ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทวัน สุวรรณรูป ได้ดำเนินการให้มีการเสวนาในประเด็น Project based learning ในช่วงแรกได้เชิญให้ อาจารย์ ดร. สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร นำเสนอแนวคิดความรู้เรื่อง Project based learning โดยเกริ่นนำถึงแนวคิด ลักษณะ รูปแบบการเรียนรู้ และรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Project based learning โดยอาจารย์ ดร. สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร อธิบายว่าการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ รูปแบบของการเรียนรู้นี้พัฒนาองค์ความรู้และทักษะผ่านโครงงานซึ่งจะกระตุ้นความอยากรู้ของผู้เรียนและเกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และใช้คำถามสำคัญเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการของการเรียนรู้

ซึ่งการเรียนรู้แบบ Project based learning ประกอบด้วย ๘ องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ ๑) Significant Content ๒) 21st century Skills ๓) In- Depth Inquiry ๔) Driving Question ๕) Need to Know ๖) Voice & Choice ๗) Revision & Reflection และ ๘) Public Audience และชี้ประเด็นความแตกต่างระหว่าง Project กับ Project based learning ดังนี้ การทำ Project ครูมีส่วนร่วมน้อย การทำงานของครูเริ่มขึ้นหลังจากการทำโครงการสิ้นสุดลง ผู้เรียนขาดโอกาสเลือกหัวข้อที่ตนเองสนใจในการทำโครงการ และโครงการที่ทำส่วนมากจะคล้ายคลึงกัน และคล้ายคลึงกับปีก่อนๆ จากนั้นนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Project based learning ประโยชน์ ปัญหาและอุปสรรค ถอดบทเรียนจากการเรียนการสอน ในรายวิชา พยคร ๒๘o ปฏิบัติการพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพรวมถึงแนวทางการพัฒนาต่อยอดไปสู่รายวิชาอื่นๆ ก่อนจบการนำเสนอ อาจารย์ ดร. สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า “ความรู้ในโลกนี้มีมากมายคุณครูสอนเท่าไรก็สอนไม่หมด แต่ถ้าคนเป็นครูสอนให้นักเรียนรู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ไปตลอดก็จะทำให้นักเรียนมีความรู้ได้มากเท่าที่เขาต้องการรู้” จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมเรียนรู้แลกเปลี่ยนในประเด็น การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลบุคคลในครอบครัวและชุมชน (พยคร ๓๘๔) เป็น Project based learning หรือไม่

ผู้เข้าร่วมเรียนรู้เสนอข้อคิดเห็น และมีข้อสรุป ดังนี้

  1. การจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลบุคคลในครอบครัวและชุมชน (พยคร ๓๘๔) มีรูปแบบการเรียนการสอนใกล้เคียงกับ Project based learning เพราะมีแนวทางเข้าได้กับองค์ประกอบของ Project based learning ตามที่อาจารย์ ดร. สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร ได้นำเสนอมา
  2. ส่วนของการสะท้อนคิด (Refection) ผู้เข้าร่วมเรียนรู้เสนอว่าควรจะมีแนวคำถามสะท้อนคิดในแนวทางเดียวกันเพื่อให้อาจารย์ที่สอนแต่ละกลุ่มมีการสะท้อนคิดที่ใกล้เคียงกัน
  3. การเรียนการสอนแบบ Project based learning สามารถนำไปพัฒนาได้ในรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค (พยคร ๒๑๒)

