• MUQF2023-Slide1.PNG
  • MUQF2023-Slide2.PNG
  • MUQF2023-Slide3.PNG

ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การสอนภาคปฏิบัติ ในวันที่ 27 เมษายน 2559 โดย อ. ดร. อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยบุคคลที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ (Manipulation behavior) และผศ. ดร. อติรัตน์  วัฒนไพลิน เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยบุคคลที่มีพฤติกรรมแยกตัวทางสังคม (Withdrawal behavior)

 

เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยบุคคลที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ (Manipulation behavior)

 

 

 

หลักการการดูแล (ตามทฤษฎี)

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

1

ความหมายของพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ

พฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ หมายถึง  พฤติกรรมที่ทำให้ตนได้มาซึ่งสิ่งที่ปรารถนาด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโน้มน้าวชักจูง หลอกลวง หรือบังคับ โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึก ความสนใจ หรือความต้องการของบุคคลที่ถูกกระทำ

-

2

พฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการมักพบในผู้ป่วยประเภทใด

1.       บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ แบบ

-          Borderline personality disorder

-          Antisocial personality disorder

-          Histrionic personality disorder

-          Narcissistic personality disorder

2.       บุคคลที่มีความผิดปกตทางจิตเวช เช่น

-          Substance abuse

-          Schizophrenia

-          Bipolar disorders manic episode

 

 

 

-

 

 

3

รูปแบบการแสดงออกของพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ

     1. การทำร้ายตนเอง (self harm) เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น ให้ตนได้รับการตอบสนองความต้องการ โดยใช้การทำร้ายตนเองเพื่อให้บุคคลอื่นกระทำในสิ่งที่ตนเรียกร้องหรือต้องการให้ อย่างไรก็ตามแรงจูงใจในการทำร้ายตนเองนั้นมีหลายปัจจัย เช่น รู้สึกเศร้าและทุกข์ใจมาก หรือเพื่อต้องการบรรเทาความรู้สึกกดดันจากความรู้สึกแปลกแยก ผู้ดูแลต้องระวังการตัดสินผู้ป่วยว่า ผู้ป่วยทำร้ายตนเองเพื่อเรียกร้องความสนใจเท่านั้น และไม่ให้ความสนใจดูแลผู้ป่วย เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยได้

     2. การทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาในสิ่งทีต้องการ (pervasive) ด้วยวิธีการต่างๆไม่ว่าจะถูกต้องหรือไม่ มีแรงจูงใจและแรงผลักดันในการกระทำอย่างมาก อาจมีการวางแผนอย่างตั้งใจถึงขั้นการทำร้ายบุคคลอื่นให้ได้รับบาดเจ็บได้  โดยไม่คำนึงถึงบุคคลที่ถูกกระทำว่าจะเป็นอย่างไร  ไม่เคารพในสิทธิ์ของเขา และกระทำโดยที่ตนไม่รู้สึกผิด

การแสดงออกของพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ

พฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการสามารถพบได้ทั้งในบุคคลทั่วไป และในผู้ป่วยจิตเวช อย่างไรก็ตามเราจะสามารถจำแนกได้อย่างไรว่าพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการที่บุคคลแสดงออกนั้นเป็นปัญหาหรือไม่?

พฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการที่เป็นปัญหานั้น จะมีการแสดงทางอารมณ์และพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ไม่สามารถหยุดพฤติกรรมเองได้ง่าย และเมื่อเจ้ากี้เจ้าการกับบุคคลอื่นไม่สำเร็จจะตอบโต้โดยการแสดงออกที่รุนแรง

สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ การประเมินถึงพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการที่บุคคลแสดงออกนั้นเป็นปัญหาพฤติกรรมหรือไม่ และเกิดจากสาเหตุใด เช่น หากผู้ป่วยได้รับยาแล้วอาการเจ้ากี้เจ้าการลดลง  แสดงว่าพฤติกรรมนั้นคือมาจากโรค  แต่บางกรณี ได้รับยาแล้วพฤติกรรมไม่ได้เปลี่ยนแปลง  แสดงว่าพฤติกรรมนี้มาจากพื้นอารมณ์หรือพื้นพฤติกรรมของผู้ป่วยมากกว่า  ดังนั้น เราควรประเมินให้ชัดเจนก่อนว่าพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการของผู้ป่วยนั้นเกิดจากสาเหตุใด

 

 

4

แรงจูงใจในการแสดงออกถึงพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ

1. เพื่อให้ได้รับการยอมรับ นับถือจากบุคคลอื่น (Manipulation as acquiring status and respect)

     2. เพื่อแสดงออกถึงการไม่ยอมรับ ต่อต้าน และไม่เป็นมิตร (Manipulation as resistance and rebellion)

     3. เพื่อเรียกร้องให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการผ่านสื่อหรือผู้มีอำนาจภายนอก (Manipulation as campaigning)

-

5

การจัดการและการพยาบาลบุคคลที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ 

1.       สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยให้เกิดความไว้วางใจ

2.       ประเมินอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของผู้ป่วย

-          อารมณ์ มีอารมณ์หงุดหงิด โกรธ ผิดหวัง หรือ เสียหน้า มีการควบคุมอารมณ์ได้หรือไม่ มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็วหรือไม่

-          ความคิด มีความคิดต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร มีความคิดหมกมุ่นหรือวกวนอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือไม่ มีความคิดทำร้ายตนเอง และผู้อื่นหรือไม่

-          พฤติกรรม : มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ขาดการยับยั้ง ชอบทำลายข้าวของ มีการพูดแบบสุภาพแต่ไม่ทำตามที่พูด หรือพูดเสียงดัง ด่าทอหรือไม่

3. ประเมินสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ว่ามีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นเป็นอย่างไร

4. ค้นหาและวิเคราะห์สาเหตุ หรือแรงจูงใจที่ทำให้แสดงพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ

5. วางแผนให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับสาเหตุหรือแรงจูงใจ

6. ให้การพยาบาลตามแผนที่วางไว้

7. ประเมินผลการพยาบาล

การจัดการและการพยาบาลบุคคลที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ 

1. ผู้ป่วยมีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการขณะที่กำลังจัดผู้ป่วยเข้ากลุ่มกิจกรรม โดยเข้ามาจัดการเรียกเพื่อนผู้ป่วยด้วยกันเข้ากลุ่มในลักษณะเจ้ากี้เจ้าการ

การจัดการ: กล่าวขอบคุณผู้ป่วยที่ช่วยเรียกผู้ป่วยเข้ากลุ่ม  แล้วให้เพิกเฉยต่อพฤติกรรมนั้นเสีย พร้อมทั้งเชิญให้ผู้ป่วยเข้าไปนั่งรอในกลุ่มเหมือนกับผู้ป่วยอื่น  และให้นักศึกษาทำหน้าที่เชิญผู้ป่วยเข้ากลุ่มแทน

 

2. ขณะทำกลุ่มกิจกรรม  ผู้ป่วยมีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการโดย

    1) บอกนักศึกษาว่าควรที่จะทำอย่างนั้นอย่างนี้ 

    2) ผูกขาดการแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม

การจัดการ:

1) การแสดงออกให้ผู้ป่วยเห็นว่าพฤติกรรมนั้นไม่เหมาะสมโดยการมองหน้าผู้ป่วย หรือยับยั้งผู้ป่วยโดยการบอกกับผู้ป่วยว่าขอให้นักศึกษาพูดก่อน

2) หาจังหวะแทรกในระหว่างที่ผู้ป่วยพูด และบอกให้ผู้ป่วยเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยอื่นได้พูดบ้าง โดยอาจจะขอความคิดเห็นจากผู้ป่วยอื่นที่คาดว่าจะสามารถพูดแสดงความคิดเห็นได้ เพราะหากเรียกผู้ป่วยที่เงียบหรือไม่ค่อยพูดก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยกลับมาแสดงพฤติกรรมดังกล่าวอีก

