ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาแก่ผู้สูงอายุ

เมื่อวันพุธที่ 16 พฤษภาคม 2561 ณ ห้อง 303 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยมี รศ.ดร.อัจฉราพร สี่หิรัญวงค์  ผศ.ดร.พวงเพชร เกษรสมุทร และดร. ภาศิษฏา อ่อนดี เป็นวิทยากร รายละเอียดสรุปได้ดังนี้

 

ดร. ภาศิษฏา อ่อนดี

               ดร. ภาศิษฏา อ่อนดี ได้เล่าประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาผู้สูงอายุ สรุปประเด็นได้ ดังนี้ผู้สูงอายุที่ชมรมผู้สูงอายุที่หอพักบางขุนนนท์ เป็นกลุ่มที่มีความต้องการการให้คำปรึกษา ซึ่งปัญหาในการมาปรึกษามักเป็นปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว หรือลูกๆ ปัญหาส่วนตัว ปัญหาทางกาย มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการพบแพทย์ เช่น แพทย์ดุไม่อยากไปพบ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เข้าถึงบริการการรักษาทางการแพทย์ได้สะดวกเนื่องจากเป็นข้าราชการบำนาญเป็นส่วนใหญ่ และยังไม่พบปัญหาซึมเศร้าในผู้สูงอายุกลุ่มนี้

               ส่วนประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาผู้สูงอายุอื่นๆ นั้น พบว่าปัญหาของผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเป็นประเด็นเกี่ยวกับลูกหลาน เช่น 1) ผู้สูงอายุ 80 ปี ถูกส่งต่อมาด้วยมีภาวะซึมเศร้า มาปรึกษาด้วยความเครียดจากการที่ลูกเขยตบตีทำร้ายลูกสาว 2) ผู้สูงอายุ 84 ปี มีภาวะซึมเศร้า ซึ่งประเมินโดยลูกซึ่งเคยมาอบรม care giver ของคณะฯ จึงได้ทำการส่งต่อเพื่อรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช 

 

รศ. ดร. อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์

               รศ. ดร. อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์ได้เล่าประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาผู้สูงอายุ สรุปประเด็นได้ว่า ส่วนใหญ่แล้ว สาเหตุของปัญหาที่ทำให้ผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้ามักมาจากการมีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุรายหนึ่งขัดแย้งกับแม่ที่ยกสมบัติให้ลูกคนอื่น ทั้งๆ ที่ตนเองเป็นคนดูแลแม่ การให้การช่วยเหลือก็ใช้วิธีการดึง positive direction ชี้ให้เขาเห็นถึงข้อดีของตนเอง โดยการ reframing ความคิดเขาใหม่ว่าตอนนี้เขามีข้อดีอะไร เป็นต้น ในผู้สูงอายุที่มีปัญหา low self-esteem และ low self-efficacy เมื่อมีภาวะซึมเศร้ามักยอมรับไม่ได้ จึงไม่กินตามแพทย์สั่งแต่ไปกินสมุนไพรแทน การให้ช่วยเหลือที่สำคัญคือการสื่อสาร และให้ความรู้กับผู้ดูแล   

 

ผศ. ดร. พวงเพชร เกษรสมุทร

               ผศ. ดร. พวงเพชร เกษรสมุทร ได้เล่าประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาผู้สูงอายุที่ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกฯ สรุปประเด็นได้ว่าปัญหาที่พบมักเป็นเรื่องของ Violence ในครอบครัว ตัวอย่างเช่น มีผู้สูงอายุรายหนึ่งถูก abuse ตั้งแต่เด็กในครอบครัวตนเอง และมาเจออีกครั้งเมื่อแต่งงาน ซึ่งในการให้คำปรึกษาที่นี่ต้องพยายามจบ case ให้ได้ใน 1 ครั้ง ซึ่งในการให้คำปรึกษาที่นี่พบถูก abuse หลาย case ซึ่งผู้สูงอายุเหล่านี้ต้องอยู่ในภาวะจำยอม เก็บกดและเกิดภาวะซึมเศร้า บางครั้งรู้สึกอยากโต้ตอบแต่ทำไม่ได้ ซึ่งในการให้คำปรึกษาจึงต้องค้นหาความคาดหวังกับความจริงของผู้สูงอายุให้ได้เพื่อจะได้ปิดการให้คำปรึกษาได้ สิ่งที่สำคัญคือต้องสร้าง assertive ให้เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ โดยการตั้งคำถามว่าเราจะอยู่กับคนคนนี้อย่างไรโดยไม่ให้ชีวิตเสียสมดุล ซึ่งผู้สูงอายุจะคิดว่าต้องบอกความต้องการของตนเอง โดยให้การตอบโต้อย่างนุ่มนวล เตรียมให้ผู้สูงอายุ assertive โดยใช้ I-Message และแนะนำให้ประเมินสถานการณ์ด้วย ในการ response บางเคสจะเป็นในเรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัว ในหลายเคสมีปัญหาเรื่องบุตรหลาน ความคาดหวังที่มีต่อลูก ไม่อยากให้เป็นภาระกับลูก ปัญหาคนดูแล ความเหงา มีเพียงเคสเดียวที่เป็นปัญหาวิตกกังวลเกี่ยวกับโรค ในการให้การช่วยเหลือส่วนใหญ่ใช้ client-centered เป็นตัวนำในการ approach และใช้ CBT เทคนิค thought stopping และให้ผู้สูงอายุประเมินความคาดหวังกับความจริง  ทั้งนี้ จากประสบการณ์ที่ให้คำปรึกษามาทั้งหมด 20 case จะมีประมาณ 3-4 case ที่จะต้องกินยาทางจิตเวช

 

สรุปปัญหาที่พบในผู้สูงอายุที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้า

1. Loss and grief (ภาวะสูญเสีย) เช่น สูญเสียคู่ชีวิต 

2. Low self-esteem เนื่องจาก สูญเสียสมรรถนะในการดูแลตนเอง และความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง

3. Separation anxiety

4. Unfinished business สิ่งที่ค้างคาใจไม่มีโอกาสได้ทำ

5. Expectation ความคาดหวัง

6. ความขัดแย้งกับคนในครอบครัว 

สรุปการให้การช่วยเหลือ

               การเยียวยาจิตใจผู้สูงอายุ ต้อง explore ให้เห็นถึงต้นตอปัญหา โดยต้องสำรวจให้ได้ถึงสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง แล้วให้การช่วยเหลือตามประเภทของปัญหา เช่น ถ้าเป็นปัญหาเกี่ยวกับ Self ไม่ดี ก็ใช้ Satir ในการลงไปแก้ไขที่ self, การใช้ Brief intervention เพราะระยะเวลาที่ให้คำปรึกษามีจำกัด, ใช้ CBT กรณีที่มีปัญหาเรื่องความคิด, ใช้ IPT ถ้ามีปัญหาเรื่องของสัมพันธภาพ เป็นต้น 

รศ.ดร.นพพร ว่องสิริมาศ และผศ.ดร.สุภาภัค เภตราสุวรรณ ผู้ลิขิต