คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนนักปฏิบัติ กลุ่ม NS Smart Office ครั้งที่ 7/2558 ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของงานคลังและพัสดุ เรื่อง การจัดหาพัสดุ เมื่อวันพุธที่ 29 เมษายน 2558 เวลา 12.00-13.00 น. ณ ห้อง 501 ชั้น 5 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์วชิรา วรรณสถิตย์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายงบประมาณและการคลัง และหัวหน้างานคลังและพัสดุ เป็นวิทยากร ซึ่งสามารถสรุปประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจได้ดังนี้

PDF Download

 

วิทยากรกล่าวถึงระเบียบข้อบังคับการจัดหาพัสดุของคณะพยาบาลศาสตร์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล คณะจึงใช้ระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัยดังนี้

  • ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2551
  • ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551
  • ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติ อัตรา วงเงิน และการดำเนินการตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2551

ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2551

  • ข้อ 3 ข้อบังคับนี้ ให้ใช้บังคับทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล เว้นแต่สภามหาวิทยาลัยจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
  • “พัสดุ” หมายถึง วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง การบริการ การจ้างที่ปรึกษา

การจัดหาพัสดุ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล  ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 มี 4 วิธี

  • วิธีตกลงราคา : การจัดหาที่มีราคาไม่เกิน 300,000 บาท
  • วิธีประกวดราคา : การจัดหาที่มีราคาเกิน 300,000 บาท
  • วิธีคัดเลือก : การจัดหาที่มีราคาเกิน 300,000 บาท
  • วิธีพิเศษ : การจัดหาที่มีราคาเกิน 2,000,000 บาท

การจัดหาพัสดุ วิธีตกลงราคา

  • การจัดหาพัสดุ (ของที่มีราคาต่ำกว่า 5,000 บาท)
  • การจัดหาพัสดุ ที่มีวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท
  • การจัดหาพัสดุ ที่มีวงเงินเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 300,000 บาท

การจัดหาพัสดุ วิธีประกวดราคา

  • การจัดหาพัสดุ ที่มีวงเงินเกิน 300,000 บาท
  • ถ้าวงเงินเกิน 2,000,000 บาท ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

         * ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

การจัดหาพัสดุ วิธีคัดเลือก

  • การจัดหาพัสดุ ที่มีวงเงินเกิน 300,000 บาท และมีข้อบ่งชี้  

การจัดหาพัสดุ วิธีพิเศษ

  • การจัดหาพัสดุ ที่มีวงเงินเกิน 2,000,000 บาท และมีข้อบ่งชี้ 

หน่วยงานประสงค์จะจัดหาพัสดุ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานหรือกิจกรรม หน่วยงานทำอย่างไร

หน่วยงานส่วนใหญ่ จะทำหนังสือเสนอผู้บริหารขออนุมัติหลักการในการจัดหาพัสดุ โดย

  • ไม่กำหนดรูปแบบ/รายละเอียดคุณลักษณะ/TOR หรือ
  • กำหนดแต่ไม่ชัดเจนและไม่กำหนดวงเงิน หรือกำหนดเวลาใช้งาน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการจัดหาได้ตรงตามวัตถุประสงค์

ข้อมูลที่ควรปรากฏในหนังสือขออนุมัติหลักการ

  • เหตุผลและความจำเป็น
  • ชื่อรายการพัสดุ วงเงิน ที่ประสงค์ให้จัดหา
  • แหล่งเงินที่ใช้ในการจัดหา
  • กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุ
  • รายชื่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
  • ลายมือชื่อผู้เสนอขออนุมัติหลักการ หัวหน้าหน่วยกำกับ และลายมือชื่อผู้อนุมัติ

เอกสารแนบท้ายหนังสือขออนุมัติหลักการ

  • รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ: spec (กรณีเป็นการจัดหาครุภัณฑ์)
  • ขอบเขตของงาน (กรณีเป็นการจ้างบริการต่างๆ)
  • แบบรูป รายละเอียด (กรณีเป็นงานจ้างปรับปรุงหรือก่อสร้าง)

