คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ โดยภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “Essential skills for effective teaching”  ประกอบด้วย 3 ครั้ง โดยหัวข้อย่อย ครั้งที่ 1 เรื่อง “Teaching techniques” เมื่อวันพุธที่ 28 เมษายน 2564 เวลา 13.30-15.00 น. ผ่าน link: https://tinyurl.com/46yuyrmy โดยมีวิทยากร 4 คน ได้แก่ อาจารย์ ดร.ภัทรนุช วิทูรสกุล อาจารย์สาธิมา สุระธรรม อาจารย์ ดร.ชญาภา ชัยสุวรรณ และอาจารย์ลัดดาวัลย์ ทรัพย์เจริญมาก และมีคณาจารย์จาก 4 ภาควิชาฯ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 21 คน  

          สำหรับกิจกรรมในหัวข้อย่อยครั้งต่อไป คือ ครั้งที่ 2 เรื่อง “Active learning” เมื่อวันพุธที่ 23 มิถุนายน 2564 เวลา 13.30-15.00 น. และครั้งที่ 3 เรื่อง “Monitoring and evaluation” เมื่อวันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.00-14.00 น. 

          ในหัวข้อย่อย ครั้งที่ 1 เรื่อง “Teaching techniques” ประกอบด้วยหัวข้อ Basic concepts of clinical teaching, Giving feedback, Reflection, Clinical supervision, Questioning techniques, Teaching on the run, Reflection from this activity session โดย Basic concepts of clinical teaching จะเน้น OLE คือ Objective, Learning experience, Evaluation และใช้หลัก C-A-P ได้แก่ ความรู้ เจตคติ และทักษะ ในการฝึกทักษะของผู้เรียน พึงประกอบด้วย Close supervision, Refection, Giving feedback 

          หลักในการให้ข้อมูลย้อนกลับ (How to giving feedback) ประกอบด้วย

          1. สร้างบรรยากาศที่ดี ผ่อนคลาย 

          2. เริ่มให้ผู้เรียนประเมินตนเองก่อน คือการสะท้อนคิด (Reflection)

          3. ให้ positive feedback ก่อน

          4. ให้ negative feedback ที่จำเพาะ 

          5. การ feedback ให้ในปริมาณที่เหมาะสม และเลือกประเด็นที่สำคัญก่อน และต้องการการแก้ไขปรับปรุง 

          6. ให้คำแนะนำ และวางแผนในการทำงานหรือฝึกปฏิบัติครั้งต่อไป  

          ข้อชวนคิด สำหรับ Positive feedback เพื่อรักษาพฤติกรรมที่ดี ให้กล่าวชมเชย ทำทันที ในแบบส่วนตัว หรือต่อหน้าผู้อื่น ส่วน Negative feedback เพื่อแก้ไขปรับปรุง ให้กล่าวถึงข้อเท็จจริง ให้คำแนะนำและการปรับปรุง ให้ทำทันเวลาและเร็ว แบบส่วนตัว ไม่ต่อหน้าผู้อื่น

          Reflection เป็นการให้โอกาสผู้เรียนได้สะท้อนคิดหรือการประเมินตนเอง มี 2 ระดับ ได้แก่ Descriptive reflection บอกสิ่งที่ได้เรียนรู้มา และ Practical reflection เชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้ เหมือนหรือต่างจากเดิม ตัวอย่างการสะท้อนคิด เช่นได้เรียนรู้อะไร ต่างจากเดิมหรือเคยปฏิบัติอย่างไร มีข้อดีอย่างไร มีข้อปรับปรุงอย่างไรบ้าง หรือถ้ามีโอกาสที่จะปฏิบัติอีกครั้งจะทำอย่างไร การสะท้อนคิดควรจะทำก่อนการให้ข้อมูลย้อนกลับที่สำคัญ/จำเป็นหรือเพิ่มเติม 

