คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 21 กันยายน 2553 ให้ปรับระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา โดยยกเลิกการจำแนกตำแหน่งเป็นมาตรฐานกลาง 11 ระดับ เป็นการจำแนกตำแหน่งตามกลุ่มลักษณะงาน
ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับตำแหน่งของระบบการจำแนกตำแหน่งตามกลุ่มลักษณะงาน
ประเภท |
สายงาน |
ชื่อตำแหน่งในสางาน |
ระดับ |
1 .ตำแหน่งวิชาการ |
สอนและวิจัย |
- ศาสตราจารย์ - รองศาสตราจารย์ - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ - อาจารย์ |
- - - - |
2 .ตำแหน่งประเภทบริหาร มี 2 ระดับ 1) ผู้อำนวยการ-สำนักงานอธิการบดี 2) ผู้อำนวยการกอง |
ผู้บริหาร |
- ผู้บริหาร |
ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี-ผู้อำนวยการกอง
|
3. ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ/ เชี่ยวชาญเฉพาะ มี 5 ระดับ 1) เชี่ยวชาญพิเศษ 2) เชี่ยวชาญ 3) ชำนาญการพิเศษ 4) ชำนาญการ 5) ปฏิบัติการ โดยแต่ละตำแหน่ง ก.พ.อ.ได้กำหนดระดับตำแหน่งไว้ตามที่ปรากฎในคอลัมภ์ของระดับ
|
ประเภทวิชาชีพเฉพาะ มี 18 สายงาน
|
-นักวิชาการคอมพิวเตอร์ - นักกายภาพบำบัด - ทันตแพทย์ - พยาบาล - แพทย์ - สัตวแพทย์ - นักเทคนิคการแพทย์ - เภสัชกร - นักรังสีการแพทย์ - นักกิจกรรมบำบัด - นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย - วิศวกรเครื่องกล - วิศวกรไฟฟ้า - วิศวกรโยธา - วิศวกรโลหการ - วิศวกรการเกษตร - วิศวกรเคมี - สถาปนิก |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ
|
ประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ มี 33 สายงาน
|
- นักวิชาการเวชสถิติ |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
|
-นักวิเคราะนโยบายและแผน |
เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ |
||
- นิติกร |
เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ |
||
- บุคลากร |
เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ |
||
-เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป |
เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ |
||
- นักวิชาการพัสดุ |
เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ |
||
- นักวิชาการสถิติ |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
- นักวิเทศสัมพันธ์ |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
- ที่ปรึกษา |
เชี่ยวชาญพิเศษ |
||
-นักวิชาการเงินและบัญชี |
เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ |
||
- นักตรวจสอบภายใน |
เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ |
||
-นักวิชาการโสตทัศนศึกษา |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
- นักประชาสัมพันธ์ |
เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ |
||
- นักวิชาการเกษตร |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
- นักวิชาการสัตวบาล |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
- นักวิชาการประมง |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
- นักวิทยาศาสตร์ |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
- นักวิชาการโภชนาการ |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
- นักจิตวิทยา |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
-นักวิชาการอาชีวบำบัด |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
- นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
- นักสุขศึกษา |
เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ |
||
- วิศวกร |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
- นักวิชาการช่างศิลป์ |
เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ |
||
- นักวิชาการช่างทันตกรรม |
ชำนาญการพิเศษ – ปฏิบัติการ |
||
- นักวิชาการศึกษา |
เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ |
||
- บรรณารักษ์ |
เชี่ยวชาญพิเศษ – ปฏิบัติการ |
||
- นักแนะแนวการศึกษาและอาชีพ |
เชี่ยวชาญ- ปฏิบัติการ |
||
- นักวิจัย |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
- เจ้าหน้าที่วิจัย |
ชำนาญการ – ปฏิบัติการ |
||
- นักเอกสารสนเทศ |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
- นักสังคมสงเคราะห์ |
เชี่ยวชาญพิเศษ- ปฏิบัติการ |
||
- ครู |
ปฏิบัติการ |
||
4. ตำแหน่งประเภททั่วไป มี 3 ระดับ 1) ชำนาญงานพิเศษ 2) ชำนาญงาน 3) ปฏิบัติงาน |
มี 29 สายงาน |
- ผู้ปฏิบัติงานบริหาร |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
-เจ้าหน้าที่บริหารงานธุรการ |
ชำนาญงาน |
||
-เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี |
ชำนาญงานพิเศษ- ชำนาญงาน |
||
-เจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุ |
ชำนาญงานพิเศษ- ชำนาญงาน |
||
-ผู้ปฏิบัติงานโสตทัศนศึกษา |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
-ผู้ปฏิบัติงานการเกษตร |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- ผู้ปฏิบัติงานสัตวบาล |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- ผู้ปฏิบัติงานประมง |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
-ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์ |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
-ผู้ปฏิบัติงานอาชีวบำบัด |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
-ผู้ปฏิบัติงานทันตกรรม |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
-ผู้ปฏิบัติงานเภสัชกรรม |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- ผู้ปฏิบัติงานพยาบาล |
ชำนาญงาน- ปฏิบัติงาน |
||
-ผู้ปฏิบัติงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
-ผู้ปฏิบัติงานโภชนาการ |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
-ผู้ปฏิบัติงานรังสีเทคนิค |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- ช่างเครื่องคอมพิวเตอร์ |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- ช่างภาพ |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- ช่างพิมพ์ |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- ช่างศิลป์ |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- ช่างเขียนแบบ |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- ช่างเครื่องยนต์ |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- ช่างไฟฟ้า |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- ช่างอิเล็กทรอนิกส์ |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- ช่างเทคนิค |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- ช่างกายอุปกรณ์ |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- ช่างทันตกรรม |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
||
- เจ้าหน้าที่บริหารงานอาคารสถานที่ |
ชำนาญงานพิเศษ- ชำนาญงาน |
||
- ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด |
ชำนาญงานพิเศษ- ปฏิบัติงาน |
หลักเกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเข้าสู่ บัญชีเงินเดือนท้ายกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบัน อุดมศึกษา พ.ศ. 2553 ดังนี้
1. หลักการ
1.1 หลักไม่กระทบสิทธิและประโยชน์ ให้ข้าราชการยังคงได้รับสิทธิและประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่ได้รับอยู่เดิม
1.2 กระทบต่อภาระงบประมาณเท่าที่จำเป็น
2. เกณฑ์และวิธีการปรับเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
2.1 ให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนตามบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำ ขั้นสูงท้ายกฎ ก.พ.อ.ฯ
2.2 กรณี ที่ข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนในอัตราที่สูงกว่าขั้นสูงตามประเภทตำแหน่ง สายงาน และระดับที่กำหนดไว้ในกฎ ก.พ.อ. ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนในอัตราที่ได้รับอยู่เดิมจนกว่าจะมีการเปลี่ยน ประเภทตำแหน่ง สายงานหรือระดับตำแหน่ง
2.3 กรณี ที่ข้าราชการผู้ใดที่ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด หลังจากวันที่ ก.พ.อ. กำหนดตำแหน่งข้าราชการเข้าสู่ระบบบริหารงานบุคคลใหม่โดยได้รับเงินเดือนยัง ไม่ถึงขั้นต่ำของแต่ละระดับตามบัญชีเงินเดือนท้ายกฎ ก.พ.อ. ให้ผู้นั้นได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวของแต่ละระดับตามบัญชี ดังกล่าว
กรณี ที่ข้าราชการผู้ใดที่ดำรงตำแหน่งประเภทใด สายงานใด ระดับใด ได้รับเงินเดือนยังไม่ถึงขั้นต่ำระดับตามบัญชีเงินเดือนท้าย กฎ ก.พ.อ. ให้ผู้นั้นได้รับการปรับเงินเดือนปีละครั้งจนได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของ แต่ละระดับของสายงานและประเภทตำแหน่งตามบัญชีดังกล่าว โดยให้เริ่มปรับครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม 2553 หลังจากเลื่อนเงินเดือนตามปกติและให้ปรับเงินเดือนครั้งถัดไปในแต่ละปีในวัน ที่ 1 ตุลาคม หลังจากเลื่อนเงินเดือนตามปกติ เท่ากับครึ่งหนึ่งของความต่างระหว่างอัตราเงินเดือนของผู้นั้นกับอัตราเงิน เดือนขั้นต่ำของระดับตำแหน่ง ทั้งนี้ การปรับแต่ละครั้งให้ปรับได้สูงสุดร้อยละ 10 ของเงินเดือน ที่ผู้นั้นได้รับอยู่ ณ วันนั้น ในกรณีที่การปรับเงินเดือนดังกล่าวทำให้อัตราหนึ่งอัตราใดมีเศษไม่ถึงสิบบาท ให้ปรับตัวเลขเงินเดือนของอัตราดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นเป็นสิบบาท และมิให้ถือว่าเป็นการปรับอัตราร้อยละที่แตกต่างกัน
