สืบเนื่องจากในภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการจัดการเรียนการสอนในวิชาทฤษฎีสำหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ดังนั้น เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และนักศึกษาเกิดการเรียนรู้สูงสุด

 

          ภาควิชาฯ จึงได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “การจัดการเรียนการสอนในวิชาทฤษฎีสำหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ”  เมื่อวันพุธที่ 25 มีนาคม 2563 เวลา 12.-30-13.30 น. ณ ห้องประชุม 1103/1-2 และระบบ Online: Microsoft Teams โดยมี รองศาสตราจารย์.ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์ รองศาสตราจารย์ ดร.อาภาวรรณ หนูคง และ อาจารย์ภัทรนุช ภูมิพาน เป็นวิทยากร     ในการนำเสนอประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนใน 2 หัวข้อ วิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ดังนี้ 

1. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบหัวใจและหลอดเลือด (รศ.ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์)

- บรรยายแบบมีส่วนร่วม: คลิป VDO 

- Quiz 8 ข้อ แบบถูก/ผิด (ภายหลังการบรรยาย เก็บ 2 คะแนน มีการเฉลยข้อสอบ)

- ทำกลุ่มสถานการณ์ตัวอย่าง ให้นักศึกษาออกมาอภิปรายหน้าชั้นเรียน

                  รวมทั้งในวิชาวิจัยทางการพยาบาลและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2

2. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาระบบหายใจ (รศ.ดร.อาภาวรรณ หนูคง และอาจารย์ภัทรนุช ภูมิพาน)

               - บรรยายแบบมีส่วนร่วม 

               - ฐานกิจกรรมการเรียนรู้

               - ทำกลุ่มสถานการณ์ตัวอย่าง

  ในการนำเสวนา วิทยากรทั้ง 3 คนได้นำเสนอประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนวิชาทฤษฎีสำหรับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ทั้งชั้นปีที่ 2 และ 3 เช่น การสอนบรรยายแบบมีส่วนร่วม การอภิปรายกลุ่มจากกรณีศึกษา Quiz การเรียนแบบกลุ่มย่อย e-lecture ฐานการเรียนรู้ (รายละเอียดการสอนในแต่ละหัวข้อตามเอกสารแนบ) และเสนอแนวทางใหม่ที่คาดหวังว่าจะจัดการเรียนการสอน เช่น การสอนบรรยายแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบกลุ่มผ่าน case study และนำเสนอโดยใช้ Concept mapping  และ Care mapping และการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม “ตลาดนัดความรู้” เป็นต้น

            คณาจารย์ในภาควิชาฯ  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างหลากหลายทั้งในเรื่องรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และ e-learning และมีการได้เสนอแนะร่วมกันว่า ควรจะเตรียมการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ 

 นำ PowerPoint Slides แขวนใน e-learning ล่วงหน้า 1 สัปดาห์

 มีเอกสารประกอบการสอน ประมาณ 8 หน้า 

 มี video clip เช่น โรค/ความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด การไหลเวียนที่สำคัญ หรือ link ไปสืบค้นได้ 

 มีตัวอย่างกรณีศึกษา และเฉลยสั้นๆ พร้อมเหตุผล  

 มีตัวอย่างข้อสอบในรูปแบบของ Google form ให้นักศึกษาลองทำด้วยตนเอง 

 มีการโต้ตอบ หรือถามคำถามอย่างน้อยกลุ่มละ 2 คำถาม (กำหนดภายใน 1 สัปดาห์หลังเรียน) ส่งให้อาจารย์ทาง e-learning/line หรือช่องทางที่นักศึกษาทั้งกลุ่มใหญ่รับทราบร่วมกัน 

สำหรับการสอน อาจจะการสอนบรรยาย ด้วย PowerPoint มี Video clip อุบัติการณ์ ความผิดปกติ/โรค หัตถการ แนวทางการรักษา การพยาบาล (สอดแทรกระหว่างการสอนบรรยาย หรือต่อท้ายการบรรยาย)  Quiz (เก็บคะแนน-รายบุคคล 2 คะแนน) ส่วนฐานการเรียนรู้ ควรภายหลังการสอนบรรยาย หรือการแข่งขันการตอบคำถามระหว่างกลุ่ม ภายในชั้นเรียน มีรางวัล หรือคะแนนเก็บทดแทนการทำอภิปรายกลุ่มย่อย

ในช่วงท้ายของการเสวนา คณาจารย์ในภาควิชาฯ  มีมติเห็นพร้องต้องกันว่าควรจะมี ปรับการจัดการเรียนการสอนในแนวทางใหม่ที่น่าจะมีประประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ มีอาจารย์อาสาสมัครจำนวน 5 คน ที่จะปรับการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ ในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2562 นี้ ได้แก่ รศ.ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์  ผศ.ดร.อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์ รศ.ดร.อาภาวรรณ หนูคง อ.กาญจนา ครองธรรมชาติ และอ.ภัทรนุช ภูมิพาน ซึ่งมีการติดตามผลในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนมีนาคม  2563 และวางแผนจะประเมินผลในเดือนเมษายน 2563

คณาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ให้ข้อคิดเห็นว่ามีประโยชน์ ได้แนวทางการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษากลุ่มใหญ่ที่น่าสนใจมาก เสนอแนะให้จัดเสวนาในหัวข้อนี้อีก ให้มีความหลากหลาย (วิธีการ/เทคนิคการสอน) และต่อเนื่องต่อไป และควรมีการติดตามประเมินผลการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ว่ามีการขยายผลไปยังหัวข้อการสอนอื่นๆ ในวิชาทฤษฎีมากน้อยแค่ไหน และทำ PDCA ในเรื่องนี้อีก 1 วงรอบ

 

อาจารย์สาธิมา สุระธรรม, รศ.ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์ ผู้ลิขิต