• MUQF2023-Slide1.PNG
  • MUQF2023-Slide2.PNG
  • MUQF2023-Slide3.PNG

คณะกรรมการศูนย์จัดการการฟื้นตัว ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ผลงานบริการวิชาการเพื่อสังคม (Cooperate Social Responsibility: CSR) กับการขอตำแหน่งทางวิชาการ ในวันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2559 ณ ห้องประชุม 704 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ผ่องศรี ศรีมรกต เป็นวิทยากร มีรายละเอียดดังนี้

          งานวิชาการเพื่อสังคม (Socially-engaged Scholarship: SeS) เป็นผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือท้องถิ่นที่เกิดขึ้นโดยใช้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาอย่างน้อยหนึ่งสาขาวิชา และปรากฏผลที่สามารถประเมินได้เป็นรูปธรรมโดยประจักษ์ต่อสาธารณะ ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมนี้ ต้องเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทางด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านเกี่ยวกับ ชุมชน วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง คุณภาพชีวิตหรือสุขภาพ หรือเป็นผลงานที่นำไปสู่การจดทะเบียนสิทธิบัตรหรือทรัพย์สินทางปัญญา ในรูปแบบอื่นที่สามารถแสดงได้เป็นที่ประจักษ์ว่าสามารถใช้แก้ปัญหา หรือพัฒนาสังคม และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างชัดเจนหรือเป็นการเปลี่ยนแปลงในความตระหนักและการรับรู้ในปัญหาและแนวทางแก้ไขของชุมชน

          งานวิชาการเพื่อสังคม ไม่จำกัดเฉพาะ “งานวิจัย” กล่าวคือ ไม่จำเป็นต้องใช้ระเบียบแบบแผนและวิธีการของงานวิจัยเท่านั้น แต่อาจจะผสมผสานกับงานบริการวิชาการ งานการเรียนการสอน และการฝึกอบรม หรืองานอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยมีความสามารถที่จะทำเพื่อให้ตอบสนองสังคมผู้ที่รับประโยชน์ได้ เน้นผลที่จะเกิดขึ้นมากกว่าเน้นความเคร่งครัดของวิธีการวิจัยเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการทำงานวิชาการเพื่อสังคมมีลักษณะใหม่ 2 ประการ คือประการแรก - งานวิชาการเพื่อสังคมหมายรวมถึงภารกิจทั้ง 3 ของมหาวิทยาลัยคือวิจัย บริการวิชาการ และการเรียนการสอนประการที่สอง - งานวิชาการเพื่อสังคม มี 2 ส่วนที่เพิ่มขึ้นมา คือ

  • ต้นน้ำ คือ โจทย์ต้องมาจากสังคม ใช้วิชาการเข้าไปทำความเข้าใจกับสถานการณ์หรือเสนอวิธีแก้ปัญหา พัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นอยู่ในสังคมและต้องบอกได้ว่าเป็นโจทย์ของใคร อยู่ที่ไหน ไม่ใช่ “สังคม” ลอยๆ
  • ปลายน้ำ คือ ทำงานเสร็จแล้วได้ประโยชน์อย่างไร กับใคร ที่ไหนในประเทศไทย (ซึ่งอาจจะกว้างกว่ากลุ่มเป้าหมายเดิมที่เริ่มต้นก็ได้) ส่วนนี้เป็นจุดที่แตกต่างจากงานวิชาการ ซึ่งมุ่งตอบปัญหาของวงการวิชาการสาขานั้น แต่อาจไม่สามารถตอบปัญหาของชุมชนใกล้ๆ มหาวิทยาลัยได้

Check list การทำงานวิชาการเพื่อสังคม (Transformative worldview, Sweetman, 2010)

  • โจทย์วิจัยมาจากกระบวนการร่วมกับชุมชนหรือไม่? 
  • ชุมชนได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน (Actively engaged) ในการทำหรือไม่? 
  • การเก็บข้อมูลและผลของข้อมูลเกิดประโยชน์กับชุมชนอย่างไร? 
  • ได้คำนึงถึงความหลากหลายต่างๆในชุมชนหรือไม่? 
  • ผลงานวิจัยได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์เชิงอำนาจในชุมชนหรือไม่  
  • ผลงานได้สร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงสังคมในชุมชน/นอกชุมชนอย่างไร 

กระบวนการหรือขั้นตอนการทำงานของ SeS

ขั้นตอนที่ 1 - การค้นหาสภาพปัญหาหรือข้อสงสัย ทั้งปัญหาจากชุมชนและปัญหาในทางวิชาการ

