ขั้นตอนการดำเนินการจัดทำตำราการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ 1) กำหนด outline ตำรา  ตามประมวลการสอนวิชา 2) กำหนดกองบรรณาธิการ 3) กำหนดตัวผู้เขียน 4) กำหนดตารางเวลาการทำงาน 5) กำหนดผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความถูกต้องเนื้อหา

การกำหนด outline ตำรา กำหนดตามประมวลการสอนรายวิชา  ถ้ามีได้ครบทุกบทก็ดี แต่จะมีการหล่นหายไประหว่างทางบางบท บางหัวข้อ เนื่องจากความไม่พร้อมของผู้เขียน ส่งงานไม่ได้ตามเวลา คุณภาพของงานยังไม่เพียงพอ

กำหนดหัวข้อย่อยในแต่ละบท ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน โดยเฉพาะ บทที่เกี่ยวกับ “การพยาบาลผู้ป่วยโรคต่างๆ”

แนวทางการเขียนตำราในหัวข้อการพยาบาลโรคต่างๆ

(ชื่อเรื่อง) การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นโรค (หรือที่มีภาวะ)....................................
(ชื่อเรื่อง) การพยาบาลผู้ใหญ่โรค (หรือที่มีภาวะ).............................................
(ชื่อเรื่อง) การพยาบาลผู้สูงอายุโรค (หรือที่มีภาวะ ...........................................

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ นำเข้าสู่เนื้อหา โรค (ความผิดปกติ/บุคลิกภาพ) ความหมาย/คำจำกัดความ เกณฑ์การวินิจฉัย(ถ้ามี) อุบัติการณ์ สาเหตุ ชนิด (ถ้ามี) อาการและอาการแสดง ผลกระทบ การบำบัดรักษา กระบวนการพยาบาล การประเมินภาวะสุขภาพ (12 แบบแผน) ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนทางการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาล/กิจกรรมการพยาบาล การประเมินผล การวางแผนจำหน่าย การดูแลในชุมชน/การดูแลต่อเนื่อง สรุป อ้างอิงระบบแวนคูเวอร์

การเตรียมต้นฉบับตำราการพยาบาลจิตเวชศาสตร์

การพิมพ์ต้นฉบับ ต้องพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft word ใช้แบบอักษร Angsana new ขนาด 16 pt ใช้กระดาษ A4 ระยะขอบ 2.5 ซม. ความยาวตามที่กำหนดไว้แล้ว ชื่อเรื่องให้ใช้ตามที่กำหนดไว้แล้ว ห้ามตั้งชื่อเรื่องเองเนื่องจากเป็นตำราที่ใช้ในการเรียนการสอน ใส่วัตถุประสงค์การเรียนรู้ไว้ต่อจากชื่อเรื่อง รวมทั้งขอให้ตรวจสอบด้วยว่าเนื้อหาของหัวข้อที่เขียนตอบวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการได้

บรรณานุกรม ใช้ระบบ Vancouver และอ้างอิงด้วยตัวเลขให้ตรงกับบรรณานุกรม และใช้ตัวอักษร superscript ขอให้ตรวจสอบบรรณานุกรมให้ทันสมัย ถ้าหากมีหนังสือที่ออก version ใหม่ ขอให้ใช้ version ล่าสุดด้วย ชื่อหนังสือและชื่อวารสารให้ใช้อักษรตัวเข้ม ไม่ขีดเส้นใต้ ไม่เอียงดูตัวอย่างวิธีเขียนบรรณานุกรมแบบ Vancouver จากคำแนะนำผู้บิพนธ์จากวารสารพยาบาลศาสตร์ ของคณะฯ ศัพท์แพทย์ หรือศัพท์เฉพาะบางคำ ที่ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย ให้ใช้ภาษาอังกฤษแทน ถ้าเป็นคำเฉพาะขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ ถ้าเป็นคำที่มีความหมายทั่วไปใช้อักษรตัวเล็กทั้งหมด ถ้าต้องการใส่ความหมายในวงเล็บเพื่อให้มีความหมายชัดเจนและเข้าใจตรงกัน ใช้หลักการเขียนพยัญชนะตัวใหญ่ตัวเล็กเช่นเดียวกัน เมื่อวงเล็บครั้งแรกแล้ว ครั้งต่อไป ไม่ต้องวงเล็บ

งานของผู้เขียน

ครั้งที่ 1 ร่างเนื้อหาที่สมบูรณ์ ส่งบรรณาธิการตรวจสอบ
ครั้งที่ 2 แก้ไขเนื้อหา ตามคำแนะนำบรรณาธิการ ส่งกลับบรรณาธิการ บก. ส่ง peers review
ครั้งที่ 3 แก้ไขเนื้อหาตาม peer review ส่งบรรณาธิการตรวจสอบ
ครั้งที่ 4 แก้ไขเนื้อหา หลังบรรณาธิการตรวจสอบ

งานของบรรณาธิการ

ครั้งที่ 1 ตรวจเนื้อหาแต่ละบท
อ่านตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหากับวัตถุประสงค์ ความถูกต้องเนื้อหาตามหลักวิชาการ ตามหลักการใช้ภาษาไทย การเรียบเรียงประโยค ความเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อ และความเข้าใจของผู้อ่าน ครั้งที่ 1 ก่อนส่ง peer review และ ครั้งที่ 2 หลังจากผู้เขียนแก้ไขตามคำแนะนำผู้ทรงคุณวุฒิ

