ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์ นำเสนอโครงร่างการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานโดยใช้ CIPPA Model ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” โดยบทบาทของอาจารย์เองฐานะเป็นหัวหน้าวิชา และมีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล สนใจที่จะนำแนวทางการสอน โดยใช้ CIPPA model มาเป็นส่วนหนึ่งในการสอนวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล

 

ให้กับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล ของนักศึกษา ประเมินความสามารถด้านการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย รวมทั้งประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้ CIPPA Model

ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกันในหลายๆประเด็นได้แก่

  • อาจารย์สนใจที่จะจัดการเรียนรู้ตามหลักของ CIPPA Model มุ่งหวังให้นักศึกษา สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้บน Word ได้
  • ในการประเมินผล อาจมีการประเมินได้จาก การสร้างใบงาน/ การจำลองสถานการณ์ เพื่อให้นศ. ตอบคำถามต่างๆ เพื่อดูความสามารถของนศ. ในการตอบคำถาม ซึ่งคำถามที่ดีต้องมีความยากง่ายเท่าๆกัน นอกจากนี้ ช่วงเวลาในการประเมินผลของ นศ.อาจทำได้ 2 ช่วงคือ 1 ) Formative 2 ) Summative
  • การคัดเลือกกลุ่มนศ. ที่เหมาะสมในการทำ CIPPA Model ที่ประชุมเห็นว่า มี 2 แนวทางที่น่าจะเป็นไปได้คือ 1) เลือกเก็บข้อมูลจาก นศ.ที่เรียนที่ LRC โดยใช้เป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง 2) อาจารย์ต้องเลือกกลุ่มที่ขึ้น Word ก่อน หรือเลือกกลุ่มที่เรียนที่ LRC ก่อน จากนั้นจึงค่อยกำหนดกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
  • ประเด็นการขอคำรับรองด้านจริยธรรม เป็นประเด็นหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง แม้จะมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ หรือเรียกได้ว่ามีความเสี่ยงระดับน้อยที่สุดก็ตาม ที่ประชุมเห็นว่าควรจะมีการขอคำรับรองจากคณะกรรมการฯ ของมหาวิทยาลัยก่อน พร้อมทั้งมีการขอคำยินยอมและมีการลงนามในใบยินยอมของ นศ. ด้วย เพื่อใช้เป็นส่วนสำคัญในการประกันคุณภาพด้านการวิจัยและได้รับการยอมรับในการตีพิมพ์ผลงานดังกล่าวด้วย และยังเป็นประโยชน์ในการนำผลงานดังกล่าวมาใช้ประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการด้วย
  • สำหรับ CIPP Model เป็นการประเมินโครงการ ซึ่งในการประชุมวันนี้ อาจารย์กรองได ได้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องมาให้ด้วย และศรีสุดา จะสำเนาให้กับสมาชิกที่เข้าประชุมในวันนี้ต่อไป ซึ่งอาจารย์นงลักษณ์สนใจนำไปใช้เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินโครงการตรวจสุขภาพสมาเณรวัดไผ่ดำ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประเมินโครงการต่างๆที่จัดโดยหน่วยบริการวิชาการได้อีกด้วย ซึ่งมีประเด็นที่ต้อง Review ผลงานวิจัยเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ ดังนี้ คือ โครงการใดๆ ที่จะประเมินด้วย CIPP Model ถ้าจะทำในลักษณะของโครงการวิจัย ผู้วิจัยต้องมีการวางแผนมาล่วงหน้าก่อนที่จะทำการประเมินโครงการนั้นหรือไม่?

สำหรับอาจารย์ ณัฐสุรางค์ อาจจะนำ CIPP Model ไปใช้ในการประเมินรายวิชาที่รับผิดชอบอยู่ได้ ทั้งนี้ ขอให้สืบค้นเอกสารเพื่อยืนยันในประเด็นนี้ด้วย

หัวข้อการประชุมในครั้งต่อไป อาจารย์หลายๆ ท่านสนใจเรื่องของแผนการสอน ขอให้ทุกท่านค้นคว้าเรื่องของแผนการสอนเพื่อมาพุดคุยกัน และหากท่านใดมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการจัดทำแผนการสอน ตัวอย่างแผนการสอน ก็ขอให้นำมาด้วย


เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 คณะทำงานพัฒนาระบบการจัดการความรู้ ได้จัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบซิปปา CIPPA ครั้งที่ 2 เวลา 12.00-14.30 น. ณ ห้อง 602

ผู้เข้าร่วมประชุม

ผศ.ดร.กรองได อุณหสูติ (ประธาน), ผศ.ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์, รศ.ดร.นงลักษณ์ จินตนาดิลก, อาทิตย์ตินันท์ อินทร์วรรณ, รุ่งนภา อัครกุลชาติ, อ.ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย, ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร (ผู้จดบันทึก)