ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “เทคนิคการขอทุน” เมื่อวันพุธที่ 24 สิงหาคม 2559 โดยมี รศ ดร. อัจฉราพร สี่หิรัญวงค์ เป็นวิทยากร

เทคนิค 

การที่นักวิจัยจะประสบความสำเร็จจากการขอทุนได้นั้น นักวิจัยต้อง  “มีฝัน” กล่าวคือ นักวิจัยควร

เริ่มจากการมีความฝัน แล้วแต่ว่าฝันในเรื่องอะไร เช่น ฝันว่าต้องการเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือต้องการเป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่สนับสนุนให้ประชาชนมีสุขภาพดี เป็นต้น 

การเริ่มต้น

  1. นักวิจัยควรประเมิน area of interest ของตนเองว่าตนเองให้มีความชัดเจนก่อนว่ามีความเชี่ยวชาญด้านไหน
  2. แหล่งทุนแต่ละแห่งมีกติกาและเป้าหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นนักวิจัยควรศึกษาระเบียบหรือกติกาของแหล่งทุนที่สนใจให้ดีก่อน ว่านักวิจัยหรืองานวิจัยนั้นสอดคล้องกับกติกาและเป้าหมายของแหล่งทุนนั้นหรือไม่ จะส่งผลให้ความเป็นไปได้ในการได้รับทุนมีมากขึ้น เช่น 
    • ทุนนักวิจัยรุ่นใหม่ โดย สกว. ซึ่งเน้นในเรื่องพัฒนาองค์ความรู้ใหม่หากนักวิจัยจบเอก ภายใน 5  ปี จะมีโอกาสได้รับทุนสูง และนักวิจัยที่ได้รับทุนนักวิจัยรุ่นใหม่มาก่อน จะสามารถขอทุนต่อๆไปได้ เช่น ทุนสำหรับนักวิจัยรุ่นกลาง
    •  สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เน้นเรื่องการพัฒนาประเทศ
    •  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เน้นเรื่องโครงการกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมสุขภาพ  

** แต่อย่างไรก็ตามแหล่งทุนวิจัยส่วนมาก เน้นเรื่องของการเกิดผลงาน สร้างเครื่องมือ หรือ พัฒนาโปรแกรม (intervention) ซึ่งมี impact ต่อการพัฒนาประเทศ **

สิ่งที่นักวิจัยต้องเตรียมตัวเพื่อขอทุน

  1. นักวิจัยจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่ว่าเมื่อถึงเวลาที่มีทุนเข้ามา นักวิจัยจะได้มีความพร้อมในการที่จะเสนอขอทุนทันที
  2. เตรียมเนื้อหา การออกแบบการวิจัย สถิติที่จะใช้ เครื่องมือหรือแบบวัดเพื่อใช้ในงานวิจัย
  3. หมั่นหาความรู้สะสมไว้สม่ำเสมอ เพื่อการทำงานวิจัยใหญ่ๆ ได้ เช่น การทำวิจัยแบบ PAR นักวิจัย
  4. อาจจะเริ่มทำงานเล็กๆ ก่อนเมื่อต้องทำแผนงานวิจัยใหญ่ จะได้สามารถทำได้ 

การเขียนโครงร่างวิจัย

  1. ในการเขียนโครงร่างงานวิจัยให้ได้ทุนนั้น ข้อเสนองานวิจัยต้องมี impact ต่อสังคม โดย ที่งานวิจัยที่จะทำในที่ใด นักวิจัยต้องดู gap of knowledge ในพื้นที่นั้นๆ ด้วย
  2.  งานวิจัยต้องเห็นความร่วมมือของบุคลากรหลายๆ ฝ่าย เช่น บุคลากรในพื้นที่ หรือบุคลากรสาขาวิชาชีพอื่นที่จะช่วยให้การดำเนินงานของงานวิจัยสำเร็จ เป็นต้น
  3. การเขียนแผนงานวิจัย ที่มีโครงงานวิจัยย่อยนั้น ต้องเขียนให้มีการเชื่อมโยงระหว่างโครงการย่อยกับแผนงานวิจัยใหญ่ด้วย

ทำวิจัยอย่างไรให้สำเร็จ

  1. การติดตาม Monitor มีความสำคัญมาก นักวิจัยต้องกำกับติดตามใกล้ชิด เวลาเก็บข้อมูลวิจัย หรือการทำ intervention ที่ให้ทีมวิจัยในท้องที่ช่วยดำเนินการเก็บข้อมูลหรือทำ intervention
  2.  ประวัติของนักวิจัยมีผลต่อการได้รับสนับสนุนทุนเช่นกัน หากนักวิจัยมีโครงการวิจัยที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ หรือมีงานวิจัยที่ยังไม่แล้วเสร็จเป็นจำนวนมาก จะส่งผลให้แหล่งทุนพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการทำวิจัยให้แล้วเสร็จของนักวิจัยด้วย

 


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Show Case Best Practice 2564

Show Case Best Practice 2565

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1322667