ช่วงบ่ายเวลา ๑๓.๓o-๑๕.oo น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทวัน สุวรรณรูป ได้ดำเนินการให้มีการเสวนาในช่วงบ่ายโดยเรียนเชิญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วาสนา จิติมา นำเสนอแนวคิดความรู้และการจัดการเรียนการสอนเรื่อง Team based learning ในรายวิชามารดาทารก ๒ ซึ่งเป็นวิชาทฤษฎี ๔๕ ชั่วโมง ใช้รูปแบบการสอนแบบ Team based learning ในหัวข้อสูติศาสตร์หัตถการ จำนวน ๑๑ ชั่วโมง ได้เกริ่นถึงการนำแนวคิด Team based learning มาใช้ เนื่องจาก ๑) ใช้ครูสอนน้อย ๒) เป็นการเรียนแบบ Active learning ๓) นักศึกษาเรียนเป็นทีมใช้กลุ่มเป็นตัวช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ มีอาจารย์ทำหน้าที่เป็น Expert Contents การสอนแบบ Team based learning มีข้อดีคือ ใช้สอนแทนการบรรยาย กระตุ้นให้นักศึกษามีการเตรียมตัวก่อนเข้าเรียน ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในห้องเรียน และ Active ในการเรียน รวมทั้งส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การเตรียมกระบวนการเรียนแบบ Team Based Learning อาจารย์ต้องกำหนดหัวข้อและ Scope เนื้อหาที่ชัดเจน รวมถึงการเตรียมนักศึกษาให้เข้าใจรูปแบบการเรียนแบบ Team based learning เริ่มจากให้นักศึกษาทำแบบทดสอบรายบุคคล Individual Readiness Assurance Test (iRAT) เมื่อนักศึกษาทำ iRAT เสร็จแล้วให้เข้ากลุ่ม โดยอาจารย์จะแจกข้อสอบชุดเดิม และให้นักศึกษาในกลุ่มช่วยกันหาคำตอบและตอบคำถามที่เป็นความคิดเห็นรวมของทีม เรียกว่า Group Readiness Assurance Test (gRAT) โดยที่นักศึกษาสามารถทราบคำตอบแบบทันที (Immediate Feedback Technique) เวลาที่ใช้ในการทำข้อสอบส่วนตัวจะน้อยกว่าการทำข้อสอบแบบกลุ่ม และในระหว่างที่ทำข้อสอบแบบกลุ่มอาจารย์ต้องบริหารจัดการให้ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วมซึ่งขึ้นกับเทคนิคของอาจารย์แต่ละท่าน ในช่วงสุดท้ายหลังจากได้ทำแบบฝึกหัดแบบกลุ่มแล้ว นักศึกษาจะได้ฝึกวิเคราะห์ทำโจทย์สถานการณ์เป็นกลุ่ม ลักษณะคำถามเป็นแบบ Application โดยให้นักศึกษาใช้ความรู้ หนังสือ จากการค้นหาจากระบบสารสนเทศ และจากการอภิปราย เพื่อตอบโจทย์ หลังจากนั้นให้กลุ่มอภิปรายคำตอบและเหตุผล โดยอาจารย์จะทำกระบวนการกลุ่มการอภิปรายร่วมกันในห้องเรียน จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสอบถามข้อสงสัย โดยผู้เข้าร่วมเรียนรู้สอบถามเกี่ยวกับเรื่องการได้รับความรู้ที่เท่ากันของนักศึกษาในการเรียนแบบ Team based learning ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ วาสนา จิติมา ชี้แจงว่า การจัดการเรียนแบบ Team based learning เป็นการเน้นกระบวนการเรียนแบบกลุ่มมากกว่าการเน้นที่ผลลัพธ์

ก่อนจบการเรียนรู้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทวัน สุวรรณรูป ได้ให้ข้อเสนอแนะว่าหัวหน้าวิชาฯ แต่ละท่านควรนำความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ ไปพิจารณาปรับการเรียนการสอนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะธิดา นาคะเกษียณ เสนอว่าควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง Community based learning ซึ่งเป็นหัวข้อที่น่าสนใจ และเป็นหัวข้อที่อาจารย์ได้เรียนรู้มา จึงมอบหมายให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะธิดา นาคะเกษียณ เป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง Community based learning ซึ่งวัน เวลา สถานที่จัด จะแจ้งให้อาจารย์ทราบต่อไป

PDF Download


 

ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงใจ รัตนธัญญา
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทวัน สุวรรณรูป 
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กีรดา ไกรนุวัตร 
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทิยาวัฒายุ
  5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะธิดา นาคะเกษียณ
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพา จิ๋วพัฒนกุล
  7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นงนุช เพ็ชรร่วง
  8. อาจารย์ ดร.สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร 
  9. อาจารย์ เพ็ญจันทร์สิทธิปรีชาชาญ
  10. ผู้ช่วยอาจารย์สุรัสวดี ไวว่อง

ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ้งนภา ผาณิตรัตน์

 


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Show Case Best Practice 2564

Show Case Best Practice 2565

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1322534