 

 

หลักการพยาบาลบุคคลที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ 

1.   ให้การยอมรับผู้ป่วย และตระหนักว่าพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกนั้นมีความหมายที่ผู้ป่วยใช้ในการสื่อสารถึงความคับข้องใจ ความทุกข์ใจ การไม่ได้รับความรัก การยอมรับ หรือเพื่อปกป้องตนเอง

2.    ให้ความรัก ความเข้าใจ ความมั่นคง เชื่อถือและไว้ใจได้ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกเชื่อมั่นและไว้วางใจพยาบาล เนื่องจากผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการนั้นมักเติบโตมาด้วยการขาดความรัก ความมั่นคง เชื่อถือและไว้ใจได้ การแสดงออกของพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการก็มักมาจากความต้องการการยอมรับจากบุคคลอื่น

3.   มีความอดทน มั่นคง สุขุม ต่อการแสดงพฤติกรรมของผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการตอบโต้ด้วยอารมณ์ คำพูด หรือพฤติกรรมที่รุนแรง เพราะนอกจากจะกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอารมณ์โกรธแล้ว ยังเป็นแรงเสริมให้ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมมากขึ้น

4.   หลีกเลี่ยงการให้สิทธิพิเศษ การต่อรอง การโต้แย้ง และการวิพากษ์วิจารณ์ของผู้ป่วยต่อผู้อื่น

5.   จัดให้ผู้ป่วยได้เข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และทำได้สำเร็จเพื่อเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และลดพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการลง

6.   จัดให้ผู้ป่วยได้ช่วยทำกิจกรรมประจำวันของหอผู้ป่วยเพื่อเสริมสร้างความนับถือและภาคภูมิใจในตนเอง

7.   ช่วยให้ผู้ป่วยได้ทำความเข้าใจพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการของตน และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำ เพื่อให้เกิดการยอมรับ และปรับปรุงตนเอง

8.   ฝึกทักษะการจัดการกับปัญหา และการควบคุมตนเองให้ผู้ป่วยได้ปฏิบัติตามกฎกติกา และการเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น และให้แรงเสริมทางบวก เช่น คำชมเชยเมื่อผู้ป่วยสามารถควบคุมพฤติกรรมของตน หรือมีทักษะการจัดการกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม

9.   อธิบายการจำกัดพฤติกรรม (limit setting) ให้ผู้ป่วยทราบตั้งแต่เริ่มแรก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม และไม่สามารถควบคุมได้ว่าผู้ป่วยอาจได้รับการพิจารณาให้ถูกจำกัดพฤติกรรม

การยับยั้งพฤติกรรมผู้ป่วย  โดยใช้เสียงดังจะไม่ได้ผล  หากแต่ถ้าพยาบาลใช้วิธีการที่มั่นคง สุขุม  ไม่แสดงการโต้ตอบรุนแรง หรือใช้ความนิ่ง จะทำให้สามารถหยุดพฤติกรรมเขาได้ดีกว่า

บุคลากรทางการแพทย์ควรแสดงแบบอย่างที่ดีกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการแสดงพฤติกรรมที่เป็นการเจ้ากี้เจ้าการกับผู้ป่วย หรือการใช้พลังอำนาจที่มีการกว่าผู้ป่วย

 

 

 

 ข้อเสนอแนะ

ในการสอนนักศึกษาให้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการจัดการกับพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการนั้น มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

  1. เตรียม นักศึกษาก่อนทำกิจกรรมกลุ่ม (Per-conference) กรณีที่พบว่าจะมีผู้ป่วยเจ้ากี้เจ้าการมาเข้ากลุ่มกิจกรรมด้วย ว่าลักษณะของผู้ป่วยเป็นอย่างไร และมีหลักการในการจัดการกับพฤติกรรมของผู้ป่วยนี้อย่างไร
  2. ให้นักศึกษาเข้ารับส่งเวร พร้อมทั้งส่งเวรให้กับเพื่อนที่ไม่ได้เข้ารับเวรด้วย เพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้รู้จักผู้ป่วยแต่ละรายมากขึ้นและสามารถเตรียมรับมือกับผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการได้

 เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยบุคคลที่มีพฤติกรรมแยกตัวทางสังคม (Withdrawal behavior)

 

 

หลักการการดูแล (ตามทฤษฎี)

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

1

ลักษณะผู้ป่วย

ผู้ป่วยที่มีอาการแยกตัวทางสังคม จะมีลักษณะ หลีกหนีการมีปฏิสัมพันธ์และการร่วมกิจกรรมทางสังคมกับผู้อื่น แยกตัวไปอยู่ตามลำพัง ซึ่งสามารถเกิดได้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคจิตเภท และผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ซึ่งจะแสดงพฤติกรรม

- นั่งแยกตัวอยู่ตามลำพัง

- ไม่สื่อสาร

- ไม่สบตากับผู้อื่น

- ไม่สามารถทำหน้าที่ทางสังคม

- หลีกเลี่ยง/ปฏิเสธการเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรม

ลักษณะผู้ป่วยที่พบในหอผู้ป่วย

1. กำลังเข้ากลุ่ม ผู้ป่วยก็ลุกจากกลุ่มออกไปและมีพฤติกรรมพูดคนเดียว

การจัดการ: ปล่อยคนไข้ไป  แล้วรายงานพยาบาล ภายหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยาระยะหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น

2. ผู้ป่วยบอกว่าอยู่บ้านไม่พูดกับใคร เพราะเขาหาว่าผมบ้า เนื่องจากการถูกตีตราจากคนรอบข้างทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแยกตัว

3. ผู้ป่วยซึมเศร้าไม่ยอมพูดด้วย ใช้เวลานานมาก

4. ผู้ป่วยไม่พูดเพราะมี hallucination สั่งว่าไม่ให้พูด 

การจัดการ: สร้างสัมพันธภาพสม่ำเสมอ เอาเข้ากลุ่ม แม้ไม่พูด ให้การยอมรับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ

2

อาการแยกตัวทางสังคมพบได้ใน

- ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการด้านบวก เช่น ความคิดหลงผิด หวาดระแวง ทำให้แยกตัวจากสังคม

- เป็นองค์ประกอบของกลุ่มอาการด้านลบในผู้ป่วยจิตเภท

- ผู้ป่วยที่มีการสื่อสารบกพร่องจากความคิดไม่ต่อเนื่อง

- ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มีอาการซึมเศร้า และการขาดแรงจูงใจในการร่วมกิจกรรมทางสังคม

- ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ที่การเจ็บป่วยทางจิตและการรับบริการทางสุขภาพจิตทำให้ผู้ป่วยได้รับการตีตราจากสังคม รู้สึกคุณค่าในตนเองลดลง

- ผู้ป่วยที่ความไม่พึงพอใจต่อสัมพันธภาพทางสังคม หรือรู้สึกถูกคุกคามจากสถานการณ์ทางสังคม หรือ รับรู้สถานการณ์ทางสังคมว่าไม่สุขสบายและไม่ปลอดภัย

- ผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลในระดับ panic

- ผู้ป่วยที่ไม่ไว้วางใจผู้อื่น

ให้หอผู้ป่วยจะพบผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมแยกตัวมากใน

- ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่ว ได้ยินเสียงสั่งไม่ให้พูด

- ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

3

พฤติกรรมการแยกตัวทางสังคม ส่งผลให้ผู้ป่วย

- มีความบกพร่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน

- ไม่มีโอกาสการเรียนรู้การปรับตัวด้านจิตใจและสังคมที่เหมาะสมจากบุคคลรอบข้าง

- การทำหน้าที่ทางสังคมบกพร่อง

 

 