สำหรับ ข้าราชการตามวรรคหนึ่ง แม้จะอยู่ในระหว่างช่วงเวลาที่ไม่สามารถเลื่อนขึ้นเงินเดือนหรือเลื่อนเงิน เดือน เช่น ลาประเภทต่างๆ สอบสวนวินัย ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา/ต้องหาว่ากระทำผิดอาญา พักราชการฯ ก็ให้ดำเนินการปรับเงินเดือนจนได้รับเงินเดือนถึงขั้นต่ำของแต่ละดับของสาย งานและประเภทตำแหน่งตามบัญชีดังกล่าว เช่นเดียวกัน
กรณี ข้าราชการผู้ใดได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในวันเดียวกันกับวันที่ได้รับ การปรับเงินเดือนเข้าสู่ขั้นต่ำ ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการผู้นั้นให้ดำรงตำแหน่งดัง กล่าวก่อนแล้วจึงจะให้มีการปรับเงินเดือนเข้าสู่ขั้นต่ำต่อไป
เงินเดือน
ตาม กฎ ก.พ.อ. ว่าด้วย การกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2554 ได้กำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงไว้ 4 บัญชี โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 เมษายน 2554 (ยกเลิกกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน พ.ศ. 2553 ตั้งแต่ 1 เมษายน 2554) ดังนี้
ก. ตำแหน่งวิชาการ
ตำแหน่ง |
อัตราเงินเดือน (บาท) |
หมายเหตุ |
|
ขั้นต่ำ |
ขั้นสูง |
||
อาจารย์ |
10,190 |
39,630 |
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ |
- |
54,090 |
|
รองศาสตราจารย์ |
- |
63,960 |
|
ศาสตราจารย์ |
- |
67,560 69,810* |
*ต้องผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ.กำหนด |
หมายเหตุ
1) อัตราเงินเดือนขั้นต่ำมีเฉพาะตำแหน่งอาจารย์
2) ตำแหน่ง ศาสตราจารย์ให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูงไม่เกิน 67,560 บาท เว้นแต่ผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนดให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 69,810 บาท
ข. ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
ตำแหน่ง |
อัตราเงินเดือน (บาท) |
หมายเหตุ |
||
ขั้นต่ำชั่วคราว |
ขั้นต่ำ |
ขั้นสูง |
||
ผู้อำนวยการกอง/เทียบเท่า |
19,860 |
26,660 |
54,090 |
|
ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี หรือผู้อำนวยการสำนักงานวิทยาเขต |
24,400 |
32,850 |
63,960 |
|
ค. ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือเชี่ยวชาญเฉพาะ
ตำแหน่ง |
อัตราเงินเดือน (บาท) |
หมายเหตุ |
||
ขั้นต่ำชั่วคราว |
ขั้นต่ำ |
ขั้นสูง |
||
ปฏิบัติการ |
- |
8,340 |
24,450 |
|
ชำนาญการ |
13,160 |
15,050 |
39,630 |
|
ชำนาญการพิเศษ |
19,860 |
22,140 |
53,080 |
|
เชี่ยวชาญ |
24,400 |
31,400 |
62,760 |
|
เชี่ยวชาญพิเศษ |
29,980 |
43,810 |
67,560 |
|
ง. ตำแหน่งประเภททั่วไป
ตำแหน่ง |
อัตราเงินเดือน (บาท) |
หมายเหตุ |
|
ขั้นต่ำ |
ขั้นสูง |
||
ปฏิบัติงาน |
4,870 |
19,100 |
|
ชำนาญงาน |
10,190 |
35,220 |
|
ชำนาญงานพิเศษ |
15,410 |
49,830 |
|
นอกเหนือจากนี้ ก.พ.อ.ได้กำหนดการได้รับเงินเดือน กรณีที่แตกต่างไปจากได้รับเงินเดือนข้างต้น ดังนี้
1. ตามกฎ ก.พ.อ. ข้อ 4 กำหนดให้ข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูงของตำแหน่งที่ได้รับ แต่งตั้งอยู่เดิม ให้ได้รับเงินเดือนตามหลัก เกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนดเป็นการเฉพาะราย เช่น
-รองศาสตราจารย์ 10 เดิม ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 64,340 บาท
-ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 9 เดิม ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 59,770 บาท
-อาจารย์ 9 เดิม ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 59,770 บาท
-อาจารย์ 8 เดิม ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 50,550 บาท
2. ตำแหน่งวิชาการที่มีโครงสร้างตำแหน่งต่างจากที่ ก.พ.อ.กำหนด ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราที่ ก.พ.อ.กำหนด
2.1 ผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ 3 เดิม
-ตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 9 ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 59,770 บาท
-ตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8 ให้ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 50,550 บาท
-ผู้ดำรงตำแหน่งครู รับเงินเดือน คศ.เดิม
-ผู้ดำรงตำแหน่งครู รับเงินเดือน คศ.4 เดิม ให้รับเงินเดือนไม่เกิน 59,770 บาท
-ผู้ดำรงตำแหน่งครู รับเงินเดือน คศ.3 เดิม ให้รับเงินเดือนไม่เกิน 50,550 บาท
