• MUQF2023-Slide1.PNG
  • MUQF2023-Slide2.PNG
  • MUQF2023-Slide3.PNG

ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ "วิถีชีวิตสุขภาพแบบโอกาดะ: การประยุกต์ในงานวิจัยทางการพยาบาลเด็ก โดยมีคณาจารย์ในภาควิชาฯ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

รองศาสตราจารย์ ดร. นงลักษณ์ จินตนาดิลก ได้รู้จักกับวิถีชีวิตธรรมชาติแบบโอกาดะ จากการประชุมวิชาการสร้างเสริมสุขภาพแห่งชาติ ที่เมืองทองธานี เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว โดยได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดดอกไม้สร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งจัดโดยมูลนิธิ MOA ประเทศไทย

 

ท่านโมกิจิ โอกาดะ (พ.ศ. 2425 -2498) ปราชญ์ชาวญี่ปุ่น เป็นผู้ริเริ่มวิถีชีวิตธรรมชาติแบบโอกาดะ ซึ่งเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพดีและอายุยืนยาว โดยใช้หลักการ "จิตนำกาย" (mind-body therapy) ประกอบด้วยแนวคิดที่สำคัญ 3 ประการ คือ

อาหารไร้สารพิษ เน้นความสำคัญของเกษตรธรรมชาติและหลักโภชนาการ โดยเชื่อว่า อาหารที่ไม่มีสารพิษ สามารถให้พลังชีวิตแก่ร่างกายได้ ดังนั้นจึงมีหลายเมืองในประเทศญี่ปุ่นที่ทำการเกษตรและปศุสัตว์แบบไร้สารพิษ โดยไม่ใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง เพื่อเป็นแหล่งอาหารที่ปลอดภัยให้กับคนที่เชื่อในวิถีชีวิตแบบนี้

สุขภาพจิต (จิตวิญญาณ) เน้นความสำคัญของความสวยงามและหลักศิลปวัฒนธรรม มีความเชื่อว่า ดอกไม้และพืชมีพลังชีวิต จึงเลือกใช้เฉพาะดอกไม้และพืชสดในการจัดแจกันและตกแต่งห้อง นอกจากการจัดดอกไม้แล้ว ศิลปวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น ภาพวาด เซรามิค ยังช่วยทำให้จิตใจสงบและมีสุขภาพดีด้วย

การชำระล้างบำบัดแบบโอกาดะ (Okada purifying therapy) เป็นวิธีการบำบัดที่มาจากแนวคิดเรื่อง energy ผู้ที่สามารถให้การบำบัดได้ จะต้องผ่านการฝึกอบรมและการทดสอบก่อน โดยจะต้องมีการประเมินจุดร้อนและจุดเย็นก่อนทำการบำบัด ในระหว่างการบำบัด ผู้ให้การบำบัดจะต้องแขวนจี้พลัง มีสมาธิ จ้องไปที่จักระและเพ่งความสนใจไปที่จุดบำบัด

รองศาสตราจารย์ ดร. นงลักษณ์ จินตนาดิลก ได้นำแนวคิดวิถีชีวิตธรรมชาติแบบโอกาดะมาประยุกต์ใช้ใน โครงการพัฒนาผู้นำสร้างเสริมสุขภาพสามเณรวัดไผ่ดำ จังหวัดสิงห์บุรี ซึ่งเป็นงานบริการวิชาการของคณะพยาบาลศาสตร์ มีกิจกรรมการถวายความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพแก่สามเณร กิจกรรมอบรมหลักสูตรศิลปวัฒนธรรม (การจัดดอกไม้โคริงกะ) และกิจกรรมอบรมหลักสูตรวุฒิบัตรชำระล้างบำบัดแบบโอกาดะ นอกจากนี้ ยังมีผู้นำแนวคิดวิถีชีวิตธรรมชาติแบบโอกาดะมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานวิจัยในประเทศไทย ดังนี้

การศึกษาประสิทธิผลของพลังชำระล้างบำบัดแบบโอกาดะต่ออาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย หัวหน้าโครงการวิจัย คือ นายแพทย์สุรัติ เล็กอุทัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลดำเนินสะดวก

ประสิทธิผลของการชำระล้างบำบัดแบบโอกาดะต่ออาการอ่อนล้าในผู้ป่วยเด็กอายุ 8 – 18 ปีโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด หัวหน้าโครงการวิจัย คือ รองศาสตราจารย์ ดร. นงลักษณ์ จินตนาดิลก

การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบพาลิเอทีฟสำหรับผู้ป่วยเด็กและครอบครัว (Development of Pediatric Palliative Care Model for Children and Family) ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เชื่อมโยงกับการตั้งศูนย์บริการผู้สูงอายุและผู้ป่วยระยะสุดท้าย ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยะเวลา 3 ปี หัวหน้าโครงการวิจัย คือ รองศาสตราจารย์ ดร. นงลักษณ์ จินตนาดิลก

รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม 22 คน

อาจารย์ กาญจนา ครองธรรมชาติ
อาจารย์กนกพร เอื้ออารีย์กุล
อาจารย์กรรณิการ์ ชัยลี
อาจารย์ชญาภา ชัยสุวรรณ
รองศาสตราจารย์ ดร.นงลักษณ์ จินตนาดิลก
อาจารย์ เบญจมาศ โอฬารรัตน์มณี
อาจารย์ ดร.พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม
อาจารย์ภัทรนุช ภูมิพาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุวดี พงษ์สาระนันทกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีรยา จึงสมเจตไพศาล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์
รองศาสตราจารย์ วิไล เลิศธรรมเทวี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร สุนทราภา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมหญิง โควศวนนท์
อาจารย์ สุดารัตน์ สุวรรณเทวะคุปต์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สมสิริ รุ่งอมรรัตน์
รองศาสตราจารย์ อรุณรัศมี บุนนาค
รองศาสตราจารย์ อัจฉรา เปรื่องเวทย์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อาภาวรรณ หนูคง
อาจารย์ ดร.อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์
อาจารย์ อุดมญา พันธนิตย์


 

ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2/2556 เรื่อง การพัฒนานวัตกรรมด้านการเรียนการสอนและการวิจัย หัวข้อ วิถีชีวิตสุขภาพแบบโอกาดะ: การประยุกต์ในงานวิจัยทางการพยาบาลเด็ก วันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2556  เวลา 12.00-13.30 น. ห้อง 801/1


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Show Case Best Practice 2564

Show Case Best Practice 2565

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1322776