จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการช่วยเหลือและให้การปรึกษาเด็กและวัยรุ่น ของคณาจารย์ในภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช พบว่า 

ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่

 

  • ปัญหาพฤติกรรมเด็ก เช่น มีอาการซน อยู่ไม่นิ่ง เด็กร้องให้รุนแรง ทำให้พ่อแม่รู้สึกแย่ หรือทุกข์ใจ
  • พ่อแม่ หรือผู้ปกครองเด็กมีอาการเครียดกังวล มีความคาดหวังสูง 
  • พ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็กจัดการปัญหาเองไม่ได้  ไม่แน่ใจว่าตนใช้วิธีการแก้ปัญหาถูกต้องหรือไม่ 
  • พื้นฐานการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม เช่น เด็กถูกส่งไปให้ผู้ดูแลซึ่งมีภาวะซึมเศร้า ทำให้เด็กแยกตัว มีปัญหาพฤติกรรม
  • การที่เด็กมาจากโรงเรียนที่มีการเน้นการจัดการเรียนการสอนต่างกัน เช่น เด็กที่เรียนในโรงเรียนที่เน้นกิจกรรมมากกว่าการเรียน เมื่อย้ายมาในโรงเรียนที่เน้น การเรียนมากกว่าก็อาจจะมีปัญหา ด้านพฤติกรรมและการปรับตัวได้
  • การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสมของ พ่อแม่หรือผู้ปกครอง เช่น ผู้ปกครองไม่แน่ใจว่าการที่ลูกได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะสมาธิสั้น แล้วต้องรักษา ยา มีผลต่อลูกหรือไม่ เช่น บางคน ให้ลูกหยุดยาเพราะเห็นว่าลูกซึมมาก

แนวทางที่ใช้ในการให้การปรึกษาหรือการแก้ไขปัญหา

  1. ใช้กระบวนการในการให้การปรึกษา โดยเริ่มจาการสำรวจหรือประเมินปัญหา หาสาเหตุของที่แท้จริงของปัญหา และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมผู้รับบริการ 
  2. การเปิดโอกาสให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือนักเรียน ได้ เล่า ระบายความรู้สึก โดยผู้ให้การปรึกษาใช้เทคนิคการให้การปรึกษา เช่น การสะท้อนคิด การทวนความ การฟังอย่างตั้งใจ ฯ
  3. ให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือนักเรียน ในเรื่องต่างๆ เช่น หากมีพฤติกรรมหรือ อาการผิดปกติมากแนะนำให้พบแพทย์  เช่นมีอาการ ซน สมาธิสั้น มากทั้งที่บ้านและโรงเรียน หรือการเห็นภาพหลอน
  4. แนะนำให้ หากิจกรรมที่สร้างสรรให้เด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นได้ทำ เช่น กิจกรรมด้าน ดนตรี กีฬา ศิลปะ
  5. แนะนำการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมตามหลักการและแนวคิดด้านพฤติกรรมบำบัด ฯ หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์ 
  6. การให้คำชมในวิธีการจัดการปัญหาที่เหมาะสมของผู้รับบริการ และเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมเพิ่มเติมโดยให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการหาแนวทางแก้ไขปัญหา
  7. การให้ข้อมูลหรือความรู้ที่เหมาะสม เช่น กรณี เด็กสมาธิสั้นและได้รับยา เด็กอาจจะมีอาการซึม หรือจะมีอาการสมาธิสั้นมากขึ้น ทั้งที่ได้รับ ยาอยู่ ควรให้ข้อมูลอาการข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ หรือแนะนำให้แจ้งแพทย์ที่ให้การรักษาอยู่เพื่อปรับยาให้เหมาะสม
  8. ใช้หลักการบำบัดทางความคิด และพฤติกรรม เช่น CBT: Cognitive behavior therapy  หรือใช้แนวทางตามทฤษฏีต่างๆ เช่น ทฤษฏีพฤติกรรมบำบัด ฯ

พบว่า จากประสบการณ์การให้การปรึกษา ผู้มารับการปรึกษาอาจจะมาด้วยปัญหานำอย่างอื่น  ซึ่งบางครั้งไม่ใช่เรื่องเดียวกับปัญหาที่แท้จริง เช่น เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมต่าง อาจจะเกิดจากปัญหาที่แท้จริงคือการขาดความรัก หรือการต้องการการยอมรับจากผู้อื่น เป็นต้น  ดังนั้น ผู้ให้การปรึกษาจะต้องประเมินให้ได้ถึงปัญหาที่แท้จริง เพื่อที่จะได้หาสาเหตุถูกต้อง และแนวทางแก้ไขได้เหมาะสม

การนำความรู้ จากกิจกรรม KM ไปประยุกต์ใช้ 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้และแนวทางจากประสบการณ์การให้การช่วยเหลือและให้การปรึกษาเด็กและวัยรุ่น และได้นำไปใช้ในการให้การปรึกษาในโรงเรียนต่างๆ ในภารกิจด้านการบริการวิชาการของภาควิชาฯ

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อติรัตน์วัฒนไพลิน
  2. รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรรยาธัญญาดี
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พวงเพชร เกษรสมุทร
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ้งนภา ผาณิตรัตน์
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศิริลักษณ์ เวชการวิทยา
  7. อาจารย์ ดร.ภาศิษฏา อ่อนดี
  8. อาจารย์ ดร.วิมลนันท์ พุฒิวณิชพงศ์
  9. อาจารย์ ดร.สุดารัตน์ เพียรชอบ
  10. อาจารย์ ดร.สุภาภัค เภตราสุวรรณ
  11. อาจารย์ ดร.อทิตยา         พรชัยเกตุ  โอว ยอง
  12. อาจารย์กลิ่นชบา สุวรรณรงค์
  13. อาจารย์ฐินีรัตน์ ถาวร
  14. อาจารย์สาธกาพิมพ์รุณ

 


 

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ เรื่อง ประสบการณ์การช่วยเหลือและให้การปรึกษาเด็กและวัยรุ่น

วันที่ 19 สิงหาคม 2558 เวลา 12.00 – 13.00 น. 

ณ ห้อง 509 อาคารมหิดลอดุลยเดช-พระศรีนครินทร  คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

วิทยากร: คณาจารย์ภาควิชาสุขภาพจิตฯ 

ผู้ลิขิต: อาจารย์กลิ่นชบา สุวรรณรงค์

 


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1322511