          Clinical supervision โดยมีวัตถุประสงค์ คือ Professional development และ Patient safety ในการเตรียมพร้อมนักศึกษาก่อนฝึกปฏิบัติหัตถการจริงกับผู้ป่วย เช่น การฝึกในสถานการณ์จำลอง (Simulation) และ Self supervision การศึกษาด้วยตนเอง แล้วฝึกซ้อมการทำหัตถการ อาจจะมีข้อจำกัด เรื่องไม่ทราบถึงข้อพึงระมัดระวัง หรือประเด็นสำคัญๆ หลักในการให้ Clinical supervision ได้แก่ Planning, Briefing, Practice, Debriefing โดยในการสอนหรือให้คำแนะนำนักศึกษาในการฝึกปฏิบัติ พึงตระหนักถึงเจตคติ (Attitude perception) แล้วให้ปฏิบัติ (Action) และตรวจสอบผลลัพธ์ (Results) แล้วควรทำ Debriefing สอบถามรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับความคิด/การเรียนรู้ และกระบวนการในการดูแลผู้ป่วย ให้นักศึกษาสะท้อนคิด สำหรับการปรับปรุงในการดูแลครั้งต่อไป หรือวางแผนอย่างไรในรายที่มีประเด็นปัญหาที่ยากหรือซับซ้อนมากขึ้น

          Questioning techniques มีประโยชน์ คือ Think critically, Scaffold learning, Retain knowledge โดย The “Must” questioning ประกอบด้วย Critical thinking, Diagnostic reasoning skill, Decision making ในการสอน ควรสอบถามหรือตั้งคำถามนักศึกษา คือ ตั้งคำถาม (Questioning) มากกว่า การบอกข้อมูลหรือแนะนำเลย (Telling) โดยคำนึงถึง 3 ประเด็น ได้แก่ 

          1) Good atmosphere (suitable, respect, acknowledge, attend) 

          2) Good questions ให้แนะนำนักศึกษาก่อนสำหรับการสอบถามคำถามในห้องเรียน หรือเรียกชื่อนักศึกษาถาม โดยถามเพียง 1 คำถามในแต่ละครั้ง ที่ชัดเจนและจำเพาะเจาะจง และสอบถามคำถามที่สามารถตอบได้หลากหลาย หรือในเชิงกว้างหรือลึกมากขึ้น  และควรหลีกเลี่ยง คำถาม Yes-No เดา คำถามนำ หรือถามคำถามไปเรื่อยๆ ถามใช้คำถามลากไปเรื่อยๆ หรือมาก/นานเกินไป

          3) Good techniques (clarification, assumption, reasons, viewpoints, implications, about questions) เวลาถามคำถามนักศึกษา ควรให้เวลานักศึกษาคิดและตอบคำถาม ประมาณ 10 วินาที แต่ไม่ควรเกิน 30 วินาที เพราะนานเกินไป จะทำให้นักศึกษารู้สึกกดดัน หรือเกิดความเครียดได้ 

          Teaching on the run เป็นการสอนนักศึกษาพยาบาลข้างเตียง ในขณะเรียน หรือดูแลผู้ป่วย ซึ่งมีระยะเวลาจำกัด อยู่ในสถานการณ์ที่จำเพาะ เช่นข้างเตียง หน่วยผู้ป่วยนอก หรือทางเดิน และเป็นสถานการณ์ที่สามารถควบคุมได้น้อย ดังนั้น ควรจะเป็นการสอนแบบง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้เวลาสั้นๆ ในเวลา 1 นาที ควรเป็นการสอนเชิง Active มากกว่า Passive และการให้คำแนะนำ/เสนอแนะ (Supervision experience) โดยปรับเปลี่ยน รูปแบบการสอนแบบเดิม ซึ่งเน้น Case presentation และ Case summary มากกว่า Asking question, Patient assessment ไปเป็นรูปแบบการสอนแบบใหม่ ซึ่งเน้น Asking question, Patient assessment มากกว่า โดยเทคนิค ของ Teaching on the run ประกอบด้วย ถามหาความคิดเห็น (Make commitment) สอบถามถึงเหตุผล (Explore reasoning) เน้นจุดสำคัญ (Teach general rules) เสริมสิ่งที่ดี (Reinforce what was done) และชี้จุดพัฒนา (Correct mistakes) 