ขั้นตอนที่ 2 – การทบทวนสถานการณ์ ถ้าเป็นกรณีงานวิชาการเพื่อวิชาการคือ การทบทวนวรรณกรรม แต่สำหรับ CBR จะเป็นการเสวนาชุมชนเพื่อทบทวนตัวเอง ส่วนงานวิจัยแบบ SeS สามารถใช้ได้ทั้งสองวิธีการผสมกัน

ขั้นตอนที่ 3 - การแสวงหาหรือพัฒนาโจทย์การวิจัย และแสวงหาทีมวิจัย

ขั้นตอนที่ 4 – การสร้างกรอบแนวคิดของการทำ งาน (conceptual frame work) 

ขั้นตอนที่ 5 - การออกแบบการวิจัย ชาวบ้านซึ่งเป็นคนในชุมชน จะมีส่วนร่วมได้อย่างมากในขั้นตอนของการคิดกิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบท และการแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

ขั้นตอนที่ 6 - การสร้างเครื่องมือและเก็บข้อมูล ในขั้นตอนนี้อาจทำ ได้ 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 นำ ชุดเครื่องมือที่เคยใช้อยู่แล้วใน basic research เช่นแบบสอบถาม (questionnaire) เหล่านี้มา modified ใหม่ โดยเพิ่มเติมในเรื่องของการมีส่วนร่วมจากชุมชนเข้าไป ส่วนรูปแบบที่ 2 แบบเป็นการสร้างเครื่องมือชุดใหม่มาใช้เลยหรือจะนำ เครื่องมือของ CBR ซึ่งออกแบบให้มี PAR กำกับอยู่แล้วมาใช้เลย

ขั้นตอนที่ 7 – การจัดการข้อมูล และวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล ในงานของ CBR จะคุ้นเคยกับคำ ว่า “การคืนข้อมูลให้ชุมชน”ซึ่งวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบข้อมูล และเพื่อทำ ให้ข้อมูลนั้นสมบูรณ์ขึ้น การคืนข้อมูลให้ชุมชนคล้ายกับรายงานประกอบผลในตลาดหุ้น เป็นการเอาผลประกอบการไปคืนให้กับเจ้าของหุ้น แต่เวลาคืนให้ต้องคืนแบบหนี้นอกระบบคือ คืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยหรือการคืนข้อมูลให้กับชุมชนมากกว่าข้อมูลที่เก็บได้จากชุมชน เช่น มีการจัดระบบข้อมูลให้มีความหมายมากขึ้น เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 8 – การนำ ไปใช้ประโยชน์ ในกรณีของการวิจัยแบบ PAR ซึ่งไม่ใช่การศึกษาวิจัยเพียงเพื่อค้นหาหรืออธิบายเฉพาะสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่ต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้นให้ดีขึ้นด้วย ดังนั้น หลังจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลแล้วจะต้องมีการคิดกิจกรรมเข้าไปแก้ปัญหาบางอย่าง ซึ่งอาจเป็นกิจกรรมที่นักวิชาการคิดให้ชาวบ้าน หรือกิจกรรมที่ชาวบ้านคิดขึ้นเอง แต่ส่วนสำคัญคือ การตัดสินใจเลือกต้องให้ชาวบ้านเป็นผู้เลือก เพราะชาวบ้านเป็นผู้ที่ได้รับผล กรณีที่เกิดความล้มเหลวก็กลับมาวิเคราะห์หาสาเหตุของความล้มเหลวเพื่อแก้ไขร่วมกันต่อไป

ขั้นตอนที่ 9 - การวัดและประเมินผล โดยทั่วไปการวัดและประเมินผลจะมี keyword ที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 คำ ที่สำคัญคือ output, outcome และ impact

ขั้นตอนที่ 10 - ถอดบทเรียน และดูความยั่งยืน เป็นการตรวจสอบผลจากการทำ งาน ซึ่งจะมี keyword สำคัญคือคำ ว่า “ถอดบทเรียน” หรือ “สรุปบทเรียน”

รูปแบบของงานวิชาการเพื่อสังคม

นักวิชาการของมหาวิทยาลัยสามารถ Action หรือทำ งานวิชาการเพื่อสังคมได้หลายรูปแบบ อาทิ