3. กรณีอื่นใดที่ไม่อาจรับเงินเดือนตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นได้ให้เสนอ ก.พ.อ. พิจารณาเป็นกรณีๆไป
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในช่วงปรับเปลี่ยนระบบบริหารงานบุคคลตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 : เลื่อนเงินเดือน 1 ตุลาคม 2553
1. ใช้การประเมินผลการปฏิบัติราชการ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2553 – 30 กันยายน 2553
2. กำหนดการดำเนินการเพื่อการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน ดังนี้
2.1 กำหนดตารางการเลื่อนเงินเดือนชั่วคราวเพื่อใช้เลื่อนเงินเดือน 1 ตุลาคม 2553 โดยเงินเดือนฐาน หมายถึง อัตราเงินเดือนที่ข้าราชการได้รับอยู่ก่อน 1 ตุลาคม 2553 และเลื่อน 0.5 ขั้น, 1 ขั้น และ 1.5 ขั้น
กรณีข้าราชการผู้ใดได้รับเงินเดือนไม่ตรงกับเงินเดือนฐานให้ใช้เงินเดือนฐานใกล้เคียงที่ไม่ต่ำกว่าเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับเป็นเงินเดือนฐานที่ใช้ในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
กรณีข้าราชการได้เลื่อนเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนขั้นสูงสุดที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่ให้ได้รับเงินเดือนขั้นสูงสุดที่ตนดำรงตำแหน่งอยู่นั้น และได้รับส่วนต่างระหว่างจำนวนเงินสำหรับการเลื่อนเงินเดือนและเงินเดือนขั้นสูงสุดเป็นค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษของข้าราชการและลูกจ้างประจำผู้ได้รับเงินเดือน/ค่าจ้างถึงขั้นสูงของอันดับหรือตำแหน่ง พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2.2 ข้าราชการที่ได้รับเงินเดือนสูงกว่าเงินเดือนขั้นสูงของประเภทตำแหน่งสายงานและระดับตามที่ ก.พ.อ. กำหนด ให้ได้รับการเลื่อนเงินเดือนเป็นการเฉพาะรายด้วย
3. การเลื่อนเงินเดือนครึ่งปีหลัง : 1 ตุลาคม 2553
3.1 ให้เลื่อนได้ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 6 ของเงินเดือนข้าราชการ ณ 1 กันยายน 2553 โดยนำวงเงินที่ได้ใช้เลื่อนเงินเดือนไปแล้วเมื่อ 1 เมษายน 2553 มาหักออกก่อน
3.2 จำนวนข้าราชการที่ได้รับการเลื่อนเงินเดือน 2 ขั้น รวมทั้งปี ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของจำนวนข้าราชการ
เงินประจำตำแหน่ง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับเงินประจำตำแหน่ง
เพื่อเป็นแนวทางในการให้ข้าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามระบบใหม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายเดิม ก.พ.อ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับเงินประจำตำแหน่ง (ตามหนังสือที่ ศธ 0509(2)/ว 1435 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553) ดังนี้
ตำแหน่งและระดับตำแหน่งตาม พ.ร.บ. ก.พ.อ. 2547 |
ตำแหน่งและระดับตำแหน่งตาม พ.ร.บ. ก.พ.อ. (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 |
||
ตำแหน่ง |
อัตราเงินประจำ ตำแหน่ง (บาท/เดือน) |
ตำแหน่ง |
หมายเหตุ |
1. ประเภทวิชาการ - ศาสตราจารย์ ระดับ 11 |
15,600 |
1. ประเภทวิชาการ - ศาสตราจารย์ รับเงินเดือนขั้นสูง |
|
- ศาสตราจารย์ ระดับ 9-10 |
13,000 |
- ศาสตราจารย์ รับเงินเดือนไม่เกิน 64,340 บาท |
|
- รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 |
9,900 |
- รองศาสตราจารย์ (ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวของตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะฯ ระดับเชี่ยวชาญ) |
|
- รองศาสตราจารย์ ระดับ 7-8 |
5,600 |
- รองศาสตราจารย์ |
|
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 8 |
5,600 |
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวของตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะฯ ระดับชำนาญการพิเศษ) |
|
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ 6-7 |
3,500 |
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ |
|
2. ประเภทบริหาร - บ 9 |
10,000 |
2. ประเภทผู้บริหาร (บ.) - ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีหรือเทียบเท่า (ระดับ 9) - ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีหรือเทียบเท่า (ระดับ 8)* |
* ต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด |
- บ 8 |
5,600 |
- ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า (ระดับ 8) - ผู้อำนวยการกองหรือเทียบเท่า (ระดับ 7)* |
|
3. ประเภทวิชาชีพเฉพาะ (วช) ชำนาญการ (ช) หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ (ชช) - วช.10, ช.10 ชช.10 |
13,000 |
3. ประเภทวิชาชีพเฉพาะ/ เชี่ยวชาญเฉพาะ (วช. หรือ ชช.)
- ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับเชี่ยวชาญพิเศษ |
*ต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด
|
- วช.9, ช.9, ชช.9 |
9,900 |
- ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ หรือเชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับเชี่ยวชาญ |
|
- วช.8 |
5,600 |
- ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ ระดับชำนาญการพิเศษ (ระดับ 8) - ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ ระดับชำนาญการพิเศษ (ระดับ 7)* |
|
- วช.7 |
3,500 |
- ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ ระดับชำนาญการ (ระดับ 7) - ตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะระดับชำนาญการ (ระดับ 6)* |
1. กรณีข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งวิชาการ ซึ่งมีอัตราเงินประจำตำแหน่ง 2 อัตรา
1.1 กรณี ผศ. ที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 3,500 บาท ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 5,600 บาท เมื่อได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวของตำแหน่งประเภทวิชาชีพ เฉพาะ/เชี่ยวชาญเฉพาะ ระดับชำนาญการพิเศษ (ซึ่งปัจจุบันคือ 18,910 บาท)
1.2 กรณี รศ. ที่ไดรับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 5,600 บาท ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 9,900 บาท เมื่อได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำชั่วคราวของตำแหน่งประเภทวิชาชีพ เฉพาะ/เชี่ยวชาญเฉพาะระดับเชี่ยวชาญ (ซึ่งปัจจุบันคือ 23,230 บาท)
2. กรณีข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งอื่นๆ ซึ่งมีเงื่อนไขการรับเงินประจำตำแหน่ง
2.1 กรณีตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ
2.1.1 ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะระดับชำนาญการซึ่ง ดำรงตำแหน่งระดับ 6 และยังไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งอยู่เดิม การได้รับเงินประจำตำแหน่งอัตรา 3,500 บาท จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1) ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการ/เทียบเท่ามาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี และ
2) ผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด
2.1.2 ผู้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาชีพเฉพาะ ระดับชำนาญการพิเศษ ซึ่ง ดำรงตำแหน่งระดับ 7 และได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 3,500 บาท อยู่เดิม การได้รับเงินประจำตำแหน่ง 5,600 บาท จะต้องดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษ/เทียบเท่าไม่น้อยกว่า 1 ปี
2.2 กรณีตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
2.2.1 ผู้ ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ระดับผู้อำนวยการกอง/เทียบเท่าซึ่ง ดำรงตำแหน่งระดับ 7 และยังไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งอยู่เดิม การจะได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 5,600 บาท จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1) ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกอง ซึ่งกำหนดเป็นระดับ 7-8 เดิม/เทียบเท่ามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
2) ดำรง ตำแหน่งเทียบเท่า ผอ.กอง ในหน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองซึ่งกำหนดเป็นระดับ 7-8 เดิม มาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด
2.2.2 ผู้ ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารระดับ ผอ.สำนักงานอธิการบดี/เทียบเท่าซึ่งดำรงตำแหน่งระดับ 8 และได้รับเงินประจำตำแหน่งอยู่เดิมในอัตรา 5,600 บาท ให้ได้รับเงินประจำตำแหน่งตามที่ได้รับอยู่เดิมโดยถือว่าเป็นตำแหน่งที่มี ฐานะเทียบเท่ากองและการจะได้รับเงินประจำตำแหน่งในอัตรา 10,000 บาท จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1) ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี/เทียบเท่ามาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี และ
2) ผ่านการประเมินเข้าสู่ตำแหน่งตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ ก.พ.อ. กำหนด