ภาควิชาการสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การบำบัดยาเสพติด ในวันที่ 22 กันยายน 2560 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิมลนันท์  พุฒิวนิชพงศ์ เป็นวิทยากร

ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้ 

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิมลนันท์ พุฒิวนิชพงศ์  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องของการบำบัดยาเสพติดซึ่งได้รับจากการเข้าร่วมการอบรมเรื่อง The Universal Treatment Curriculum for Substance Use Disorders (UTC) จากสถาบันธัญญารักษ์ โดยที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิมลนันท์ พุฒิวนิชพงศ์  ได้นำเสนอการบำบัดโดยวิธี Motivational Interview และ Motivational Enhancement Therapy (MET) ซึ่งเป็นวิธีการบำบัดที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ชัดเจน โดยที่วิธี Motivational Interview เป็น Brief intervention ที่ประหยัดเวลาและพยาบาลสามารถนำไปใช้ในการบำบัดในระยะสั้นและได้ผลดี ผศ. ดร. วิมลนันท์ได้กล่าวถึงวิธีการบำบัดด้วยวิธีนี้ โดยสรุปย่อ ดังนี้ 

Motivational Interview (MI) หรือ การสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ เป็นวิธีการบำบัดสารเสพติดที่มีประสิทธิภาพและได้ผลดี โดยที่ Miller & Rollnick กล่าวว่า “Motivational interviewing is a way of being with a client, not just a set of techniques for doing counseling”  (Miller & Rollnick, 1991)  โดยที่ MI เป็นกระบวนการของการให้คำปรึกษาที่เน้นในการให้เกิดบรรยากาศของการช่วยเหลือ และการมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้บำบัดยาเสพติดและผู้รับการรักษา โดยที่ MI มีหลักการพื้นฐานสำคัญอยู่ 5 ข้อ ซึ่งใช้ตัวย่อ READS:

1) Roll with resistance;

2) Express empathy;

3) Avoid argument;

4) Develop discrepancy; 

5) Support self-efficacy.

ทั้งนี้ ผู้บำบัดต้องมีทักษะ ดังนี้ 

1) Reflective listening 

2) Asking open-ended questions;

3) Affirming; 

4) Summarizing

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลนันท์ พุฒิวนิชพงศ์ ได้สรุปถึงจุดแข็งของวิธีการบำบัด MI ว่ามี ดังนี้

1) Low cost.  

2) Efficacy.  

3) Effectiveness.  

4) Compatibility with health care delivery.  

5) Enhancing adherence.  

6) Emphasizing client motivation.  

Motivational Enhancement Therapy (MET) หรือ การบำบัดโดยการเสริมสร้างแรงจูงใจ เป็นวิธีการบำบัดที่มีประสิทธิภาพในการช่วยให้ผู้ป่วยสร้างแรงจูงใจด้วยตนเอง โดยให้ผู้ป่วยตั้งเป้าหมายของการรักษาด้วยตนเอง โดยที่ผู้บำบัดอาจจะช่วยชี้แนะเป้าหมายที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น ตั้งเป้าว่าต้องหยุดใช้ยาโดยสิ้นเชิง หรือ ตั้งเป้าว่าผู้ป่วยจะต้องหางานทำได้ เป็นต้น 

MET ใช้หลักการพื้นฐานของ cognitive & social psychology โดยที่ MET counselor ต้องช่วยให้ผู้รับการรักษามองเห็นสถานการณ์ปัจจุบันและเป้าหมาย และต้องตระหนักย้ำเน้นถึงแรงจูงใจในการที่ผู้รับการบำบัดต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง (เผื่อเลิกใช้สารเสพติด) ด้วย ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิมลนันท์ พุฒิวนิชพงศ์ได้สรุปจุดดแข็งและความท้าทายของการบำบัดสองวิธี ดังตารางนี้

Strengths

Challenges

   MI and MET are client-centered and relevant to client’ personal interests.

         MI and MET rely heavily on clients’   capabilities and level of self-awareness.

        Commonly used problem-oriented assessment instruments are incompatible with a motivational approach.

   MI and MET focus on realistic, attainable goals.

        Motivational approaches require significant staff training and ongoing supervision.

   MI and MET encourage client self-efficacy and self-sufficiency.

          Motivational approaches may be difficult to combine with approaches that expect adherence to program-imposed goals.

         MI and MET emphasize positive, empathic support that does not undermine or elicit anger from clients.

          MI and other motivational approaches were developed as individual approaches; their effectiveness for use with groups is unproved.

อาจารย์ศิรดา  เกษรศรี ผู้ลิขิต


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1322640