4

ข้อวินิจฉัยการพยาบาล

ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแยกตัวทางสังคม

เป้าหมายการพยาบาล และ เกณฑ์การประเมินผล

-  มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับครอบครัว เพื่อ และเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น

-  มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างมีเป้าหมาย

-  ใช้ทักษะทางสังคมอย่างเหมาะสมในการมีสัมพันธภาพ

-  แสวงหาการสนับสนุนทางสังคมจากผู้อื่น

-  ผู้ป่วยเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดกับสมาชิก

-  ผู้ป่วยใช้เวลากับผู้ป่วยอื่นๆและเจ้าหน้าที่ในกลุ่มกิจกรรมบำบัด

-  มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับครอบครัว เพื่อ และเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น

-  มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างมีเป้าหมาย

-  ใช้ทักษะทางสังคมอย่างเหมาะสมในการมีสัมพันธภาพ

แสวงหาการสนับสนุนทางสังคมจากผู้อื่น

 

5

การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาลตามแผนที่ได้วางไว้

1. ลดความคิดหลงผิดโดยการให้ยารักษาอาการทางจิตและจิตบำบัด และประเมินว่าผู้ป่วยได้รับยากรักษาอาการทางจิตในระดับที่เป็นการรักษา

2. จัดสิ่งแวดล้อมที่ลดสิ่งกระตุ้น เช่น เสียงดัง

3.  สร้างสัมพันธภาพและมีปฏิสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งกับผู้ป่วยโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยและไม่ถูกคุกคาม

4. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยด้วยท่าทีที่ยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข (unconditional positive regard) เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในถานะบุคคลและเกิดความไว้วางใจ

5. ซื่อสัตย์และรักษาสัญญาเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจในสัมพันธภาพ

6. อยู่กับผู้ป่วยเพื่อให้กำลังใจตลอดระยะเวลาการเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด ซึ่งการเข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกยากลำบากและหวาดกลัว เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกไว้วางใจและปลอดภัย

7. ระมัดระวังในการสัมผัสผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยมีความวิตกกังวลในระดับที่รุนแรงเพราะการสัมผัสอาจทำให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าเป็นการคุกคาม ช่วยให้ผู้ป่วยมีพื้นที่ส่วนตัว

8. ช่วยให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกเกี่ยวกับการตีตราตนเองที่เกิดขึ้นภายในของผู้ป่วยและความคิดหลงผิด

9. ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความจำกัดของตนเองในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น

10. ฝึกทักษะทางสังคมแก่ผู้ป่วย โดยการระบุทักษะที่ผู้ป่วยบกพร่องและต้องการพัฒนา และจัดลำดับความสำคัญของทักษะที่ต้องการพัฒนา และฝึกทักษะแก่ผู้ป่วย (แยกทักษะที่จำเป็นในการสร้างและดำรงสัมพันธภาพกับผู้อื่นเพื่อฝึกให้ผู้ป่วยมีความสามารถเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยใช้การแสดงบทบาทสมมุติ ตัวแบบทางสังคม การให้แรงเสริมทางบวก)

11. กระตุ้นให้ผู้ป่วยฝึกทักษะทางสังคมที่ได้เรียนรู้ ด้วยความอดทน และให้แรงเสริมแก่พฤติกรรมที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย

12. ชี้แจงกับผู้ป่วยเกี่ยวกับการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่พยาบาลคาดหวัง

13. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยสร้างสัมพันธภาพทางสังคมแบบหนึ่งต่อหนึ่งก่อน โดยการแนะนำตัวเองอย่างซื่อสัตย์ และคำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วยอื่น

14. จัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแก่ผู้ป่วย

- จัดกิจกรรมง่ายๆให้ผู้ป่วยร่วมเพื่อเพิ่มความสนใจและลดความคิดหลงผิด และเพื่อให้ผู้ป่วยอยู่บนความเป็นจริงมากขึ้น

