนำมาใช้ในงานวิจัยของตนเองดังนั้น เทคนิคการแปลเครื่องมือวิจัยที่จะนำมาใช้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่นักวิจัยควรให้ความสำคัญและเลือกใช้ให้เหมาะสม

แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1331197