ครั้งที่ 2 ตรวจความเชื่อมโยงของแต่ละบท ให้เป็นหนึ่งเดียวกันทั้งเล่ม 
ตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหาในแต่ละบท ภายในตำราเล่มเดียวกัน ความซ้ำซ้อนของเนื้อหาในแต่ละบท คำที่มีความหมายเหมือนกัน ใช้คำเดียวกันหรือไม่ การเรียบเรียงหัวข้อ เค้าโครงเหมือนกันหรือไม่ ความสั้นยาวของเนื้อหาในแต่ละบท สมดุลกันหรือไม่

ครั้งที่ 3 ตรวจดูขนาดอักษร หัวข้อใหญ่ หัวข้อย่อย ย่อหน้า เว้นวรรค ตรวจสอบการตัดคำเมื่อขึ้นบรรทัดใหม่ หน้าใหม่

ครั้งที่ 4 ตรวจสอบภาษาอังกฤษ เมื่อใดควรขึ้นต้นอักษรตัวใหญ่ เมื่อใดควรขึ้นต้นอักษรตัวเล็ก ความถูกต้องของการใช้เครื่องหมายต่างๆในภาษาไทย และอังกฤษ

ครั้งที่ 5 ตรวจสอบคำสะกดผิดภาษาไทย

ครั้งที่ 6 ตรวจสอบคำสะกดผิด ภาษาอังกฤษ

การจัดทำดัชนี

  • มโนทัศน์เดียวกัน แต่แปลเป็นไทยไม่เหมือนกัน กำหนดการใช้คำหรือมโนทัศน์ ที่มีความหมายเดียวกัน แต่มีการใช้คำหรือมโนทัศน์ที่ต่างกันไป เช่น Empathy Nursing diagnosis ยารักษาอาการทางจิต ยาต้านเศร้า เป็นต้น
  • คำที่มักเขียนผิด กะทันหัน กาลเทศะ คลินิก ศีรษะ ทรมาน หมกมุ่น ลำไส้ ฤทธิ์ สถานี อุกฉกรรจ์ สมรรถภาพ ทฤษฎี ปรากฏ ปฏิบัติบุคลิกภาพ เพ่นพ่าน องคชาต ชะลอ สัญลักษณ์ เกม เกมส์ ยีน วีดิทัศน์ รีเฟล็กซ์ อิเล็กโทรไลท์ อินเทอร์เน็ต

การบริหารจัดการ: การนำเข้าโครงการตำราคณะฯ

โดยจัดทำโครงการตามแผนปฏิบัติการ คณะพยาบาลศาสตร์ ปีงบประมาณ 2556 รายการค่าใช้จ่าย ตำราการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ ประมาณการรายรับ-รายจ่ายในการจัดพิมพ์ตำรา ใบเสนอราคาจากโรงพิมพ์ 3 แห่ง ใบเสนอราคาการจัดทำ artwork 3 แห่ง ตำราต้นฉบับที่สมบูรณ์ (ปกนอก ปกใน คำนำ สารบัญ เนื้อหา และดัชนี)

บทเรียนจากการเป็นกองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการควรนัดประชุมทำงานเป็นระยะๆ ตลอดปี และนัดทำงานพร้อมๆ กัน 

ผู้เขียนที่ส่งงานล่าช้ากว่ากำหนดมาก เมื่อทวงถามและขยายเวลาแล้วก็ยังไม่ส่งงาน จะให้ทำอย่างไร

งานเขียนบางเรื่องแก้ไขแล้ว คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ควรทำอย่างไร กองบรรณาธิการที่ลาราชการไปต่างประเทศ หรือติดภารกิจอื่นๆสำคัญ จนไม่มีเวลาปฏิบัติหน้าที่ได้ ควรทำอย่างไร การเลือกผู้เขียน ควรเลือกอย่างไร ?

การเลือก peer review ควรเลือกอย่างไร? การเลือกคนทำ artwork และ โรงพิมพ์ควรเลือกอย่างไร ?

การนำความรู้ จากกิจกรรม KM ไปประยุกต์ใช้ 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้นำเทคนิคไปประยุกต์ใช้ในการเขียนบทความทางวิชาการ และเอกสารประกอบการสอนในวิชาที่ตนรับผิดชอบ เช่น อาจารย์กลิ่นชบา สุวรรณรงค์ ได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเขียนเอกสารประกอบการสอน และเขียนบทความวิชาการ ตีพิมพ์ ในวารสารพยาบาลศาสตร์ ปีที่ 32 ฉบับที่ 4 เป็นต้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อติรัตน์ วัฒนไพลิน
2. รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรรยา ธัญญาดี
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภา ยุทธไตร
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ้งนภา ผาณิตรัตน์
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ศิริลักษณ์ เวชการวิทยา
7. อาจารย์ ดร.ภาศิษฏา อ่อนดี
8. อาจารย์ ดร.วิมลนันท์ พุฒิวณิชพงศ์
9. อาจารย์ ดร.สุดารัตน์ เพียรชอบ
10. อาจารย์ ดร.อทิตยา พรชัยเกตุ  โอว ยอง
11. อาจารย์สาธกา พิมพ์รุณ
12. อาจารย์กลิ่นชบา สุวรรณรงค์
13. อาจารย์ฐินีรัตน์ ถาวร


กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ เรื่อง การจัดทำตำราการพยาบาลจิตเวชศาสตร์
วันที่ 22 ตุลาคม 2557 เวลา 12.00 – 13.00 น. ห้อง 711 อาคารพระศรีพัชรินทร์  คณะพยาบาลศาสตร์  
วิทยากร: รองศาสตราจารย์ ดร. อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์
ผู้ลิขิต: อาจารย์กลิ่นชบา สุวรรณรงค์


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1330824