คณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ ร่วมกับงานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนาและประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ AUN-QA ให้กับอาจารย์ทุกหลักสูตร ในวันพุธที่ 14 ธันวาคม 2559 เวลา 13.30 - 16.00 น. ณ ห้อง 1111 ชั้น 11 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย โดยมี รองศาสตราจารย์กันยา ออประเสริฐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย เป็นวิทยากร
ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย ผู้บริหาร คณะกรรมการตรวจประเมินฯ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ สาขาวิชาการพยาบาลผดุงครรภ์ สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช หลักสูตรนานาชาติ และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
กระบวนการเยี่ยมสำรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (AUN-QA)
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
- หลักสูตรจัดทำสรุปผลงานดำเนินงาน และระบุเอกสารที่เกี่ยวข้องตามเกณฑ์ AUN-QA จำนวน 11 ข้อ ตามแบบฟอร์มสรุปการดำเนินการและผลการประเมินของหลักสูตร (เอกสารหมายเลข 1) โดยพิจารณาการให้คะแนนตามตารางแสดงระดับการให้คะแนนประเมินตนเอง (7-point rating scale) (เอกสารหมายเลข 2)
- เตรียม มคอ.2 พร้อมเอกสาร/หลักฐานแนบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร (AUN-QA) ศึกษา ตรวจสอบ เอกสารประกอบการประเมิน
- ส่งสรุปการดำเนินการและผลการประเมินตนเอง (เอกสารหมายเลข 1) พร้อมเอกสาร/หลักฐานแนบที่เกี่ยวข้อง ยกเว้นหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตให้ส่งรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ให้งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง ตามวันและเวลาที่กำหนด (ล่วงหน้าก่อนการตรวจ 1 เดือน)
- เตรียมรับการตรวจเยี่ยม และเตรียมผู้เกี่ยวข้องที่จะให้สัมภาษณ์ในวันที่กำหนด (1 วัน) โดยกรรมการตรวจประเมินฯ และรับฟังผลการประเมินด้วยวาจาจากกรรมการตรวจประเมินฯ ในวันถัดไป (½ วันเช้า)
- ผู้รับผิดชอบหลักสูตร นำผลการประเมินไปพัฒนาและปรับปรุง ตามผลการประเมินและข้อเสนอแนะของกรรมการตรวจประเมินฯ ซึ่งจะส่งผลการประเมินให้หลักสูตรรับทราบภายใน 1 เดือนนับจากวันตรวจประเมิน
ผู้ประสานงาน (งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง)
- ส่งแบบฟอร์มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับหัวหน้าภาควิชา และประธานหลักสูตรแต่ละหลักสูตรดังนี้
- เอกสารหมายเลข 1 สรุปการดำเนินการและผลการประเมินตนเอง
- เอกสารหมายเลข 2 ตารางแสดงระดับการให้คะแนนประเมินตนเอง (7-point rating scale)
โดยหลักสูตรดำเนินการจัดทำตามเอกสารหมายเลข 1 ส่งให้กับงานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง ก่อนการตรวจประเมินฯ 1 เดือน
2. ติดตามสรุปการดำเนินการและผลการประเมินของหลักสูตร และเอกสารที่เกี่ยวข้อง (เอกสารหมายเลข 1) จากประธานหลักสูตรเพื่อส่งให้กับกรรมการตรวจประเมินฯ
3. รวบรวมผลการตรวจประเมินหลักสูตรจากกรรมการแต่ละท่าน จัดประชุม Consensus ให้กับกรรมการตรวจประเมินฯ แต่ละหลักสูตร และจัดทำกำหนดการตรวจประเมินฯ
4. ส่งกำหนดการตรวจเยี่ยม และขอเอกสารเพิ่มเติมไปยังหลักสูตร (ในกรณีที่กรรมการตรวจประเมินฯ ขอเพิ่มเติม พร้อมแจ้งชื่อกรรมการตรวจประเมินฯ)
5. ประสานงานการตรวจเยี่ยมฯ ระหว่างหลักสูตร และกรรมการตรวจประเมินฯ ในวันตรวจเยี่ยมฯ
