ภาควิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชศาสตร์ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การสอนภาคปฏิบัติ ในวันที่ 27 เมษายน 2559 โดย อ. ดร. อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยบุคคลที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ (Manipulation behavior) และผศ. ดร. อติรัตน์ วัฒนไพลิน เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยบุคคลที่มีพฤติกรรมแยกตัวทางสังคม (Withdrawal behavior)
เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยบุคคลที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ (Manipulation behavior)
|
หลักการการดูแล (ตามทฤษฎี) |
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง |
1 |
ความหมายของพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ พฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ หมายถึง พฤติกรรมที่ทำให้ตนได้มาซึ่งสิ่งที่ปรารถนาด้วยวิธีการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโน้มน้าวชักจูง หลอกลวง หรือบังคับ โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึก ความสนใจ หรือความต้องการของบุคคลที่ถูกกระทำ |
- |
2 |
พฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการมักพบในผู้ป่วยประเภทใด 1. บุคคลที่มีบุคลิกภาพผิดปกติ แบบ - Borderline personality disorder - Antisocial personality disorder - Histrionic personality disorder - Narcissistic personality disorder 2. บุคคลที่มีความผิดปกตทางจิตเวช เช่น - Substance abuse - Schizophrenia - Bipolar disorders manic episode
|
-
|
3 |
รูปแบบการแสดงออกของพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ 1. การทำร้ายตนเอง (self harm) เพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น ให้ตนได้รับการตอบสนองความต้องการ โดยใช้การทำร้ายตนเองเพื่อให้บุคคลอื่นกระทำในสิ่งที่ตนเรียกร้องหรือต้องการให้ อย่างไรก็ตามแรงจูงใจในการทำร้ายตนเองนั้นมีหลายปัจจัย เช่น รู้สึกเศร้าและทุกข์ใจมาก หรือเพื่อต้องการบรรเทาความรู้สึกกดดันจากความรู้สึกแปลกแยก ผู้ดูแลต้องระวังการตัดสินผู้ป่วยว่า ผู้ป่วยทำร้ายตนเองเพื่อเรียกร้องความสนใจเท่านั้น และไม่ให้ความสนใจดูแลผู้ป่วย เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายกับผู้ป่วยได้ 2. การทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้มาในสิ่งทีต้องการ (pervasive) ด้วยวิธีการต่างๆไม่ว่าจะถูกต้องหรือไม่ มีแรงจูงใจและแรงผลักดันในการกระทำอย่างมาก อาจมีการวางแผนอย่างตั้งใจถึงขั้นการทำร้ายบุคคลอื่นให้ได้รับบาดเจ็บได้ โดยไม่คำนึงถึงบุคคลที่ถูกกระทำว่าจะเป็นอย่างไร ไม่เคารพในสิทธิ์ของเขา และกระทำโดยที่ตนไม่รู้สึกผิด |
การแสดงออกของพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ พฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการสามารถพบได้ทั้งในบุคคลทั่วไป และในผู้ป่วยจิตเวช อย่างไรก็ตามเราจะสามารถจำแนกได้อย่างไรว่าพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการที่บุคคลแสดงออกนั้นเป็นปัญหาหรือไม่? พฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการที่เป็นปัญหานั้น จะมีการแสดงทางอารมณ์และพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ไม่สามารถหยุดพฤติกรรมเองได้ง่าย และเมื่อเจ้ากี้เจ้าการกับบุคคลอื่นไม่สำเร็จจะตอบโต้โดยการแสดงออกที่รุนแรง สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ การประเมินถึงพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการที่บุคคลแสดงออกนั้นเป็นปัญหาพฤติกรรมหรือไม่ และเกิดจากสาเหตุใด เช่น หากผู้ป่วยได้รับยาแล้วอาการเจ้ากี้เจ้าการลดลง แสดงว่าพฤติกรรมนั้นคือมาจากโรค แต่บางกรณี ได้รับยาแล้วพฤติกรรมไม่ได้เปลี่ยนแปลง แสดงว่าพฤติกรรมนี้มาจากพื้นอารมณ์หรือพื้นพฤติกรรมของผู้ป่วยมากกว่า ดังนั้น เราควรประเมินให้ชัดเจนก่อนว่าพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการของผู้ป่วยนั้นเกิดจากสาเหตุใด
|
4 |
แรงจูงใจในการแสดงออกถึงพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ 1. เพื่อให้ได้รับการยอมรับ นับถือจากบุคคลอื่น (Manipulation as acquiring status and respect) 2. เพื่อแสดงออกถึงการไม่ยอมรับ ต่อต้าน และไม่เป็นมิตร (Manipulation as resistance and rebellion) 3. เพื่อเรียกร้องให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการผ่านสื่อหรือผู้มีอำนาจภายนอก (Manipulation as campaigning) |
- |
5 |
การจัดการและการพยาบาลบุคคลที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ 1. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยให้เกิดความไว้วางใจ 2. ประเมินอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของผู้ป่วย - อารมณ์ มีอารมณ์หงุดหงิด โกรธ ผิดหวัง หรือ เสียหน้า มีการควบคุมอารมณ์ได้หรือไม่ มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็วหรือไม่ - ความคิด มีความคิดต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร มีความคิดหมกมุ่นหรือวกวนอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือไม่ มีความคิดทำร้ายตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ - พฤติกรรม : มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ขาดการยับยั้ง ชอบทำลายข้าวของ มีการพูดแบบสุภาพแต่ไม่ทำตามที่พูด หรือพูดเสียงดัง ด่าทอหรือไม่ 3. ประเมินสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ว่ามีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นเป็นอย่างไร 4. ค้นหาและวิเคราะห์สาเหตุ หรือแรงจูงใจที่ทำให้แสดงพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ 5. วางแผนให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับสาเหตุหรือแรงจูงใจ 6. ให้การพยาบาลตามแผนที่วางไว้ 7. ประเมินผลการพยาบาล |
การจัดการและการพยาบาลบุคคลที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ 1. ผู้ป่วยมีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการขณะที่กำลังจัดผู้ป่วยเข้ากลุ่มกิจกรรม โดยเข้ามาจัดการเรียกเพื่อนผู้ป่วยด้วยกันเข้ากลุ่มในลักษณะเจ้ากี้เจ้าการ การจัดการ: กล่าวขอบคุณผู้ป่วยที่ช่วยเรียกผู้ป่วยเข้ากลุ่ม แล้วให้เพิกเฉยต่อพฤติกรรมนั้นเสีย พร้อมทั้งเชิญให้ผู้ป่วยเข้าไปนั่งรอในกลุ่มเหมือนกับผู้ป่วยอื่น และให้นักศึกษาทำหน้าที่เชิญผู้ป่วยเข้ากลุ่มแทน
2. ขณะทำกลุ่มกิจกรรม ผู้ป่วยมีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการโดย 1) บอกนักศึกษาว่าควรที่จะทำอย่างนั้นอย่างนี้ 2) ผูกขาดการแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม การจัดการ: 1) การแสดงออกให้ผู้ป่วยเห็นว่าพฤติกรรมนั้นไม่เหมาะสมโดยการมองหน้าผู้ป่วย หรือยับยั้งผู้ป่วยโดยการบอกกับผู้ป่วยว่าขอให้นักศึกษาพูดก่อน 2) หาจังหวะแทรกในระหว่างที่ผู้ป่วยพูด และบอกให้ผู้ป่วยเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยอื่นได้พูดบ้าง โดยอาจจะขอความคิดเห็นจากผู้ป่วยอื่นที่คาดว่าจะสามารถพูดแสดงความคิดเห็นได้ เพราะหากเรียกผู้ป่วยที่เงียบหรือไม่ค่อยพูดก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยกลับมาแสดงพฤติกรรมดังกล่าวอีก
|
|
หลักการพยาบาลบุคคลที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการ 1. ให้การยอมรับผู้ป่วย และตระหนักว่าพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกนั้นมีความหมายที่ผู้ป่วยใช้ในการสื่อสารถึงความคับข้องใจ ความทุกข์ใจ การไม่ได้รับความรัก การยอมรับ หรือเพื่อปกป้องตนเอง 2. ให้ความรัก ความเข้าใจ ความมั่นคง เชื่อถือและไว้ใจได้ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกเชื่อมั่นและไว้วางใจพยาบาล เนื่องจากผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการนั้นมักเติบโตมาด้วยการขาดความรัก ความมั่นคง เชื่อถือและไว้ใจได้ การแสดงออกของพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการก็มักมาจากความต้องการการยอมรับจากบุคคลอื่น 3. มีความอดทน มั่นคง สุขุม ต่อการแสดงพฤติกรรมของผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการตอบโต้ด้วยอารมณ์ คำพูด หรือพฤติกรรมที่รุนแรง เพราะนอกจากจะกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอารมณ์โกรธแล้ว ยังเป็นแรงเสริมให้ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมมากขึ้น 4. หลีกเลี่ยงการให้สิทธิพิเศษ การต่อรอง การโต้แย้ง และการวิพากษ์วิจารณ์ของผู้ป่วยต่อผู้อื่น 5. จัดให้ผู้ป่วยได้เข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และทำได้สำเร็จเพื่อเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และลดพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการลง 6. จัดให้ผู้ป่วยได้ช่วยทำกิจกรรมประจำวันของหอผู้ป่วยเพื่อเสริมสร้างความนับถือและภาคภูมิใจในตนเอง 7. ช่วยให้ผู้ป่วยได้ทำความเข้าใจพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการของตน และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกระทำ เพื่อให้เกิดการยอมรับ และปรับปรุงตนเอง 8. ฝึกทักษะการจัดการกับปัญหา และการควบคุมตนเองให้ผู้ป่วยได้ปฏิบัติตามกฎกติกา และการเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น และให้แรงเสริมทางบวก เช่น คำชมเชยเมื่อผู้ป่วยสามารถควบคุมพฤติกรรมของตน หรือมีทักษะการจัดการกับปัญหาได้อย่างเหมาะสม 9. อธิบายการจำกัดพฤติกรรม (limit setting) ให้ผู้ป่วยทราบตั้งแต่เริ่มแรก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม และไม่สามารถควบคุมได้ว่าผู้ป่วยอาจได้รับการพิจารณาให้ถูกจำกัดพฤติกรรม |
การยับยั้งพฤติกรรมผู้ป่วย โดยใช้เสียงดังจะไม่ได้ผล หากแต่ถ้าพยาบาลใช้วิธีการที่มั่นคง สุขุม ไม่แสดงการโต้ตอบรุนแรง หรือใช้ความนิ่ง จะทำให้สามารถหยุดพฤติกรรมเขาได้ดีกว่า บุคลากรทางการแพทย์ควรแสดงแบบอย่างที่ดีกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการแสดงพฤติกรรมที่เป็นการเจ้ากี้เจ้าการกับผู้ป่วย หรือการใช้พลังอำนาจที่มีการกว่าผู้ป่วย
|
ข้อเสนอแนะ
ในการสอนนักศึกษาให้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการจัดการกับพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการนั้น มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
- เตรียม นักศึกษาก่อนทำกิจกรรมกลุ่ม (Per-conference) กรณีที่พบว่าจะมีผู้ป่วยเจ้ากี้เจ้าการมาเข้ากลุ่มกิจกรรมด้วย ว่าลักษณะของผู้ป่วยเป็นอย่างไร และมีหลักการในการจัดการกับพฤติกรรมของผู้ป่วยนี้อย่างไร
- ให้นักศึกษาเข้ารับส่งเวร พร้อมทั้งส่งเวรให้กับเพื่อนที่ไม่ได้เข้ารับเวรด้วย เพื่อให้นักศึกษาทุกคนได้รู้จักผู้ป่วยแต่ละรายมากขึ้นและสามารถเตรียมรับมือกับผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการได้
เรื่องการพยาบาลผู้ป่วยบุคคลที่มีพฤติกรรมแยกตัวทางสังคม (Withdrawal behavior)
|
หลักการการดูแล (ตามทฤษฎี) |
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง |
1 |
ลักษณะผู้ป่วย ผู้ป่วยที่มีอาการแยกตัวทางสังคม จะมีลักษณะ หลีกหนีการมีปฏิสัมพันธ์และการร่วมกิจกรรมทางสังคมกับผู้อื่น แยกตัวไปอยู่ตามลำพัง ซึ่งสามารถเกิดได้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคจิตเภท และผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ซึ่งจะแสดงพฤติกรรม - นั่งแยกตัวอยู่ตามลำพัง - ไม่สื่อสาร - ไม่สบตากับผู้อื่น - ไม่สามารถทำหน้าที่ทางสังคม - หลีกเลี่ยง/ปฏิเสธการเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรม |
ลักษณะผู้ป่วยที่พบในหอผู้ป่วย 1. กำลังเข้ากลุ่ม ผู้ป่วยก็ลุกจากกลุ่มออกไปและมีพฤติกรรมพูดคนเดียว การจัดการ: ปล่อยคนไข้ไป แล้วรายงานพยาบาล ภายหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยาระยะหนึ่ง ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น 2. ผู้ป่วยบอกว่าอยู่บ้านไม่พูดกับใคร เพราะเขาหาว่าผมบ้า เนื่องจากการถูกตีตราจากคนรอบข้างทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแยกตัว 3. ผู้ป่วยซึมเศร้าไม่ยอมพูดด้วย ใช้เวลานานมาก 4. ผู้ป่วยไม่พูดเพราะมี hallucination สั่งว่าไม่ให้พูด การจัดการ: สร้างสัมพันธภาพสม่ำเสมอ เอาเข้ากลุ่ม แม้ไม่พูด ให้การยอมรับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ |
2 |
อาการแยกตัวทางสังคมพบได้ใน - ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการด้านบวก เช่น ความคิดหลงผิด หวาดระแวง ทำให้แยกตัวจากสังคม - เป็นองค์ประกอบของกลุ่มอาการด้านลบในผู้ป่วยจิตเภท - ผู้ป่วยที่มีการสื่อสารบกพร่องจากความคิดไม่ต่อเนื่อง - ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ที่มีอาการซึมเศร้า และการขาดแรงจูงใจในการร่วมกิจกรรมทางสังคม - ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง ที่การเจ็บป่วยทางจิตและการรับบริการทางสุขภาพจิตทำให้ผู้ป่วยได้รับการตีตราจากสังคม รู้สึกคุณค่าในตนเองลดลง - ผู้ป่วยที่ความไม่พึงพอใจต่อสัมพันธภาพทางสังคม หรือรู้สึกถูกคุกคามจากสถานการณ์ทางสังคม หรือ รับรู้สถานการณ์ทางสังคมว่าไม่สุขสบายและไม่ปลอดภัย - ผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลในระดับ panic - ผู้ป่วยที่ไม่ไว้วางใจผู้อื่น |
ให้หอผู้ป่วยจะพบผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมแยกตัวมากใน - ผู้ป่วยจิตเภทที่มีอาการหูแว่ว ได้ยินเสียงสั่งไม่ให้พูด - ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า |
3 |
พฤติกรรมการแยกตัวทางสังคม ส่งผลให้ผู้ป่วย - มีความบกพร่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน - ไม่มีโอกาสการเรียนรู้การปรับตัวด้านจิตใจและสังคมที่เหมาะสมจากบุคคลรอบข้าง - การทำหน้าที่ทางสังคมบกพร่อง |
|
4 |
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแยกตัวทางสังคม เป้าหมายการพยาบาล และ เกณฑ์การประเมินผล - มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับครอบครัว เพื่อ และเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น - มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างมีเป้าหมาย - ใช้ทักษะทางสังคมอย่างเหมาะสมในการมีสัมพันธภาพ - แสวงหาการสนับสนุนทางสังคมจากผู้อื่น - ผู้ป่วยเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดกับสมาชิก - ผู้ป่วยใช้เวลากับผู้ป่วยอื่นๆและเจ้าหน้าที่ในกลุ่มกิจกรรมบำบัด - มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับครอบครัว เพื่อ และเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น - มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างมีเป้าหมาย - ใช้ทักษะทางสังคมอย่างเหมาะสมในการมีสัมพันธภาพ แสวงหาการสนับสนุนทางสังคมจากผู้อื่น |
|
5 |
การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาลตามแผนที่ได้วางไว้ 1. ลดความคิดหลงผิดโดยการให้ยารักษาอาการทางจิตและจิตบำบัด และประเมินว่าผู้ป่วยได้รับยากรักษาอาการทางจิตในระดับที่เป็นการรักษา 2. จัดสิ่งแวดล้อมที่ลดสิ่งกระตุ้น เช่น เสียงดัง 3. สร้างสัมพันธภาพและมีปฏิสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่งกับผู้ป่วยโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยและไม่ถูกคุกคาม 4. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยด้วยท่าทีที่ยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข (unconditional positive regard) เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในถานะบุคคลและเกิดความไว้วางใจ 5. ซื่อสัตย์และรักษาสัญญาเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจในสัมพันธภาพ 6. อยู่กับผู้ป่วยเพื่อให้กำลังใจตลอดระยะเวลาการเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด ซึ่งการเข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกยากลำบากและหวาดกลัว เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกไว้วางใจและปลอดภัย 7. ระมัดระวังในการสัมผัสผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยมีความวิตกกังวลในระดับที่รุนแรงเพราะการสัมผัสอาจทำให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าเป็นการคุกคาม ช่วยให้ผู้ป่วยมีพื้นที่ส่วนตัว 8. ช่วยให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกเกี่ยวกับการตีตราตนเองที่เกิดขึ้นภายในของผู้ป่วยและความคิดหลงผิด 9. ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความจำกัดของตนเองในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น 10. ฝึกทักษะทางสังคมแก่ผู้ป่วย โดยการระบุทักษะที่ผู้ป่วยบกพร่องและต้องการพัฒนา และจัดลำดับความสำคัญของทักษะที่ต้องการพัฒนา และฝึกทักษะแก่ผู้ป่วย (แยกทักษะที่จำเป็นในการสร้างและดำรงสัมพันธภาพกับผู้อื่นเพื่อฝึกให้ผู้ป่วยมีความสามารถเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยใช้การแสดงบทบาทสมมุติ ตัวแบบทางสังคม การให้แรงเสริมทางบวก) 11. กระตุ้นให้ผู้ป่วยฝึกทักษะทางสังคมที่ได้เรียนรู้ ด้วยความอดทน และให้แรงเสริมแก่พฤติกรรมที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย 12. ชี้แจงกับผู้ป่วยเกี่ยวกับการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่พยาบาลคาดหวัง 13. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยสร้างสัมพันธภาพทางสังคมแบบหนึ่งต่อหนึ่งก่อน โดยการแนะนำตัวเองอย่างซื่อสัตย์ และคำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วยอื่น 14. จัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแก่ผู้ป่วย - จัดกิจกรรมง่ายๆให้ผู้ป่วยร่วมเพื่อเพิ่มความสนใจและลดความคิดหลงผิด และเพื่อให้ผู้ป่วยอยู่บนความเป็นจริงมากขึ้น - จัดกิจกรรมที่มีโครงสร้างตามลำดับความสามารถของผู้ป่วย - จัดกิจกรรมที่เน้นความสนใจและจุดแข็งของผู้ป่วย - จัดกิจกรรมแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เมื่อผู้ป่วยมีพัฒนาการให้ร่วมกิจกรรมง่ายๆกับสมาชิกหนึ่งถึงสองคนที่ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย เช่น เล่นไพ่ ปิงปอง ร้องเพลง 15. สังเกต และให้แรงเสริมทางบวกเมื่อผู้ป่วยเริ่มมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น |
การสร้างสัมพันธภาพเป็นเรื่องสำคัญในผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมแยกตัว การถามคำถามเชิงลึกจะไม่เหมาะสมหากสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยยังไม่ดีพอ ความสม่ำเสมอ ของพยาบาลเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยที่แยกตัว ซึ่งในระยะแรกของการสร้างสัมพันธภาพผู้ป่วยอาจพยาบาลหลีกเลี่ยงการสนทนากับพยาบาล ดังนั้นพยาบาลควรมีความอดทนและทักทายพูดคุยกับผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ จะส่งผลให้สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยดีขึ้น |
6 |
สรุปและประเมินผลการเรียนการสอน ผู้ป่วยที่มีอาการแยกตัวทางสังคม จะมีลักษณะ หลีกหนีการมีปฏิสัมพันธ์และการร่วมกิจกรรมทางสังคมกับผู้อื่น แยกตัวไปอยู่ตามลำพัง ซึ่งสามารถเกิดได้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคจิตเภท และผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง พฤติกรรมการแยกตัวทางสังคมทำให้ผู้ป่วย มีความบกพร่องในการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่มีโอกาสการเรียนรู้การปรับตัวด้านจิตใจและสังคมที่เหมาะสมจากบุคคลรอบข้าง และการทำหน้าที่ทางสังคมบกพร่อง การพยาบาล 1. การให้ยารักษาอาการทางจิตในระดับที่เป็นการรักษาและจิตบำบัด 2. จัดสิ่งแวดล้อมที่ลดสิ่งกระตุ้น เช่น เสียงดัง 3. สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดแบบหนึ่งต่อหนึ่งกับผู้ป่วยโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยและไม่ถูกคุกคาม 4. ฝึกทักษะทางสังคมแก่ผู้ป่วย โดยการระบุทักษะที่ผู้ป่วยบกพร่องและต้องการพัฒนา และจัดลำดับความสำคัญของทักษะที่ต้องการพัฒนา และฝึกทักษะแก่ จัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแก่ผู้ป่วย |
|
ข้อเสนอแนะ
ในการสอนนักศึกษาให้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการจัดการกับพฤติกรรมแยกตัวนั้น มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
- ครูต้องช่วยให้นักศึกษาแยกแยะได้ว่าพฤติกรรมของผู้ป่วยนั้นเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเจ็บป่วยหรือเป็นลักษณะนิสัยเดิมของผู้ป่วย เพราะนักศึกษาจะไม่สามารถแยกได้ว่าอาการของผู้ป่วยเกิดจากอะไร เราต้องช่วยให้ นักศึกษาสามารถแยกแยะหรือประเมินแยกกลุ่มได้ โดยมีข้อสังเกตว่าถ้าพฤติกรรมที่เป็นจากโรคเมื่อให้ยา อาการจะดีขึ้น ถ้าไม่ใช่จากโรค การให้การบำบัดทางจิตสังคมจะช่วยได้ดีกว่า
- ผู้ป่วยบางคนบอกว่าไม่อยากอยู่กับคนเยอะๆ เราต้องมาดูว่าเขาแยกตัวเพราะอะไร เพราะสภาพของวอร์ด ที่หนาแน่น อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแยกตัวก็ได้ ประเด็นตรงนี้ ครูต้องชี้ให้นักศึกษาเห็นด้วย
1212121