ภาควิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ “ประสบการณ์การเรียนรู้ในหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ให้ความรู้เบาหวาน(Certified Diabetes Educator) และการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน” เมื่อวันพุธที่ 22 เมษายน 2563 เวลา 13.00-13.30 น. ผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams โดยมี อาจารย์สาธิมา สุระธรรม เป็นวิทยากร
อาจารย์สาธิมา สุระธรรม วิทยากร ได้นำเข้าสู่กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยกล่าวถึงหลักสูตรหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ให้ความรู้เบาหวาน (Certified Diabetes Educator) มีระยะเวลา 1 ปี ที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จริง คือฝึกปฏิบัติเป็นผู้ให้ความรู้เรื่องเบาหวาน/ให้คำแนะนำ ไม่ใช่ผู้สอน (Heath educator) มุ่งหวังให้เป็น Coaching หรือ Diabetes Educator มากกว่า Patient Educator หรือ Heath Educator รับผู้เรียนจากสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์ เช่นแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ เภสัชกร หรือบุคลที่สนใจหรือเกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถฝึกปฏิบัติได้ แนะนำ/สื่อสารให้ผู้ป่วยเบาหวานเป็นรายบุคคล ให้มีทักษะในการจัดการตนเองได้ สามารถโน้มนาวผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ปฏิบัติดูแลตนเองให้ถูกต้อง และเหมาะสม กล่าวคือ การสื่อสารที่ดี คือ กุญแจ นำไปสู่การให้ความรู้ที่ดี โดยเนื้อหาประมาณ 2/3 ของหลักสูตรเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการปฏิบัติ
การเปรียบเทียบ Educator 3 กลุ่ม
• Heath educator (ผู้สอน)
• Patient educator (ผู้เรียน)
• Diabetes educator (เรื่องที่สอน)
คุณสมบัติของ “Diabetes Health Educator”
• ได้รับปริญญาในสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์ เช่นแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ เภสัชกร หรือ
บุคคลที่สนใจหรือเกี่ยวข้อง
• มีประสบการณ์ทางคลินิก/การปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ป่วยเบาหวาน/การดูแลผู้ป่วยเบาหวานอย่างน้อย 2 ปี
• ได้รับประกาศนียบัตร Certified Diabetes Educator (C.D.E)
• เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง และฝึกปฏิบัติเพื่อต่ออายุประกาศนียบัตร (มีบันทึกการทำงานที่ศูนย์เบาหวาน โรงพยาบาลศิริราช)
หลักสูตรระยะเวลา 1 ปี ดังนี้
ภาคการศึกษาที่ 1 (4 เดือน)
• เรียนทฤษฏี 6 modules (25%)
- Module 1: Advance knowledge in diabetes
- Module 2: Teaching and learning method for diabetes self-management/Psychosocial approach
- Module 3: Advance nutrition for diabetes self-management
- Module 4: Diabetes complication
- Module 5: Diabetes in special population and special situation>>>T1DM
- Module 6: Research methodology, alternative medicine and community awareness
• Workshop role-play (20%)
ภาคการศึกษาที่ 2 (7 เดือน)
• ฝึกปฏิบัติตามแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน (Diabetes Self Management Education: DSME) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 4 ราย ด้วยตนเองในหน่วยงานต้นสังกัด นำเสนอ อภิปรายผู้ป่วยรายกรณี และเขียนรายงาน (25%)
• นำเสนอนวัตกรรมหรือโครงการวิจัย (15%)
• สอบปากเปล่า (15%)
Teaching and learning method:
- Communication in education, medical counseling, FAIR principles, health literacy, MI,
mindfulness, เทคโนโลยีสื่อการสอน, ฯลฯ
-Stage of change: Change process
-Smart CDE
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ สรุปได้ ดังนี้
1. การเรียนรู้จากหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ให้ความรู้เบาหวาน
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน ในภาคทฤษฎี: ความรู้ เรียน 6 modules เนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย การทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับกลไกพยาธิสรีรภาพของเบาหวาน ชนิดที่ 1 บทบาทของแต่ละสหสาขาวิชาชีพที่เฉพาะเจาะจง รวมทั้ง Advanced nutrition รวมทั้งเบาหวาน ชนิดที่ 1 ในเด็ก
ภาคปฏิบัติ: เรียนรู้ผ่านกิจกรรม Workshop และ Role play ศึกษาดูงานในคลินิกที่เกี่ยวข้อง ศึกษาให้คำแนะนำ สำหรับผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 4 ราย นำเสนอ อภิปราย และเขียนรายงาน
วิธีการเรียนการสอน เป็น Active learning (การสอนบรรยาย มี Active video) Workshop, Role playการนำเสนอ การอภิปรายกลุ่ม และการฝึกปฏิบัติจริง
สื่อการสอน ประกอบด้วย Interactive tools เป็นสื่อให้ความรู้ และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ มีโจทย์ให้ผู้เรียน คือให้ปฏิบัติตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย (กรณีศึกษา) สื่อที่ใช้สอนมีความหลากหลาย เช่น Active video ภาพเคลื่อนไหว
การวัดประเมินผล มีความหลากหลาย เช่น สอบทฤษฎี (25%) workshop (20%) การให้ DSME 4 ราย รายงาน (25%) นวัตกรรม (15%) สอบปากเปล่า (15%)
2. แนวทางในการนำไปประยุกต์ในการสอนทฤษฎี/ปฏิบัติ/นวัตกรรม/การศึกษาวิจัย
คณาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผล รวมทั้งมีการอภิปราย
ซักถามได้ให้ข้อคิดเห็นว่ามีประโยชน์ และควรมีการจัดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประเด็นการนำความรู้เกี่ยวกับเบาหวานที่ได้รับจากหลักสูตรนี้ไปใช้/ประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอน เช่น มีวิธีการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย การพัฒนานวัตกรรมในการสอน สืบต่อจาก Interactive tools การเพิ่มพูนความรู้และความก้าวหน้าทางการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานในปัจจุบัน โดยการไปศึกษาดูงานที่ศูนย์ผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลศิริราช ตลอดจนการวัดผลที่หลากหลายวิธี ทำให้สามารถวัดผลได้ครอบคลุม และตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้วัดประเมินผลในวิชาทฤษฎีและปฏิบัติทั้งในหลักสูตรระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา รวมทั้งบ่มเพาะ ทำความเข้าใจประเด็นปัญหาต่าง ๆ ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้ป่วยเด็กเบาหวานและครอบครัวต่อไป
โดยสรุป คณาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ คาดว่า สามารถนำไปปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรต่าง ๆ ของภาควิชาฯ ที่หลากหลาย น่าสนใจ เชื่อมโยงให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จริง รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมทางการสอน และพัฒนางานวิจัยต่อไป