กรณีที่ต้องจัดทำ TOR (Terms of Reference)  ตามหัวข้อที่กรมบัญชีกลางกำหนด เป็นการดำเนินการจัดหาที่มีวงเงิน ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป

องค์ประกอบของการกำหนด TOR

  • ความเป็นมา
  • วัตถุประสงค์
  • คุณสมบัติของผู้เสนอราคา
  • รูปแบบรายการ หรือคุณลักษณะเฉพาะ
  • ระยะเวลาดำเนินการ
  • ระยะเวลาส่งมอบของหรืองาน
  • วงเงินในการจัดหา

การจัดหาพัสดุ (วัสดุราคาต่อหน่วยต่ำกว่า 5,000 บาท)

  • กรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม “ใบเบิกพัสดุ” โดยระบุรายละเอียดวัสดุที่ต้องการเบิกให้ละเอียดชัดเจน และพิจารณาปริมาณตามความจำเป็น ลงชื่อหัวหน้างาน ผ่านรอง/ผู้ช่วยคณบดีในกำกับ
  • ส่งใบเบิกพัสดุไปที่งานพัสดุ
  • รับพัสดุที่งานพัสดุ โดยต้องตรวจนับจำนวนรายการให้ถูกต้องก่อนลงนามรับ

การจัดหาพัสดุครุภัณฑ์

  • ภาควิชา/หน่วยงาน
  • กำหนด Spec. ของพัสดุที่ต้องการ
  • ทำบันทึกขออนุมัติในหลักการ โดยระบุเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องใช้ รายการพัสดุ วงเงิน กำหนดเวลาการใช้พัสดุ และรายชื่อผู้ตรวจรับพัสดุ เสนอผู้มีอำนาจลงนาม
  • ส่งบันทึกที่ได้รับอนุมัติในหลักการ พร้อมแนบ รายละเอียดรูปแบบและรายละเอียด (spec) และใบเสนอราคา

การจัดหาพัสดุ ที่มีวงเงินตั้งแต่ 2,000,000 บาท โดยวิธี e-Auction)

  • ภาควิชา/หน่วยงาน
  • กำหนด Spec. ของพัสดุที่ต้องการ (ขอบเขตของงาน: TOR) โดยคณะกรรมการร่างขอบเขตของงาน
  • ทำรายงานผลการจัดทำร่าง TOR เสนอผู้มีอำนาจลงนาม
  • ทำบันทึกขออนุมัติในหลักการ โดยระบุเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องใช้ รายการพัสดุ วงเงิน กำหนดเวลาการใช้พัสดุ และรายชื่อผู้ตรวจรับพัสดุ เสนอผู้มีอำนาจลงนาม

การตรวจรับพัสดุ

  • การจัดหาที่มีวงเงินไม่เกิน 30,000 บาท ให้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่คนหนึ่งซึ่งไม่ใช่ผู้ดำเนินการจัดหา เป็นผู้ตรวจรับพัสดุ
  • การจัดหาที่มีวงเงินเกิน 30,000 บาท ให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ (3 คน) เป็นผู้ตรวจรับพัสดุ

ประเด็นแลกเปลี่ยน

  1. หน่วยงานประสงค์จะจัดหาพัสดุ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานหรือกิจกรรม หน่วยงานทำอย่างไร

ตอบ ถ้าเป็นพัสดุที่มีลักษณะพิเศษให้หน่วยงานขออนุมัติหลักการ ระบุวงเงิน และกำหนด Spec เพื่อความถูกต้องในการจัดหาพัสดุนั้นๆ แต่ถ้าไม่มีการกระบุ Spec งานคลังและพัสดุจะจัดหาพัสดุตาม Spec ที่ใช้อยู่ทั่วไป ทั้งนี้ในการจัดหาพัสดุ ขอให้หน่วยงานกำหนดเวลาการใช้พัสดุ จะทำให้การจัดหาได้ตรงตามเวลาที่หน่วยงานต้องการใช้งานอีกด้วย

 


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1322766