อ.ดร.อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายในการเรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จากหลักสูตรกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2551 กล่าวคือ “การจัดการเรียนการสอนควรเน้นความสำคัญทั้งด้านความรู้ ความคิดความสามารถและคุณธรรม” และหลักการศึกษาระดับชาติได้มีแนวทางที่ชัดเจนที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนคิดได้ด้วยตนเอง

กระบวนการจัดการเรียนการสอนควรสอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียนและความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะกระบวนการคิด ฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็นทำเป็นและหล่อหลอมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ โดยสอดแทรกคุณธรมมจริยธรรมในการเรียนด้วย ครูจะมีบทบาทเพียงเป็นผู้สนับสนุน สอดคล้องกับแนวคิด Teach less Learn More (TLTM) หรือ “ครูสอนน้อยลง นักศึกษาเรียนรู้เองมากขึ้น” ซึ่งเป็นแนวคิดของประเทศสิงคโปร์ ที่เน้นการจัดการเรียนการสอนที่ดี ลดการจัดการศึกษาเชิงปริมาณ และเพิ่มการจัดการศึกษาเป็นเชิงคุณภาพ กล่าวคือ เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นของตนเอง ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการใช้แนวการสอนหรือวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จทางการเรียนรู้ ส่วนลดการจัดการศึกษาเชิงปริมาณ คือ ลดบทบาทของครูจากผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้นำ กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ การลดการเรียนรู้โดยการท่องจำ การสอบ และการหาคำตอบจากการแทนค่าหรืออ่านเอกสารที่ครูแจกให้

บทบาทของผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนแบบ TLTM 

ผู้สอนต้องสอนน้อยลงคือ teach less แต่บทบาทที่เพิ่มขึ้น คือ ผู้สอนต้องมีการวางแผนและออกแบบกิจกรรม เตรียมสื่อและแหล่งเรียนรู้ มักมีคำถามว่าจะสอนอย่างไรจึงจะกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนต้องสอนให้ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์และแนวคิดที่สำคัญมากกว่าการท่องจำได้ สอนให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมและเชื่อมโยงเนื้อหามากกว่าที่จะสอนเนื้อหาแยกเป็นส่วนๆ หรือแยกเป็นเรื่องๆ กระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นคุณค่า มีทัศนคติที่ดี และนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงมากกว่าที่จนำความรู้ไปใช้ในการสอบเท่านั้น เน้นให้ผู้เรียนกระตือรือร้นมากกว่าท่องจำ ส่งเสริมให้มีวิจารณญาณโดยใช้คำถามกระตุ้นมากกว่าให้ปฏิบัติตามคำสั่งหรือทำตามแบบฝึกหัดและท่องจำ ที่สำคัญคือการสร้างบรรยากาศและจัดสถานที่ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และควรใช้การประเมินผลที่หลากหลาย และประเมินตามสภาพจริงในการวิเคราะห์คุณภาพและพัฒนาการของผู้เรียนมากกว่าการประเมินจากการสอบเท่านั้น

จากข้อมูลดังกล่าว คณาจารย์ในภาคฯมีความคิดเห็นว่าสิ่งที่ปรับเป็นอันดับแรกคือ การปรับทัศนคติของอาจารย์ซึ่งกังวลว่านักศึกษาจะได้เนื้อหาไม่ครบ จึงสอนแบบบรรยายเนื้อหาครั้งละ  2 -3 ชั่วโมง ซึ่งในความเป็นจริงนักศึกษาอาจรับข้อมูลได้ไม่หมดตามที่อาจารย์คาดหวัง  โดยสรุป การจัดรูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ของภาควิชาฯ มี ดังนี้

  1. การสอนในชั้นเรียน : ลดการสอนแบบบรรยาย  ให้ปรับเป็นการสอนแบบ Concept ใช้หลัก adult learning , student center, role play, movie/VCD ฯลฯ เพิ่มกรณีศึกษาให้นักศึกษาร่วมกันค้นคว้า จัดกลุ่มให้ฝึกคิดวิเคราะห์ กระตุ้นให้ตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองแล้วนำเสนอ ทั้งนี้จะเริ่มทำ 1/3 ของหัวข้อทั้งหมดในวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่นซึ่งมีประมาณ 13 หัวข้อ  โดยจะเริ่มปรับใช้ในเทอมต้น ปีการศึกษา 2557  นอกจากนี้ จะปรับให้สอดคล้องกับการศึกษาวิจัยของ ผศ.สมหญิง ที่จะทำศึกษาวิจัยเรื่องการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  4 หัวข้อได้แก่ การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีความผิดปกติระบบหัวใจจและหลอดเลือด  ระบบประสาท การพยาบาลทารกแรกเกิด การพยาบาลด้านจิตสังคม และการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด 
  2. การสอนบนคลินิค : นอกจากการเรียนการสอนข้างเตียง วิเคราะห์ปัยหาจากสถานการณ์จริงแล้วเน้นให้ทำ case conference โดยนำกรณีศึกษาจากผู้ป่วยที่นักศึกษารับผิดชอบโดยอาจ ไม่จำเป็นต้องให้นักศึกษาในกลุ่มทำทุกคน แต่เน้นการแสดงความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมในการ conference  ไม่ควรทำ content conference แต่ให้นศ.ค้นคว้าเนื้อหาเพิ่มเติม  ใช้หลักการทำ small group discussion มากกว่าให้นักศึกษาค้นงานแล้วมาอ่านให้เพื่อนฟัง  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การบูรณาการความรู้เพื่อการนำไปใช้อย่างเหมาะสมต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในการประเมินผลการเรียนทฤษฎียังคงเป็นการสอบซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อไป

PDF Download


ผู้นำกิจกรรม: ผศ.ดร.สมหญิง โควศวนนท์ และ อ.ดร.อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์

ผู้ถอดบทเรียน: อ.ดร.อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์

รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม  18 คน

1  อาจารย์ กาญจนา   ครองธรรมชาติ
2  อาจารย์จินตนา แสงงาม
3  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฉันทิกา จันทร์เปีย
4  อาจารย์ชญาภา ชัยสุวรรณ
5  รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนี ประสบกิตติคุณ
6  อาจารย์ เบญจมาศ         โอฬารรัตน์มณี
7  อาจารย์ ดร.พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม
8  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ยุวดี         พงษ์สาระนันทกุล
9  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์
10 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีรยา      จึงสมเจตไพศาล
11 รองศาสตราจารย์ วิไล เลิศธรรมเทวี
12 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมพร     สุนทราภา
13 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมหญิง โควศวนนท์
14 อาจารย์ สุดารัตน์                สุวรรณเทวะคุปต์
15 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมสิริ รุ่งอมรรัตน์
16 รองศาสตราจารย์ อรุณรัศมี   บุนนาค
17 อาจารย์ ดร.อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์
18 อาจารย์สาธิมา สงทิพย์

 


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Login Form

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1322582