  1. งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น – ถ้าในรูปแบบนี้กระบวนการจะเข้มงวดมาก เน้นการสร้างชาวบ้านให้กลายเป็นนักวิจัย
  2. Action research – เป็นปฏิบัติการด้วยกระบวนการของการวิจัย ไม่ใช่การศึกษาเฉพาะสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ แต่เน้นการเปลี่ยนแปลงด้วย
  3. ฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม - การจัดฝึกอบรมเป็นกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยทำเป็นปกติแต่ถ้าเป็นแบบ SeS จะเป็นการฝึกอบรมแบบมีส่วนร่วม
  4. เผยแพร่ผลงานสู่สาธารณะ - เป็นการนำ งานของชาวบ้านมาเผยแพร่ซึ่งนอกจากการเขียนแล้วยังสามารถทำได้อีกหลายวิธีผ่านช่องทางสาธารณะ
  5. คืนความรู้สู่ชุมชน - เป็นกิจกรรมที่ทำ หลังจากการทำ วิจัยแล้วเสร็จ
  6. การส่งนักเรียนเข้าไปในพื้นที่ที่ทำการศึกษาวิจัยและบริการ - เพื่อทดสอบด้านความรู้ และด้านจิตสำ นึกสาธารณะ
  7. เข้าร่วมกิจกรรมชุมชน – โดยมีชุมชนเป็นตัวตั้ง แล้วนักวิชาการเข้าไปช่วยเสริม
  8. การช่วยทำ networking ให้กับชุมชน ภาษาไทยอาจใช้คำ ว่า networking ได้หลายคำ เช่น เครือข่าย เส้นสาย เสี่ยว เกลอ คนไทยมีความชำนาญในการให้ความหมาย อยู่ที่จะใช้ในทางที่ดีหรือเสียเท่านั้น
  9. ช่วยเป็นแหล่งข้อมูลเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจและชาวบ้านมีความต้องการเหมือนกัน
  10. แหล่งให้คำปรึกษาจะเห็นได้ว่าห้อง lab หรือห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยสามารถช่วยชาวบ้านได้ในหลายเรื่อง
  11. ช่วยงานขยายผล รูปแบบนี้นักวิชาการทำ ได้ดีมาก เช่น งดเหล้างานศพที่บ้านดงประสบความสำเร็จ จะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ แต่ต้องศึกษาว่ามีอะไรที่เป็นตัวแปรพื้นฐานหรือตัวแปรเสริม
  12. Coaching –เป็นบทบาทที่ไม่เพียงแค่นักกีฬาเท่านั้นที่มีโค้ชชุมชนถ้าอยากได้รับการพัฒนาก็อยากจะได้คนที่เป็นโค้ช เป็นคนที่อยู่และช่วยเหลือได้
  13. Institutional adjustment - กลับมาเปลี่ยนตัวสถาบันการศึกษาเองเช่น การสร้างหลักสูตรใหม่

