• MUQF2023-Slide1.PNG
  • MUQF2023-Slide2.PNG
  • MUQF2023-Slide3.PNG

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์ นำเสนอโครงร่างการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานโดยใช้ CIPPA Model ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” โดยบทบาทของอาจารย์เองฐานะเป็นหัวหน้าวิชา และมีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนในวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล สนใจที่จะนำแนวทางการสอน โดยใช้ CIPPA model มาเป็นส่วนหนึ่งในการสอนวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล

 

ให้กับนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล ของนักศึกษา ประเมินความสามารถด้านการพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย รวมทั้งประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนโดยใช้ CIPPA Model

ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกันในหลายๆประเด็นได้แก่

  • อาจารย์สนใจที่จะจัดการเรียนรู้ตามหลักของ CIPPA Model มุ่งหวังให้นักศึกษา สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้บน Word ได้
  • ในการประเมินผล อาจมีการประเมินได้จาก การสร้างใบงาน/ การจำลองสถานการณ์ เพื่อให้นศ. ตอบคำถามต่างๆ เพื่อดูความสามารถของนศ. ในการตอบคำถาม ซึ่งคำถามที่ดีต้องมีความยากง่ายเท่าๆกัน นอกจากนี้ ช่วงเวลาในการประเมินผลของ นศ.อาจทำได้ 2 ช่วงคือ 1 ) Formative 2 ) Summative
  • การคัดเลือกกลุ่มนศ. ที่เหมาะสมในการทำ CIPPA Model ที่ประชุมเห็นว่า มี 2 แนวทางที่น่าจะเป็นไปได้คือ 1) เลือกเก็บข้อมูลจาก นศ.ที่เรียนที่ LRC โดยใช้เป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง 2) อาจารย์ต้องเลือกกลุ่มที่ขึ้น Word ก่อน หรือเลือกกลุ่มที่เรียนที่ LRC ก่อน จากนั้นจึงค่อยกำหนดกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
  • ประเด็นการขอคำรับรองด้านจริยธรรม เป็นประเด็นหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง แม้จะมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ หรือเรียกได้ว่ามีความเสี่ยงระดับน้อยที่สุดก็ตาม ที่ประชุมเห็นว่าควรจะมีการขอคำรับรองจากคณะกรรมการฯ ของมหาวิทยาลัยก่อน พร้อมทั้งมีการขอคำยินยอมและมีการลงนามในใบยินยอมของ นศ. ด้วย เพื่อใช้เป็นส่วนสำคัญในการประกันคุณภาพด้านการวิจัยและได้รับการยอมรับในการตีพิมพ์ผลงานดังกล่าวด้วย และยังเป็นประโยชน์ในการนำผลงานดังกล่าวมาใช้ประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการด้วย
  • สำหรับ CIPP Model เป็นการประเมินโครงการ ซึ่งในการประชุมวันนี้ อาจารย์กรองได ได้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องมาให้ด้วย และศรีสุดา จะสำเนาให้กับสมาชิกที่เข้าประชุมในวันนี้ต่อไป ซึ่งอาจารย์นงลักษณ์สนใจนำไปใช้เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินโครงการตรวจสุขภาพสมาเณรวัดไผ่ดำ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประเมินโครงการต่างๆที่จัดโดยหน่วยบริการวิชาการได้อีกด้วย ซึ่งมีประเด็นที่ต้อง Review ผลงานวิจัยเพิ่มเติมในประเด็นต่างๆ ดังนี้ คือ โครงการใดๆ ที่จะประเมินด้วย CIPP Model ถ้าจะทำในลักษณะของโครงการวิจัย ผู้วิจัยต้องมีการวางแผนมาล่วงหน้าก่อนที่จะทำการประเมินโครงการนั้นหรือไม่?

สำหรับอาจารย์ ณัฐสุรางค์ อาจจะนำ CIPP Model ไปใช้ในการประเมินรายวิชาที่รับผิดชอบอยู่ได้ ทั้งนี้ ขอให้สืบค้นเอกสารเพื่อยืนยันในประเด็นนี้ด้วย

หัวข้อการประชุมในครั้งต่อไป อาจารย์หลายๆ ท่านสนใจเรื่องของแผนการสอน ขอให้ทุกท่านค้นคว้าเรื่องของแผนการสอนเพื่อมาพุดคุยกัน และหากท่านใดมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการจัดทำแผนการสอน ตัวอย่างแผนการสอน ก็ขอให้นำมาด้วย


เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 คณะทำงานพัฒนาระบบการจัดการความรู้ ได้จัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบซิปปา CIPPA ครั้งที่ 2 เวลา 12.00-14.30 น. ณ ห้อง 602

ผู้เข้าร่วมประชุม

ผศ.ดร.กรองได อุณหสูติ (ประธาน), ผศ.ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์, รศ.ดร.นงลักษณ์ จินตนาดิลก, อาทิตย์ตินันท์ อินทร์วรรณ, รุ่งนภา อัครกุลชาติ, อ.ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย, ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร (ผู้จดบันทึก)


แบบประเมิน การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Show Case Best Practice 2564

Show Case Best Practice 2565

Contact Us

งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4
แขวงศาลายา เขตพุทธมณฑล
จังหวัดนครปฐม 73170
จันทร์-ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
เวลา 08.30-16.30 น.

Statistics

เนื้อหาที่เปิดอ่าน
1330804