• MUQF2023-Slide1.PNG
  • MUQF2023-Slide2.PNG
  • MUQF2023-Slide3.PNG

คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ ร่วมกับ งานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย และงานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง คณะพยาบาลศาสตร์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง "เทคนิคการสืบค้นข้อมูลเพื่อการวิจัย" ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องการสืบค้นข้อมูลเพื่อการวิจัยให้กับบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ

คณะพยาบาลศาสตร์ เมื่อวันพุธที่ 12 มิถุนายน 2556 ณ ห้อง 601 ชั้น 6 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเชิญนางสาวสุรางค์ ศิโรโรตม์สกุล หัวหน้างานห้องสมุดนางสาวยุพิน ยังสวัสดิ์ บรรณารักษ์ และนางสาวนิภาพร เดชะ นักเอกสารสนเทศ ประจำห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาเป็นวิทยากรและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการใช้เทคนิคการสืบค้นข้อมูลเพื่อการวิจัย สรุปประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

นางสาวสุรางค์ ศิโรโรตม์สกุล หัวหน้างานห้องสมุด ได้บรรยายเกี่ยวกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ ได้แก่ การสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ ควรคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ดังนี้

  1. ควรกำหนดขอบเขตของเรื่องที่ต้องการค้นข้อมูลให้ชัดเจน โดยวิเคราะห์คำค้นจากซื่อเรื่องงานวิจัย
  2. กำหนดคำค้น ควรใช้คำค้นที่สั้น และกระชับ เช่น ตัวอย่างชื่อเรื่องงานวิจัย "ความพึงพอใจของผู้รับบริการในการให้บริการห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์" คำที่ใช้ค้น ได้แก่ ความพึงพอใจ, ผู้ใช้บริการห้องสมุด, บริการห้องสมุด
  3. นำคำค้นทั้งหมดจากข้อ B. ไปค้นข้อมูลในฐานข้อมูลต่างๆ ได้แก่ ฐานข้อมูลค้นสิ่งพิมพ์ห้องสมุด (ค้นตำรา ดรรชนีวารสาร วิจัย วิทยานิพนธ์) ฐานข้อมูลThaiLIS (ค้น full text ของวิทยานิพนธ์ภาษาไทย) ฐานข้อมูลดรรชนีวารสาร ฐานข้อมูล Academic Search Complete หรือ ฐานข้อมูล http://www.doaj.org/ (ค้น full text บทความ และงานวิจัยของต่างประเทศ)
  4. แปล keyword ภาษาไทย เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจใช้เครื่องมือช่วยแปล อาทิเช่น http://www.google.co.th/ และ Lexitron: http://www.thaitux.info/dict
  5. ใช้เครื่องหมายต่างๆ ประกอบการค้นข้อมูลภาษาอังกฤษ เช่น เครื่องหมาย * เพื่อละ หรือTruncate คำที่ไม่แน่ใจว่าลงท้ายว่าอะไร เช่น child* สามารถค้นข้อมูลได้ทั้ง children หรือ childhood
  6. ใช้เครื่องหมายคำพูด " " เมื่อค้นกลุ่มคำหรือวลี เช่น "การบริหารงานบุคคล" เพื่อค้นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลไม่ใช่เรื่อง การบริหาร อย่างเดียว
  7. การใช้คำเชื่อม เพื่อสร้างเงื่อนไขในการสืบค้น เช่น AND/และ ต้องพบทุกคำ เช่น ความพึงพอใจและห้องสมุด, OR/หรือ พบอย่างน้อยหนึ่งคำ เช่น สตรีหรือผู้หญิง, NOT/ไม่ ไม่ต้องการให้พบ เช่น Elderly not children
  8. คัดเลือกและบันทึกผลการสืบค้นข้อมูล เพื่อใช้พิมพ์บรรณานุกรมท้ายเล่มแบบ APA

หลังจากนั้น นางสาวสุรางค์ ศิโรโรตม์สกุล หัวหน้างานห้องสมุด ได้สาธิตวิธีการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลแหล่งต่างๆ ซึ่งสามารถเข้าถึงผ่านทางเว็บไซต์ http://www.lib.ns.mahidol.ac.th/, การสืบค้นจากฐานข้อมูล Directory of Open Access Journals (DOAJ) ซึ่งสามารถเข้าถึงผ่านทางเว็บไซต์ http://www.doaj.org/ เพื่อค้นหางานวิจัยภาษาอังกฤษทุกสาขาวิชาและนางสาวยุพิน ยังสวัสดิ์ บรรณารักษ์ห้องสมุด ได้สาธิตวิธีการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล E-Theses จากหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, การสืบค้นข้อมูลจากโครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย ซึ่งพัฒนาโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษา, การสืบค้นข้อมูลบทความวารสารภาษาไทยจากดรรชนีวารสาร จากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งมีขั้นตอนและรายละเอียดตามที่ปรากฏอยู่ในคู่มือการสืบค้นข้อมูล

นอกจากนี้ นางสาวสุรางค์ ศิโรโรตม์สกุล ยังได้แนะนำวิธีการสืบค้นฐานข้อมูลห้องสมุดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดล โดยผู้ใช้จะต้องเข้ามาที่เว็บไซต์ http://ejournal.mahidol.ac.th/ และทำ login ด้วย account ของมหาวิทยาลัยมหิดลก่อน จึงจะสามารถเข้ามาค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล e-journals, e-books, e-databases ได้ ซึ่งผู้สนใจสามารถศึกษาคู่มือวิธีการใช้งานได้ที่ http://www.myinternet.mahidol/software/pdf/other/ejournal.pdf และในการนำข้อมูลที่สืบค้นได้มาใช้ในการอ้างอิงนั้น ผู้ใช้จะต้องเขียนรายการอ้างอิงทางบรรณานุกรมให้ถูกต้อง โดยส่วนใหญ่นิยมใช้การเขียนรายการอ้างอิงแบบ APA ซึ่งมีรายละเอียดตามที่ปรากฏอยู่ในคู่มือการสืบค้นข้อมูล

ในช่วงท้ายกิจกรรม ทีมวิทยากรจากห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ และนางสาวศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร หัวหน้างานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย ได้ร่วมกันให้คำแนะนำพร้อมทั้งตอบข้อสงสัยและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการฝึกปฏิบัติสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ข้อมูลผลงานวิจัยจากฐานขัอมูลต่างๆ กลับไปเป็นข้อมูลในการทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยของตนเองกันทุกท่าน

 

PDF Download


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Show Case Best Practice 2564

Show Case Best Practice 2565

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1322763