บทบาทของนักวิชาการเพื่อสังคม

  1. ผู้บริการวิชาการให้กับชุมชน โดยเฉพาะเป็นที่พึ่งทางด้านความรู้
  2. ผู้ทำประโยชน์ให้กับชุมชน
  3. ผู้ประสานโลกความรู้เชิงวิชาการกับโลกความรู้ภาคปฏิบัติ หรือการสร้างความกลมเกลียวระหว่างหลักการทางวิชาการ กับชุดความรู้/ภูมิปัญญาของชาวบ้าน
  4. ผู้เสริมความยุติธรรมของโครงสร้างการกระจายความรู้หรือผู้ช่วยด้านความเหลื่อมล้ำทางด้านความรู้ในทางอ้อม
  5. ผู้สร้างโอกาสที่จะประยุกต์ใช้ความรู้ในสภาพการณ์จริงหรือการนำความรู้ทางวิชาการที่มีอยู่แล้วไปทดลองใช้ในสนามจริง ซึ่งในสนามจริงจะมีความซับซ้อนยิ่งกว่าในห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติของมหาวิทยาลัยที่นักวิชาการสามารถควบคุมตัวแปรได้ทุกอย่าง
  6. ผู้พัฒนาความรู้ใหม่ (modifying) เป็นการนำ ความรู้ทางวิชาการที่มีเท่ากับความรู้ของชุมชน มาทำการ modified ให้เกิดความรู้ใหม่ ซึ่งไม่ได้ใหม่ทั้งหมดและไม่ได้เก่าทั้งหมด
  7. ผู้สร้างความรู้ใหม่จากฐานราก (generating) 
  8. ผู้ให้สถานภาพแก่ความรู้ของชุมชน (status conferral) หรือการให้สถานภาพกับชุมชน เช่น การทำ ให้ชาวบ้านเกิดความรู้สึกมีสิทธิหรือสถานภาพทางสังคมมากขึ้น หรือทำ ให้ชาวบ้านมั่นใจว่า ความรู้ที่มีนั้นเป็นที่น่าภาคภูมิใจกับชุมชน
  9. ผู้สร้างความมั่นใจหรือสร้างอัตลักษณ์ศักดิ์ศรีแก่ชุมชนพัฒนาการและคุณลักษณะของงานวิชาการเพื่อสังคม
  10. ผู้นำ เสนอทางเลือกที่หลากหลายแก่ชุมชน โดยปกติชาวบ้านจะมีความสามารถอยู่บ้างแล้ว เมื่อเกิดปัญหาจะแก้ปัญหาของตัวเองด้วยวิธีการหนึ่ง แต่ยังมีข้อจำกัดเพราะประสบการณ์ แต่นักวิชาการมีโอกาสเข้าถึงความรู้ในการแก้ปัญหาที่กว้างขวางกว่า
  11. ผู้สร้างโอกาสพัฒนาความรู้ของชุมชน (folk knowledge) 
  12. ผู้ช่วยเสริมพลังให้กับชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถแก้ปัญหาได้
  13. ผู้เชื่อมต่อความรู้แบบสหวิทยาการ เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ ซึ่งจะไม่ใช่การต่อยอดหรือลงลึกในแต่ละสาขาวิชา แต่จะเป็นการทำ งานร่วมกันหลายสาขาวิชา
  14. ผู้ระดมพลังของสถาบันต่างๆ เป็นภาคบังคับขั้นต้นของการวิจัยหรืองานบริการเพื่อชุมชน ซึ่งจะมีลักษณะการทำ งานเป็นทีมวิจัย เพื่อเสริมพลังในการทำ งานร่วมกัน
  15. Magic multiplier การเป็นผู้สื่อสารต่อ หรือบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนสู่โลกภายนอกเพื่อการขยายผล

ผลงานบริการวิชาการเพื่อสังคมของภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์กับการขอตำแหน่งทางวิชาการ

  1. แผนการต่อยอดงานบริการวิชาการเพื่อสังคมสู่งานวิจัย ปีการศึกษา 2559
  2. โครงการอบรมสามเณรแกนนำและให้สุขศึกษาสามเณรวัดไผ่ดำ จ.สิงห์บุรี รศ.ดร.ผ่องศรี นำเสนอแผนการต่อยอดงานบริการวิชาการเพื่อสังคมสู่งานวิจัยโดยจะเริ่มจากโครงการอบรมสามเณรแกนนำและให้สุขศึกษาสามเณรวัดไผ่ดำ จ.สิงห์บุรี และโครงการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและเตรียมความพร้อมเพื่อรับอุบัติภัยหมู่จากสาธารณภัย จ.ปทุมธานี และได้รายงานความคืบหน้าในการต่อยอดงานบริการวิชาการเพื่อสังคมสู่งานวิจัยที่ใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ของโครงการอบรมสามเณรแกนนำและให้สุขศึกษาสามเณรวัดไผ่ดำว่ากำลังอยู่ในขั้นตอนของการแก้ไขโครงร่างวิจัยที่ใช้ในการขอทุนวิจัยจาก CMB และกำลังจะอภิปรายผลเพื่อเขียนบทสรุปในเร็วๆนี้
  3. สรุปผลการจัดการความรู้ เรื่อง “ผลงานบริการวิชาการเพื่อสังคม (Cooperate Social Responsibility: CSR) กับการขอตำแหน่งทางวิชาการ” ผลงานบริการวิชาการเพื่อสังคมสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลงานวิชาการในลักษณะอื่น เพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการได้ แต่ต้องมีการวางแผลและเตรียมการอย่างมีเป้าหมาย เตรียมกระบวนการที่ชัดเจนและมุ่งสู่เป้าหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

          สุดท้ายต้องมีการสรุปบทเรียน เขียนถ่ายทอดออกมาอย่างมีรูปแบบทางวิชาการครบถ้วน น่าเชื่อถือ และมีคุณค่าเชิงวิชาการสอดคล้องกับคุณลักษณะที่ประกาศ กพอ. กำหนดไว้

          ข้อเสนอแนะ งานประชุมวิชาการที่ภาควิชาฯจัดเป็นประจำทุกปีก็สามารถนำมาเป็นผลงานวิชาการเพื่อสังคม แล้วนำมาใช้ในการขอตำแหน่งทางวิชาการได้


 


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Show Case Best Practice 2564

Show Case Best Practice 2565

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1330870