1. การพัฒนา CAI

การพัฒนา CAI ควรเริ่มจากแผนการสอนหรือเอกสารการสอนที่อาจารย์มีอยู่แล้ว โดยอาจารย์อาจจะนำเนื้อหาบางส่วนหรือเนื้อหาทั้งหมดมาจัดทำเป็น CAI หรือจัดทำโดยการแบ่งเนื้อหาในหน่วยการเรียนการสอนที่รับผิดชอบ ออกเป็น Module และมีผู้พัฒนาในแต่ละ Module นั้นๆ เป็น CAI 

PDF Download

 

ทั้งนี้เมื่อ CAI ที่พัฒนาขึ้นได้ผ่านกระบวนการทดสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านการพยาบาลและด้านเทคนิคทางคอมพิวเตอร์ ทดสอบประสิทธิผลของ CAI โดยผ่านกระบวนการวิจัย และส่งผลงานวิจัยดังกล่าวลงตีพิมพ์ในวารสารทางด้าน Nursing Education จะสามารถนำผลงานนี้ไปใช้ประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการได้ รวมทั้งยังสอดรับกับนโยบายคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในเรื่องการพัฒนาการเรียนการสอนให้เป็นแบบ Transformative Learning ได้เป็นอย่างดี โดยในปัจจุบันพบว่ามีวารสารวิชาการด้าน Nursing Education ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล TCI และมี Impact factor ในระดับดี ซึ่งอาจารย์จะสามารถส่งผลงานการวิจัยดังกล่าวลงตีพิมพ์ได้ โดยตัวอย่างตัวแปรตามที่ใช้ศึกษาประสิทธิผลของ CAI เช่น ผลต่อแรงจูงใจในการเรียน (Motivation) ผลต่อระดับคะแนน (Score) และผลต่อความพึงพอใจในการเรียน (Satisfaction) เป็นต้น

     2.  การทดสอบคุณภาพ CAI

กระบวนการทดสอบคุณภาพ CAI ดำเนินการโดยผ่านผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย

1) ผู้ทรงคุณวุฒิทางการพยาบาล เพื่อการตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของเนื้อหา (Content) และการตรวจสอบความชัดเจนของเนื้อหา (Clarity) 

2) ผู้ทรงคุณวุฒิทางเทคนิคคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบคุณภาพในเรื่ององค์ประกอบทางกายภาพของ CAI ที่พัฒนาขึ้น เช่น ระดับสี คุณภาพเสียง ขนาดรูปภาพ ขนาดตัวอักษร วีดีทัศน์ เพลงประกอบ และลักษณะของปุ่มเลือก เป็นต้น

    3.  สรุปผลการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ พบว่า การพัฒนาและการทดสอบคุณภาพ CAI เพื่อการวิจัยทางการศึกษา สามารถพัฒนาจากเนื้อหาการเรียนของนักศึกษาได้ในทุกหลักสูตร รวมทั้งกำหนดเป็น Nursing Education Research Area ใหม่ ที่ยังมีงานวิจัยจำนวนจำกัด โดยเฉพาะในประเทศไทย ดังนั้นจึงควรที่ต้องมีการพัฒนางานและบูรณาการงานในทุกๆด้านไปพร้อมๆ กันทั้งด้านการศึกษา การวิจัย และการปฏิบัติการพยาบาลในทางคลินิก เพื่อเป้าหมายที่จะก่อให้เกิดประโยขชน์ต่อการพัฒนาสู่ The 21st Century Education ในนักศึกษาของคณะฯ ต่อไป  

รวมทั้งอาจารย์ในภาควิชาควรใช้ในการเตรียมแผนการพัฒนา CAI ในหน่วยการเรียนรู้ที่ตนเองรับผิดชอบทั้งภาคทฤษฎีของวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 และภาคปฏิบัติของวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 ในภาคการศึกษาต้นและปลายปีการศึกษา 2557 และ 2558 ทั้งนี้ในภาควิชาได้จัดทำ CAI สำเร็จแล้ว 2 เรื่อง คือ 1) Skeletal traction nursing care และ 2) Skin traction nursing care พัฒนาขึ้นโดย อ.ดร.ณัฐมา ทองธีรธรรม และ อ.พรสินี เต็งพานิชกุล ซึ่งกำลังดำเนินการตรวจสอบคุณภาพ CAI เพื่อจะไปนำทดสอบประสิทธิผล CAI โดยผ่านกระบวนการวิจัยก่อนนำไปใช้จริงเพื่อประกอบการเรียนการสอนต่อไป


สรุปโดย อ.ดร.ณัฐมา ทองธีรธรรม