- จัดกิจกรรมที่มีโครงสร้างตามลำดับความสามารถของผู้ป่วย

- จัดกิจกรรมที่เน้นความสนใจและจุดแข็งของผู้ป่วย

- จัดกิจกรรมแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เมื่อผู้ป่วยมีพัฒนาการให้ร่วมกิจกรรมง่ายๆกับสมาชิกหนึ่งถึงสองคนที่ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย เช่น เล่นไพ่ ปิงปอง ร้องเพลง

15.      สังเกต และให้แรงเสริมทางบวกเมื่อผู้ป่วยเริ่มมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น

การสร้างสัมพันธภาพเป็นเรื่องสำคัญในผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมแยกตัว การถามคำถามเชิงลึกจะไม่เหมาะสมหากสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยยังไม่ดีพอ

ความสม่ำเสมอ ของพยาบาลเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยที่แยกตัว ซึ่งในระยะแรกของการสร้างสัมพันธภาพผู้ป่วยอาจพยาบาลหลีกเลี่ยงการสนทนากับพยาบาล ดังนั้นพยาบาลควรมีความอดทนและทักทายพูดคุยกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ จะส่งผลให้สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยดีขึ้น

6

สรุปและประเมินผลการเรียนการสอน

          ผู้ป่วยที่มีอาการแยกตัวทางสังคม จะมีลักษณะ หลีกหนีการมีปฏิสัมพันธ์และการร่วมกิจกรรมทางสังคมกับผู้อื่น แยกตัวไปอยู่ตามลำพัง ซึ่งสามารถเกิดได้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคจิตเภท และผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง

          พฤติกรรมการแยกตัวทางสังคมทำให้ผู้ป่วย มีความบกพร่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน  ไม่มีโอกาสการเรียนรู้การปรับตัวด้านจิตใจและสังคมที่เหมาะสมจากบุคคลรอบข้าง และการทำหน้าที่ทางสังคมบกพร่อง

การพยาบาล

1. การให้ยารักษาอาการทางจิตในระดับที่เป็นการรักษาและจิตบำบัด

2. จัดสิ่งแวดล้อมที่ลดสิ่งกระตุ้น เช่น เสียงดัง

3.  สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับผู้ป่วยโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยและไม่ถูกคุกคาม

4.  ฝึกทักษะทางสังคมแก่ผู้ป่วย โดยการระบุทักษะที่ผู้ป่วยบกพร่องและต้องการพัฒนา และจัดลำดับความสำคัญของทักษะที่ต้องการพัฒนา และฝึกทักษะแก่

จัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแก่ผู้ป่วย

 

 

 

 

 ข้อเสนอแนะ

ในการสอนนักศึกษาให้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการจัดการกับพฤติกรรมแยกตัวนั้น มีข้อเสนอแนะ ดังนี้

  1. ครูต้องช่วยให้นักศึกษาแยกแยะได้ว่าพฤติกรรมของผู้ป่วยนั้นเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเจ็บป่วยหรือเป็นลักษณะนิสัยเดิมของผู้ป่วย   เพราะนักศึกษาจะไม่สามารถแยกได้ว่าอาการของผู้ป่วยเกิดจากอะไร เราต้องช่วยให้ นักศึกษาสามารถแยกแยะหรือประเมินแยกกลุ่มได้  โดยมีข้อสังเกตว่าถ้าพฤติกรรมที่เป็นจากโรคเมื่อให้ยา  อาการจะดีขึ้น   ถ้าไม่ใช่จากโรค การให้การบำบัดทางจิตสังคมจะช่วยได้ดีกว่า
  2. ผู้ป่วยบางคนบอกว่าไม่อยากอยู่กับคนเยอะๆ เราต้องมาดูว่าเขาแยกตัวเพราะอะไร เพราะสภาพของวอร์ด ที่หนาแน่น  อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแยกตัวก็ได้ ประเด็นตรงนี้ ครูต้องชี้ให้นักศึกษาเห็นด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1212121


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Show Case Best Practice 2564

Show Case Best Practice 2565

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1322580