          สำหรับ Reflection from activity session เพื่อประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  คณาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากภาควิชาฯ ต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ว่า Teaching techniques ต่างๆ เช่น การตั้งคำถาม การป้อนข้อมูลกลับ การสะท้อนคิด เป็นต้น ก็ได้มีการใช้ อยู่เสมอๆ  แต่การมาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญมากขึ้น หลักการ กระบวนการ  และตัวอย่างกรณีศึกษา คำพูดหรือประโยคที่ควรใช้ รวมทั้งปัญหาที่มักพบบ่อย และแนวทางแก้ไข หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น ส่วน Teaching on the run ดูว่าจะเป็นสิ่งใหม่ แต่อาจจะมีการใช้บ้าง หรือไม่เต็มรูปแบบหรือไม่ครบขั้นตอน อาจารย์บางส่วนแจ้งว่าระยะเวลาในการเข้ากลุ่มย่อย ทำ Role play ภายใน 1 นาที ค่อนข้างยาก จึงทำได้ไม่ครบทุกขั้นตอน แต่ก็มีอาจารย์บางส่วนทำได้ดี ถูกต้องตามขั้นตอนและในเวลาที่กำหนด ถ้าได้ทำบ่อยๆ อาจจะทำให้การทำ Teaching on the run ดีขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการจัดการเรียนการสอนโดยเฉพาะภาคปฏิบัติได้  

การประเมินผล 

          ผลการประเมินจากคณาจารย์ 4 วิชาฯ จำนวน 7  คน พบว่า อยู่ในระดับเห็นด้วยมากถึงมากที่สุด ได้รับประโยชน์อย่างมากในการเข้ากิจกรรม สามารถนำไปเผยแพร่ และประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติได้ ทีมวิทยากร มีการเตรียมตัวมาอย่างดีเยี่ยม ให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะที่กระชับ ตรงประเด็น มีกิจกรรมกลุ่มย่อย ลักษณะของกิจกรรมเป็น Active learning ทำให้น่าสนใจ ติดตาม และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์เดิม ผนวกกับข้อมูลและความรู้ใหม่ที่ได้รับ ระหว่างคณาจารย์จากหลายภาควิชาฯ เช่นการตั้งคำถาม และระยะเวลาในการรอคำตอบจากนักศึกษาที่เหมาะสม เพื่อให้โอกาสนักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วม คณาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้ให้ข้อคิดเห็นและถามคำถามที่น่าสนใจ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สร้างสรรค์

ข้อเสนอแนะ 

          -ควรเพิ่มเวลาในการทำกิจกรรมกลุ่มย่อย เพราะช่วยทำให้เข้าใจได้มากขึ้น 

          -การบันทึก teaching techniques ในแบบฟอร์ม ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม 2 สัปดาห์ เนื่องจากช่วงระยะเวลาดังกล่าว ไม่มีการจัดการเรียนการสอนเช่นปกติ อาจตอบแบบบันทึกได้ไม่สมบูรณ์

          -อยากให้สรุปเนื้อหาสั้นๆเป็น One page infographic และ post ไว้ใน KM ของภาควิชาหรือคณะเพื่อเผยแพร่ต่อไป

          ประโยชน์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ในหัวข้อ “Essential skills for effective teaching”  ประกอบด้วย 3 ครั้ง โดยหัวข้อย่อย ครั้งที่ 1 เรื่อง “Teaching techniques” ด้านการดำเนินงานด้านการศึกษานั้น สามารถนำไปเผยแพร่ และประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติได้ การใช้เทคนิคในการเรียนการสอน เช่น การตั้งคำถาม และระยะเวลาในการรอคำตอบจากนักศึกษาที่เหมาะสม เพื่อให้โอกาสนักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วม มีการทำกิจกรรมกลุ่มย่อยเป็น Active learning ทำให้น่าสนใจ ติดตาม และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์เดิม ผนวกกับข้อมูลและความรู้ใหม่ที่ได้รับ ระหว่างคณาจารย์จากหลายภาควิชาฯ

รศ.ดร.วนิดา เสนะสุทธิพันธุ์ ผู้ลิขิต

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบ PDF