ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “ประสบการณ์การให้บริการการปรึกษาเด็กและผู้ปกครอง” เมื่อวันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2554 เวลา 12.00-13.00 น. ณ ห้องประชุม 711 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีอาจารย์ในภาควิชาฯ ทุกท่านที่ไปให้คำปรึกษาโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

เนื่องจากมีอาจารย์หลายท่านในภาควิชาฯ ได้มีโอกาสไปให้บริการการปรึกษาแก่ผู้ปกครองและเด็กโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน การเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จัดขึ้นในครั้งนี้เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการที่อาจารย์แต่ละคนได้พบเจอปัญหาต่างๆ จากการให้การบริการปรึกษา เพราะแต่ละคนอาจได้ case ที่แตกต่างกันออกไป และยังมีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแตกต่างกันด้วย การที่ได้มีโอกาสร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในครั้งนี้จะเป็นตัวช่วยอีกทางหนึ่งสำหรับการที่จะไปให้การบริการการปรึกษาในครั้งต่อไป ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

  1. กลุ่มผู้รับบริการคือใคร?
    • พ่อหรือแม่ พ่อแม่ ผู้ปกครองเด็ก ครอบครัว ญาติ นักเรียน กลุ่มนักเรียน กลุ่มผู้ปกครองนักเรียน
  2. ปัญหาที่มารับบริการได้แก่เรื่องใด
    • การเรียน เช่น เรียนไม่ทันเพื่อน ไม่รับผิดชอบ ผลการเรียนต่ำ LD
    • พฤติกรรม เช่น ติดเกมส์ เบี่ยงเบนทางเพศ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย/มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การแสดงอารมณ์ทางเพศไม่เหมาะสม ความต้องการทางเพศสูง ก้าวร้าว อายไม่กล้าแสดงออก ชอบโกหก การขาดระเบียบวินัย
    • ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ เช่น โกรธ
    • สุขภาพจิต เช่น ADHD ความเครียดของผู้ปกครอง หูแว่ว
    • สุขภาพกาย เช่น ท้องผูก ภูมิแพ้ อ้วน ปวดท้อง
    • ปัญหาครอบครัว เช่น ความขัดแย้งในการเลี้ยงดู สัมพันธภาพ
    • ความคาดหวังของผู้ปกครอง เช่น คาดหวังในตัวเด็กสูงกว่าศักยภาพของเด็ก
  3. แนวทางหรือวิธีการในการให้คำปรึกษาในแต่ละปัญหา
    1. การประเมิน
      • ประเมินการรับรู้ผู้ปกครอง/ครูในการสังเกตพฤติกรรม ความคิดที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงดู
      • ประเมินความคิด คำพูด และพฤติกรรมเด็กนักเรียนตามวัยและพัฒนาการเด็ก บุคลิกภาพ
      • ครูประเมินพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และการยอมรับของกลุ่มเพื่อน
    2. รับฟัง และให้คำแนะนำ
    3. แนะนำวิธีการปรับพฤติกรรม การเสริมแรงทางบวก ทางลบ
    4. ประสานงานกับครูแนะแนวและส่งต่ออาการเพื่อให้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง
    5. แนะนำการส่งต่อรับการรักษาจากแพทย์

สรุปแนวทางหรือวิธีการในการให้คำปรึกษาในแต่ละปัญหา

1) ประเมินปัญหา สร้างความตระหนักรู้ในปัญหา สาเหตุ มีวิธีแก้อย่างไร ชวนมองให้รอบด้าน
2) เลือกวิธีการแก้ปัญหาให้สอดคล้องปัญหาแต่ละบุคคล
3) ส่งต่อเพื่อการรักษาต่อเนื่อง

4.  ผลของการให้การปรึกษา

- จากการประเมินผลภายหลังการให้คำปรึกษา โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ผู้ปกครองพึงพอใจ
- สอบถามผลลัพธ์การให้คำปรึกษาจากครูแนะแนว/ผู้ปกครอง

5.  สิ่งที่ได้เรียนรู้และแนวทางการพัฒนาการให้การปรึกษาต่อไป

- case ที่ต้องติดตามต่อเนื่องต้องมีการประสานกับครูแนะแนวเพื่อนัดหมายการติดตามผลต่อไป
- มีการทบทวนความรู้ด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การให้คำปรึกษาต่อเนื่อง


อาจารย์กลิ่นชบา สุวรรณรงค์  ผู้บันทึก


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1322713