6. จัดประชุมเพื่อสรุปผลการตรวจประเมินฯ ทุกหลักสูตรหลังการตรวจเยี่ยมฯ
7. ส่ง Final Assessment Report ให้กับหลักสูตร
8. นำ Final Assessment Report ของแต่ละหลักสูตรเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ก่อนส่งผลการประเมินให้กับมหาวิทยาลัย
การดำเนินการในวันตรวจเยี่ยมฯ
- คณะกรรมการตรวจประเมินฯ จำนวน 2 ท่าน เข้าเยี่ยมสำรวจ ตามวัน และเวลาที่กำหนด โดยจะมีการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.1 สัมภาษณ์ประธาน เลขาหลักสูตร และกรรมการบริหารหลักสูตร
1.2 สัมภาษณ์อาจารย์ที่สอนในหลักสูตร จำนวน 2 คน
1.3 สัมภาษณ์บุคลากรสายสนับสนุน ได้แก่ งานการบริการศึกษา งานเทคโนโลยีสารสนเทศ งานห้องสมุด งานพัฒนานักศึกษา งานส่งเสริมและพัฒนาวิจัย และงานบริการวิชาการ จำนวน 1 คน/กลุ่ม
1.4 สัมภาษณ์นักศึกษา
- ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 5 คน/ชั้นปี
- ระดับบัณฑิตศึกษา ชั้นปีที่ 1-2 จำนวน 3 คน/ชั้นปี
1.5 สัมภาษณ์ศิษย์เก่า (ถ้ามี) โดยจำแนกตามกลุ่มอายุดังนี้
- จบภายใน 5 ปี ระหว่าง 5-10 ปี มากกว่า 10 ปี จำนวนรวม 3 คน
1.6 สัมภาษณ์ผู้ใช้บัณฑิต (ถ้ามี) จำนวน 2 คน
สำหรับการสัมภาษณ์ตามข้อ 1.5 และ 1.6 ให้ใช้ข้อมูลเดิมที่มีอยู่เมื่อครั้งปรับปรุงหลักสูตร โดยให้ประธานหลักสูตรใช้สรุปผลการสัมภาษณ์ศิษย์เก่า และผู้ใช้บัณฑิต
2. คณะกรรมการฯ ประชุมสรุปผลการเยี่ยมสำรวจ และแจ้งผลการประเมินหลักสูตรด้วยวาจา ในวันรุ่งขึ้นของการเยี่ยมสำรวจ
3. คณะกรรมการฯ จัดส่ง Final Assessment Report ให้กับงานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง หลังการเยี่ยมสำรวจ 1 เดือน
4. งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยง จะจัดส่ง Final Assessment Report ให้กับหลักสูตรฯ
ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- วงรอบในการเขียนผลการดำเนินงานใช้วงรอบที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด
- Criteria 6-11 ที่ต้องมีการนำเสนอตารางที่ต้องใช้ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ให้ใช้ปีการศึกษาปัจจุบันย้อนลงไป 5 ปี เช่น ปีการศึกษา 2559 จะใช้ปีการศึกษา 2555 - 2559
- งานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยได้จัดทำ Research Profile ของอาจารย์ทุกคนอยู่ใน Website ของงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย ซึ่งสามารถเข้าไปสืบค้นข้อมูลงานวิจัย และเชื่อมโยงไปยังข้อมูล abstract และ Full text ได้
- สามารถแสดงข้อมูลเปรียบเทียบว่า ELO หรือ PLO ที่เสนอใน มคอ.2 ของเดิมปี 2555 และของใหม่ในหลักสูตรปรับปรุงใหม่ 2559 มีความสอดคล้องกันอย่างไร
- PLO ของหลักสูตรในเรื่องของ Knowledge Skill, Soft Skill และ Generic Skill มีรูปแบบไม่มีตายตัวขึ้นอยู่กับหลักสูตรจะนำเสนอ PLO ของแต่ละหลักสูตรครอบคลุมทั้ง Soft Skill และ Generic Skill อะไรบ้าง
- งานพัฒนาคุณภาพและบริหารความเสี่ยงจะส่งเล่มคู่มือ GUIDE TO AUN-QA ASSESSMENT AT PROGRAMME LEVEL ให้กับประธานหลักสูตรและส่ง File คู่มือ ให้กับ กรรมการหลักสูตรทุกคน และจะทำกรอบในแต่ละเกณฑ์ว่ามีเกณฑ์ใดที่สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เช่น Criteria ที่ 7, 9 ซึ่งจะประสานกับหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตเพื่อส่งข้อมูลให้กับหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตทุกหลักสูตร