ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การสร้างงานวิจัยและพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของภาควิชาฯ ครั้งที่ 4/2555 เรื่อง การจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายในการสอนภาคทฤษฎี โดย อาจารย์กาญจนา ครองธรรมชาติ และอาจารย์เบ็ญจมาศ โอฬารรัตน์มณี วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม 2555 เวลา 8.00-9.00 น.ห้อง 1103/1-2
อาจารย์กาญจนาได้เล่าถึงการได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรศาสตร์และศิลป์เพื่อการสอนซึ่งได้อบรมทั้งทฤษฎีการเรียนการสอน และได้ฝึกปฏิบัติในห้องเรียน แต่เนื่องจากอาจารย์เรียนในรุ่นแรกซึ่งช่วงเวลาไม่ตรงกับการสอนนักศึกษาจริง จึงฝึกสอนในห้องเรียนกับผู้มาอบรมด้วยกันซึ่งในรุ่นแรกเป็นอาจารย์ 15 คน เป็นพยาบาลจากฝ่ายการพยาบาล 25 คน โดยขณะนั้นสิ่งที่เห็นว่าน่าสนใจคือ การดึงคลิปวิดีโอในเนื้อหาเรื่องต่าง ๆ มาประกอบการสอน นอกจากนี้ การที่อาจารย์ได้เข้าเป็นอาจารย์ร่วมสอนวิชาหนึ่งของมหาวิยาลัยมหิดลที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคนของทุกคณะต้องเรียน คือ วิชา มมศท 101 การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์ วิชานี้ ดึงอาจารย์ทุกคณะมาร่วมสอน
โดยมีคู่มือแผนการสอนแต่ละคาบร่วมกันเ มีการพัฒนาปรับปรุงแผนการสอนทุกปี นักศึกษาได้ concept ที่เหมือนกัน โดยในคาบแรกจะบอกกฏ กติกา การเรียนการสอน จุดประสงค์ของวิชา กฎระเบียบ การให้นักศึกษามีวินัย ในการเข้าเรียนตรงเวลา มีการ scan บัตรเข้า-ออก ส่วนความซื่อสัตย์ เมื่อสุ่มเรียกเพื่อนในกลุ่มออกมานำเสนอ ไม่ออกมาแทนเพื่อน หรือถ้าเพื่อนไม่ได้อยู่ในกลุ่มจะไม่ลงชื่อแทนเพื่อน นอกจากนี้ยังมีการใช้คลิปวิดีโอมาสอน ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และวิเคราะห์จากคลิปวิดีโอ โดยการทำ Bud group แล้วออกมานำเสนอ
ส่วนอาจารย์เบ็ญจมาศ ซึ่งได้รับการอบรมหลักสูตรศาสตร์และศิลป์เพื่อการสอนเช่นกัน ได้ใช้วิธีการสอนแบบบรรยายด้วย concept ร่วมกับการอภิปรายกลุ่ม มีการแจกเอกสารให้ไปอ่านล่วงหน้าก่อนเข้าชั้นเรียน ก่อนสอนมีการตรวจสอบความพร้อมของนักศึกษา เช่น ใครง่วงก็ให้ไปล้างหน้า แล้วเริ่มด้วยฉายสไลด์เด็กทั่วไปที่ป่วยเป็นมะเร็ง สอนโดยใช้ เนื้อหาของ concept 45 นาที แล้วแบ่งกลุ่มให้นักศึกษาได้อภิปรายกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มเนื้อหาแตกต่างกัน แล้วสุ่มให้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ใช้เวลา 15 นาที
นอกจากนี้ อาจารย์ทั้งสองทท่านยังเสนอแนะวิธีการสอนอีกหลายวิธี เช่น
วิธีการ quiz ท้ายชั่วโมง แล้วให้เป็นคะแนนช่วย
ลดเนื้อหา สอนให้นักศึกษาคิดมากขึ้นโดยการอภิปลายกลุ่ม แล้วอาจารย์สรุปประเด็นสำคัญท้ายชั่วโมง
สอนวิธีการหาข้อมูล วิธีการแก้ปัญหา ให้นักศึกษาเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ ซึ่ง content เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้
การวิจัยในชั้นเรียนก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะบอกได้ว่าการสอนวิธีไหนบ้างที่จะเหมาะสม และไม่เหมาะสมอย่างไร
แต่อย่างไรก็ตาม จุดมุ่งหมายไม่ได้อยู่ที่วิธีการสอน แต่อยู่ที่สอนอย่างไรให้เกิดการเรียนรู้ ทุกวิธีการสอน ต้องสอนให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ อาจสอนหลาย ๆ วิธีที่จะเหมาะสมและทำให้เกิดการเรียนรู้มากที่สุดและเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำอย่างไรให้วิธีที่หลากหลายนั้นเกิดความสมดุล เกิดความเหมาะสมในแต่ละเนื้อหา และขณะเดียวกันก็อย่าลืมว่าการเรียนรู้ของแต่ละคนไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นวิธีนี้อาจจะเหมาะกับคนนี้ อีกวิธีหนึ่งอาจเหมาะกับคนนั้น แต่ทำอย่างไรให้ทุกคนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้การเรียนรู้จะไม่เท่ากัน
อ.วรรณไพร แย้มมา
อ.ดร.อรุณรัตน์ ศรีจันทรนิตย์
ผู้ถอดบทเรียน